Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในรอบปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมาการประเมินตนเอง คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.67 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และในรอบปีการศึกษา 2565 (1 มิถุนายน 2565 – 31 พฤษภาคม 2566)  ได้คะแนนการประเมินตนเองในภาพรวมเฉลี่ย 4.04 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ มีผลการประเมินทั้ง 6 องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สกอ.)  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่านการประเมิน

          องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต  หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก  

          องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการรับนักศึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี 

          องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์  หลักสูตร ฯ  ได้ดำเนินงานด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ด้านคุณภาพอาจารย์ และด้านผลที่เกิดกับอาจารย์  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ   3.33 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

          องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสาระของรายวิชาในหลักสูตร   ด้านการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการประเมินผู้เรียน และด้านผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก           

          องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตร ฯ  ได้ดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาษาอังกฤษ : Doctor of Education Program in Educational Administration

3) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๓)
เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีภาวะผู้นำและมีธรรมาภิบาลที่ดี มีการใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนา มีความรู้ความสามารถ และวิสัยทัศน์ระดับสูงในสาขาวิชาและสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๓)
เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีภาวะผู้นำและมีธรรมาภิบาลที่ดี มีการใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนา มีความรู้ความสามารถ และวิสัยทัศน์ระดับสูงในสาขาวิชาและสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๓)
มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณสมบัติ ดังนี้ คือ

  • มีภาวะผู้นำและธรรมาภิบาลที่ดีในการบริหารการศึกษาโดยเฉพาะคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และจรรยาบรรณทางวิชาชีพรวมทั้งสามารถใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาเพื่อการบริหารการศึกษา โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางวิชาการและมาตรฐานทางวิชาชีพ
  • มีความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางการบริหารการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมโลกและสังคมภูมิภาค เพื่อการวิพากษ์เชิงเปรียบเทียบกับระบบการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาในประเทศไทยในมิติต่าง ๆ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารการศึกษา ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง แนวโน้ม และนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางวิชาการและมาตรฐานทางวิชาชีพ
  • มีความสามารถทำความเข้าใจทฤษฎี ปรากฏการณ์ การปฏิบัติ การแก้ไขปัญหา และการวิจัย โดยใช้ทักษะการคิดขั้นสูงที่เน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ ทั้งจากการเรียนการสอนแบบปกติในชั้นเรียนและจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
  • มีความสามารถในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อคุณภาพของผลงานการเรียนรู้ทั้งในเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการ
  • มีความสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างประสิทธิผล ทั้งเพื่อการเรียนรู้ การเรียนการสอน การวิจัย การติดต่อสื่อสาร การบริหารจัดการ และอื่น ๆ
  • มีความสามารถทำวิจัยในประเด็นที่ท้าทาย มีความลุ่มลึกการทำวิจัยในระดับสูงมีการจัดการและลึกซึ้งกับปัญหาเชิงจริยธรรม สื่อความคิดและข้อสรุปจากผลการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมต่อความเป็นผู้นำการวิจัยในสาขาวิชา

1.4 รหัสหลักสูตร 25631868002635

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของ

อาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.26
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
5
5
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.42
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.33
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
5
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.60
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
4.04
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 4.00 4.63 4.42 ดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 4 3.33 - - 3.33 ดี
5 5 5.00 4.50 - 4.60 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.67 4.33 4.63 4.04 ดีมาก
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดควรพัฒนา

ควรพัฒนาการกำกับดูแลให้คำปรึกษา วิทยานิพนธ์สารนิพนธ์  ให้นักศึกษาสมารถสำเร็จการระยเวลาที่กำหนด จนสามารถทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดี

ควรปรับปรุงช่วงเวลาการให้บริการอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา ในเวลาเสาร์อาทิตย์

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางส่งเสริม

สนับสนุนให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการทุกคน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ผู้ปกครอง

ผู้ปกครองเห็นความเปลี่ยนแปลงของนศ อย่างไร

    เห็นความสนใจที่ นศ จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 

คิดเห็นอย่างไรกับมหาลัยแห่งนี้

   นศ มีความชอบส่วนตนอยู่แล้วซึ่ง นศ คุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้

ในตัวนักศึกษามีผลลัพธ์อย่างไรบ้างในการปฏิบัติงาน

    นักศึกษามีความกระตือรือร้นและจิตสาธารณะมีการประพฤติตนที่ดีตามคุณลักษณะที่เหมาะสม  

      ส่วนในด้านขององค์ความรู้นักศึกษาสามารถปรับตัวและนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดได้

