Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพิ่อการพัฒนา  องค์กรทุกๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมกาอุาดมศึกษาหรือ สกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ องค์ประกอบ รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ ปีการศึกษา 2565 วงรอบ ตั้งแต่วันที่ มิถุนายน  2564 31 พฤษภาคม 2565 มีการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ของ สกอ.โดยคะแนนเต็ม 1-คะแนนทุกตัวบ่งชี้ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

             องค์ประกอบที่ การกำกับมาตรฐาน ผ่าน การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

             องค์ประกอบที่ บัณฑิต ได้คะแนน 2.64 อยู่ในระดับปานกลาง

             องค์ประกอบที่ นักศึกษา ได้คะแนน 3.33 อยู่ในระดับดี

             องค์ประกอบที่ อาจารย์ ได้คะแนน 4.50 อยู่ในระดับดีมาก

             องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรีนการสอน 4.40 ได้คะแนน  อยู่ในระดับดีมาก

             องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับดี

             รวมทุกองค์ประกอบ ได้คะแนนรวม อยู่ในระดับดี

             โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลับมหามกุฏราชวิทยาลัย ผ่าน การประเมิน ถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศศ.ม.(พุทธศาสนาและปรัชญา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด บัณฑิตวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

บัณฑิตวิทยาลัย

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ศึกษา ค้นคว้า วิจัย  และพัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธศาสนาและปรัชญา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตรนี้ มีความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระบบเพราะต้องการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่คุณธรรมสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อองค์ความรู้คู่คุณธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านพุทธศาสนาและปรัชญา มีความรู้ มีคุณธรรม

2.ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจหลักพุทธศาสนาและปรัชญา

ปรับใช้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

3.ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจแก่นแท้ของพุทธศาสนาและปรัชญามีภาวะผู้นำ

ใช้ปัญญาวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุและผล

1.4 รหัสหลักสูตร 25481861109191

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
บัณฑิตวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.10
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
5
2.81
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.64
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
5.00
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.50
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.40
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.87
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 3.46 2.64 ปานกลาง
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 4.50 - - 4.50 ดีมาก
5 5 4.00 4.50 - 4.40 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 4.00 3.83 3.46 3.87 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดี ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

แนวทางเสริมจุดแข็ง

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรควรสร้างแรงจูงใจให้บัณฑิต และนักศึกษาในหลักสูตร ตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานในวารสารระดับนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

จำนวนนักศึกษาในหลักสูตรไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มคอ 2 หรือตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแต่ละปีการศึกษา

แนวทางพัฒนา

-อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องประชาสัมพันธ์การรับนักศึกษาในเชิงลุกหรือรวมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้มากกว่าปีการศึกษาที่ผ่านมา ในทุกช่องทางที่กำหนดไว้ในกระบวนการทำงาน โดยให้ความสำคัญกับความมุ่งหวังของผู้เรียน ทั้งกลุ่มผู้เรียนในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ร่วมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยสำรวจความคาดหวังและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบปรับปรุงหลักสูตรและกำหนดกลยุทธ์สร้างความโดดเด่นและจุดขายของหลักสูตร ดึงดูดผู้เรียนในอนาคต

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดแข็ง

1.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีตำแหน่งทางวิชาการ เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

2.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรตีพิมพ์และเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการในวารสารในฐาน TCI 

แนวทางเสริมจุดแข็ง

1.สร้างระบบและกลไกรวมทั้งทุนสนับสนุนให้อาจารย์ตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับชาติที่มีค่าถ่วงน้ำหนักสูง และในระดับนานาชาติ (Scopus) ให้มากขึ้น 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดแข็ง

1.หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านวิชาการพระพุทธศาสนาและปรัชญา จึงสามารถทำกลยุทธ์สร้างความโดดเด่นหรือจุดขายของหลักสูตรเพื่อออกแบบและพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย สอดคล้องกับการเรียนรู้สมัยใหม่ รวมทั้งหลักสูตรมีการบูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น กับการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อสังคม เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนในอนาคต

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

รูปสัมภาษณ์

  • ในขณะที่เรียนได้นำองค์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร

ตอบ โดยในตำแหน่งงานแล้วเป็นอาจารย์สอนตำรวจในรายวิชาจริยธรรมตำรวจ ตอนตัดสินใจเรียนตอนแรกคิดว่าได้นำไปใช้แค่การเรียนการสอนเท่านั้น แต่พอได้มาเรียนก็สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี และคิดว่ามีประโยชน์ให้กับคนจำนวนมากได้ดี และใช้กับลูกศิษย์ที่เป็นตำรวจได้ดีอีกด้วย

  • อยากให้ทางหลักสูตรปรับปรุงในเรื่องอะไรบ้าง

ตอบ ในเรื่องขององค์ความรู้ทางหลักสูตรถ่ายทอดได้ดีมากๆทั้งวิชาทางโลกและวิชาทางธรรม จุดที่อยากให้เพิ่มเติมหรือปรับปรุง น่าจะเป็นการบริหารจัดการบางเรื่อง เช่น งานทะเบียนและวัดผลซึ่งขั้นตอนต่างๆซับซ้อน ยุ่งยาก น่าจะมีการพัฒนาในทางที่ดีกว่านี้

  • ถ้าจะให้ช่วยมหาวิทยาลัยจะช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง

ตอบ ที่ผ่านมามีพระอาจารย์ให้มาช่วยสอนบางรายวิชา หรือถ้ามีเรื่องอื่นให้ช่วยก็ยินดีช่วยทุกเรื่อง

  • เราจะไปบอกคนอื่นให้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยไหม

ตอบ - ได้ชวนน้องที่เป็นตำรวจมาเรียน 1 ท่าน มีการพูดคุยกันว่ามาเรียนแล้วเป็นยังไง ดียังไง

        - สังเกตเห็นตัวเองพอได้มาเรียนได้ข้อคิดอีกมากมายและทำให้เรามีการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลมากขึ้น และมีการชวนเพื่อนๆมาเรียน

- มีความสุขกับการเรียนที่มหาวิทยาลัยไหม

ตอบ มีความสุขมาก ในช่วงเรียนออนไลน์มีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้น ชอบเรียนแบบออนไซมากกว่า เพราะจะได้เจออาจารย์เจอเพื่อนและทำให้เรามีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น

  • อยากไหมกับการเรียนกับพระ

ตอบ รู้สึกชอบได้พักเที่ยงไวและได้ถวายเพลพระอีกด้วย สนุกสนาน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเรื่องของวินัย ธรรมมะ มากขึ้น

ภาพถ่าย