Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่  3.59  มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และเมื่อแยกพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ  มีผลการประเมินทั้ง 6 องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ  ผ่าน 

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานการบริหารจัดการบัณฑิตผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  2.81 ระดับคุณภาพปานกลาง

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการรับนักศึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  3.67 ระดับคุณภาพดี

 องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ หลักสูตร ฯ  ได้ดำเนินงานด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ด้านคุณภาพอาจารย์ และด้านผลที่เกิดกับอาจารย์  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 ระดับคุณภาพดี

 องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสาระของรายวิชาในหลักสูตร  ด้านการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอนด้านการประเมินผู้เรียนและด้านผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.00 ระดับคุณภาพดี

 องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตร ฯ  ได้ดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ   4.00 ระดับคุณภาพดี

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น)

3) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น กล้าคิด กล้าปฏิบัติอย่างมีเหตุผล และเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถ มีความรู้คู่คุณธรรม สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริม ศึกษา ค้นคว้า วิจัย  เพื่อสร้างองค์ความรู้คู่คุณธรรม นำพัฒนาสังคม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ มีการพัฒนาตนเอง สามารถประยุกต์หลักการและวิธีการทางรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น ตามแนวพระพุทธศาสนา

2. เพื่อให้บัณฑิตมีศักยภาพเป็นนักบริหารการปกครอง นักวิชาการ หรือนักวิจัย โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาสังคม

3. เพื่อให้บัณฑิตสามารถเผยแพร่หลักทางรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา ในด้านบริการวิชาการ หรือศิลปวัฒนธรรมไทยต่อสาธารณชน

1.4 รหัสหลักสูตร 25621861100093

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.75
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
5
1.67
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.81
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.03
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.51
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.59
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 2.00 3.21 2.81 ปานกลาง
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 4 3.51 - - 3.51 ดี
5 5 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.63 3.67 3.21 3.59 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดี ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

แนวทางเสริม

ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนให้มีความสอดคล้องกับสาขาวิชา 

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

แนวทางเสริม

หลักสูตรควรมีการจัดทำแผนการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผ่านการอนุมัติจากวิทยาเขตเพื่อส่งเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางเสริม

1.ควรมีการการจัดทำฐานข้อมูลนักศึกษา เป็นแฟ้มประวัติ เพื่อการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของนักศึกษาและสามารถนำไปใช้ในการทำงานหรือพัฒนาการทำงานให้มีความก้าวหน้า เพราะทักษะในศตวรรษที่ 21 มีทั้ง hard skill และ soft skill สามารถเสริมทักษะให้เหมาะสมจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนได้อย่างแท้จริง

2. การกิจกรรมเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาควรเป็นกิจกรรมที่ตรงสาขาวิชาการปกครองท้องถ่ินตามแนวพุทธศาสตร์โดยตรง เพื่อเสริมทักษะนักศึกษาก่อนเรียน

3. หลักสูตรจัดทำแผนอัตราคงอยู่ในกรณีสำหรับนักศึกษาที่ตกค้างแจ้งนักศึกษาให้ทราบถึงกระบวนการนักศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อรักษาสถานภาพนักศึกษา

4. ควรมีการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่มีการร้องเรียนจากนักศึกษา เพื่อนำมาเป็นแนวคำตอบไว้ในเว็บไซต์ สำหรับเป็นข้อมูลให้แก่นักศึกษารุ่นต่อ ๆ ไป

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางเสริม

1. หลักสูตรจะต้องมีการหารือและทบทวนกระบวนการในการจัดสรรหาอัตรากำลัง การพัฒนาอาจารย์ วิธีการจ้างอาจารย์ ต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อรักษาการคงอยู่ของหลักสูตร และความมั่งคงสำหรับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

2. ส่งเสริมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรขอตำแหน่งทางวิชาการ 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางเสริม

1. จัดทำคลิปสื่อการเรียนสอน เช่น วิธีเชิงสถิติ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เป็นสื่อการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษา

 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์นักศึกษาปัจจุบัน

  1. ท่านมาเรียนที่วิทยาเขตร้อยเอ็ด สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธ ได้เห็นสภาพแวดล้อม และหลักสูตร ท่านคิดว่ามีส่วนใด จะต้องปรับปรุงหรือแก้ไขจากที่สัมพัน เรื่องของอาจารย์ สิ่งอำนวนวยความสะดวก การจัดการเรียนการสอน หรือไม่ อย่างไร

ไม่มี

อาจารย์ดูแลอย่างดี สิ่งอำนวยความสะดวกดีทุกอย่าง สื่อสารเรียนการสอนเพียงพอ การสืบค้นข้อมูลหลากหลายช่องทาง

  1. บรรยายกาศการเรียนการสอน ระหว่างระดับปริญญาตรี และ ปริญญาโท แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

แตกต่าง

  1. ท่านคาดหวังอะไรกับหลักสูตร

สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถนำการบริหารจัดการการปกครองคณะสงฆ์ได้ดี 

  1. ท่านคิดว่าจะทำเรื่องอะไรในวิทยานิพนธ์

ทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง การปกครองคณะสงฆ์

  1. ทำไมมาสมัครเรียนที่นี้ ได้รับรู้ข่าวสารจากไหนบ้าง

เพื่อนแนะนำมา และชอบหลักสูตรนี้ ทาง facebook line และโปรเตอร์ แผ่นพับ ของวิทยาเขต

  1. ข้อมูลที่ได้รับมาจากแหล่งที่ได้รับมา ตรงกับความต้องการหรือไม่

 ตรงกับสาขาวิชาที่ตนเองสนใจ และสามารถไปบริหารคณะสงฆ์ในอนาคตได้

  สัมภาษณ์ผู้ปกครองผู้ใช้บัณฑิต

  1. บัณฑิตจากที่มาเรียนที่ มมร.วข.รอ. และสาขาวิชาเป็นอย่างไร

ทำงานดี

  1. ท่านมีข้อสังเกตุ และความโดดเด่นเรื่องอะไรบ้าง

รู้สึกพอใจเป็นอย่างมาก ท่านรับภาระในการกองงาน

  1. อยาจะฝากข้อเสนอแนะอะไร หลักสูตร หรือวิทยาเขต

ไม่มี ทุกอย่างดีหมด

กระบวนการจบสำหรับนักศึกษาแบบฟอร์มเยอะเกินไปในการยื่นขอจบสำหรับบัณฑิต และกระบวนการจบหลายขั้นตอน

  1. หลักสูตรสามารถเป็นการพัฒนาบุคลากรหน่วยงานของท่านได้มากน้อยอย่างไร มีอะไรที่ต้องเพิ่มเติมอะไรหรือไม่อย่างไร โครงสร้าง หลักสูตร

ทุกอย่างดี อยู่แล้ว ระบบสารสนเทศมีการพัฒนาขึ้น

  1. คาดหวังอะไรกับตัวบัณฑิต

คาดหวังจะมาช่วยคณะสงฆ์ เป็นบัณฑิตรุ่นใหม่

เพื่อนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำ และนำบริหารจัดการ

ได้นำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน

  1. ท่านคิดว่าจุดเด่นของสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธนี้คืออะไร

อาจารย์ทุกท่านได้ให้องค์ความรู้ หลายเรื่อง แล้วนำไปใช้ได้จริง ในการบริหารจัดการส่วนงาน    

 

ภาพถ่าย