ศิษย์เก่า

 เมื่อนักศึกษาจบออกไปแล้วหลักสูตรได้ดูแลอย่างไรบ้าง

    หลักสูตรได้ประสานงานสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับใบประกอบวิชาชีพ การศึกษาได้ให้ความรู้และให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นหลังจากจบการศึกษา

อยากให้หลักสูตรเติมเต็มด้านใดเกี่ยวกับหลักสูตรนี้

   จุดเด่นของหลักสูตรนี้ทำให้มีความสงบในด้านพระพุทธศาสนาการดำเนินการชีวิต การใช้ชีวิตประจำวัน

   อยากให้หลักสูตรเพิ่มเติมด้านภาวะความเป็นผู้นำให้มากขึ้น

นักศึกษามีการออกศึกษาดูงานภายนอกบ้างหรือไม่

    มีการออกศึกษาดูงานต่างประเทศคือประเทศสิงคโปร์ 

สิ่งที่ได้รับจากการออกศึกษาท่านนำสิ่งที่ได้รับจากการออกศึกษาท่านนำมาปรับปรุงและบูรณาการอย่างไร

     ได้รับรู้เกี่ยวกับเครื่องแบบการศึกษาและระเบียบวินัยของนักศึกษาในประเทศสิงคโปร์เป็นที่ยอมรับและดีมากมีการบริหารจัดการบุคลากรได้เป็นอย่างดีซึ่งเป็นที่น่ายอมรับ

   ความโดดเด่นของมหาลัยคือด้านพระพุทธทาสศาสนาซึ่งสอดแทรกด้านคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษา ซึ่งสามารถนำซึ่งสามารถนำหลักศาสนาขัดเกลาจิตใจของนักศึกษา

 

นักศึกษาปัจจุบัน

นักศึกษาคิดว่าเรียนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามากกว่าวิชาหลักหรือไม่

      มีการเรียนด้านพระพุทธศาสนาทำให้การมีการเรียนด้านพระพุทธศาสนาทำให้การใช้ชีวิตมีการปรับเปลี่ยนไปทำให้มีจิตใจสงบและมีเหตุผลในการใช้ความคิดมากขึ้นจากหลักคำสอนด้านพระพุทธศาสนา

นักศึกษาคาดหวังจากการททำสาระนิพนธ์อย่างไร

     คิดว่าจะสามารถจบตามกำหนดของหลักสูตรโดยอาจารย์ที่ปรึกษาได้ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี

นักศึกษามีความกังวลในด้านใดบ้างตลอดการศึกษาอยู่

      กังวลทางด้านการจัดทำสาระวิทยานิพนธ์

    กลัวว่าอาจทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรจากความคาดหวังของอาจารที่ปรึกษาแต่ได้พูดคุยกับอาจารย์และหาจ้อมูลเพิ่มเติมกับอาจารย์ร่วมกันพร้อมทั้งมีการอบรมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

สิ่งสนับสนุนที่นักศึกษาอยากได้เพิ่มเติมมีอะไรบ้าง  

     มีหนังสือและตำรามีหนังสือและตำราอย่างเพียงพอ พร้อมกับแชร์ข้อมูลเนื้อหาในแอพต่างๆทั้งออนไซด์และออนไลน์ 

    อยากให้ห้องสมุดเปิดทุกวันรวมถึงวันอาทิตย์ด้วยเนื่องจากว่านักศึกษาต้องใช้ห้องสมุดในวันเสาร์อาทิตย์

    ความโดดเด่นของมหาวิทยาลัยให้ความเป็นภาวะผู้นำความโดดเด่นของมหาวิทยาลัยให้ความเป็นภาวะผู้นำอย่างสมบูรณ์ ที่นอกเหนือจากสาระในรายวิชา

     ด้านคุณธรรม สามารถน้ำมาปรับใช้ในการดำเนินการ

 ทำไมท่านเลือกเรียนหลักสูตรนี้

    เนื่องจากศึกษาต่อในระดับปริญญาโทแล้วจึงศึกษาต่อให้เป็นไปในทางเดียวกัน

จุดเด่นของมหาวิทยาลัย

    มีในเรื่องของการขอทุนและการนำมีในเรื่องของการของทุนและการนำพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต

    คิดว่าสามารถจบตามกำหนดของหลักสูตรไว้เพื่อใช้ในการบริหารหลักสูตรต่อไป

ภาพถ่าย