Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

  จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในรอบปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมาการประเมินตนเอง คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.49 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
           มีผลการประเมินทั้ง องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
          องค์ประกอบที่ 
การกำกับมาตรฐาน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สกอ.) มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้ คือ ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน

          องค์ประกอบที่ บัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  2 นี้เท่ากับ   3.00   อยู่ในระดับคุณภาพ ปานกลาง

          องค์ประกอบที่ นักศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  3 นี้เท่ากับ  3.33   อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

          องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  4 นี้เท่ากับ   3.48   อยู่ในระดับคุณภาพ  ดี

          องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  5 นี้เท่ากับ  3.60 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

        องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  6 นี้เท่ากับ  4.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ปร.ด. (พุทธศาสนาและปรัชญา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

“รอบรู้พระพุทธศาสนา เชี่ยวชาญปรัชญา กล้าหาญทางคุณธรรม นำองค์ความรู้สู่การพัฒนามนุษย์”

2) ความสำคัญของหลักสูตร

การแสวงหาและต่อยอดแนวคิดทางการศึกษา เพื่อเติมเต็มองค์แห่งความรู้ในสิ่งที่ขาดหายไป เพื่อสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดต่าง ๆ  อันจะก่อให้เกิดความร่วมมือ ความเข้าใจและไว้ใจซึ่งกันและกัน ก้าวผ่านความรู้ความเชื่อแบบมิติเดียว ตระหนักในความสำคัญของคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง

พุทธศาสนาและปรัชญาได้ทำหน้าที่พยุงคุณค่าทางด้านความคิด ความเชื่อ ตลอดทั้งภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังคงทำหน้าที่ของตนเองต่อไป ทิศทางการศึกษาของมนุษยชาติจะก้าวหน้าและดำเนินไปในทิศทางใด สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือผู้ชี้แนะแนวทางให้แก่สังคม ผู้ที่จะสามารถชี้แนะแนวทางการศึกษาได้ดีนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักพุทธศาสนาและปรัชญาเป็นอย่างดี จึงจะสามารถทำหน้าที่นั้นได้อย่างสมบูรณ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงคุณค่าของพุทธศาสนาและปรัชญาดังกล่าว จึงได้ให้ความสำคัญต่อการผลิตบัณฑิตที่ทรงความรู้และความสามารถทางพุทธศาสนาและปรัชญา สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถชี้นำสังคมสู่วิถีทางที่ถูกต้อง และเสริมสร้างสันติสุขแก่สังคมโลก จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะขยายการศึกษาในด้านพุทธศาสนาและปรัชญาให้กว้างขวางในสังคมมากยิ่งขึ้น

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.3.1 เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางพุทธศาสนาและปรัชญา สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ และบูรณาการกับวิทยาการสมัยใหม่ได้อย่างเป็นระบบ

1.3.2 เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีบุคลิกภาพดี  สามารถนำความรู้ประยุกต์ใช้กับสังคม สามารถให้ข้อเสนอแนะและชี้นำแก่สถาบันและองค์กรต่าง ๆ ในสังคมได้เป็นอย่างดี

1.3.3 เพื่อสร้างนักคิดและผู้นำที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีจิตใจกว้างขวาง กล้าหาญและเสียสละ

1.3.4 เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นต้นแบบทางความคิดอันเกิดจากการวิจัยทางด้านพุทธศาสนาและปรัชญาในระดับสูง บัณฑิตสามารถสร้างทฤษฎีขึ้นใหม่ได้ โดยเน้นประสบการณ์ในงานวิจัยและมีวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพดี เพื่อพัฒนาวิชาการด้านพุทธศาสนาและปรัชญาของชาติ

1.4 รหัสหลักสูตร 25631868002624

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของ

อาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.92
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.48
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.60
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.49
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 3.48 - - 3.48 ดี
5 5 3.00 3.75 - 3.60 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 14 3.37 3.67 - 3.49 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

หลักสูตรควรมีการจัดทำเเผนการพัฒนา

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

หลักสูตรควรมีการวางเเผนการรับนักศึกษาให้เป็นไปตาม มคอ 2 

หลักสูตรควรมีการกำกับติดตามนักศึกษาเพื่อป้องกันการลาออกการคันของนักศึกษา

หลักสูตรควรมีการจัดโครงการ/กิจกรรม ที่เพิ่มทักษะให้นักศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

หลักสูตรควรมีการวางเเผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล ระยะสั้นเเละระยะยาว

หลักสูตรควรมีการพัฒนาการเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

การออกเเบบหลักสตรควรมีความหลากหลายในด้านเนื้อหา เเละการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายเพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้เเละประสบการณ์ที่หลากหลายรูปเเบบ เเละควรมีการเรียนการสอนกับการบูรณาการการศึกษากับทักษะในด้านต่างๆ

การออกเเบบหลักสูตรต้องมีความโดดเด่นเฉพาะตัว สามารถสร้างงาน เเละมีผลกับสังคมได้อย่างไร

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรควรมีการพัฒนาการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น Program E book สารสนเทศต่างๆ เพื่อเป็นความหลากหลายในการสืบค้นข้อมูลระดับบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรควรสร้างควมร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ MOU เพื่อเป็นการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ผู้ปกครอง  นักศึกษาสำเร็จการศึกษาเเล้วสามารถนำความรู้ความสามารถมาพัฒนาชุมชนเเละสังคม

พระนักศึกษา การมาศึกษาในหลักสูตรได้ทั้งวิชาการ คุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตเเละการประกอบอาชีพ พระที่มาศึกษาได้นำองค์วามรู้มาพัฒนาการศึกษา การเผยเเผ่ การบริหารวัดในงานคณะสงฆ์

 

ภาพถ่าย