Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้คะแนน
การประเมินตนเองอยู่ในระดับ  4.19  มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก มีรายละเอียดผลการดำเนินงานดังนี้
องค์ประกอบที่ การกำกับมาตรฐาน ผ่าน การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน
องค์ประกอบที่ บัณฑิต ได้คะแนน 4..01 อยู่ในระดับดีมาก
องค์ประกอบที่ นักศึกษา ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพดี
องค์ประกอบที่ อาจารย์ ได้คะแนน 4.26 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน 4.40 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพดี
ผลการประเมิน หลักสูตร มีคะแนน 4.19 ระดับคุณภาพดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ศศ.ม. (พุทธศาสน์ศึกษา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (โท)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด บัณฑิตวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

บัณฑิตวิทยาลัย

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งพัฒนาตนและศึกษาค้นคว้าวิจัยตามหลักพระพุทธศาสนา สร้างองค์ความรู้คู่คุณธรรมเพื่อสังคมสันติสุข (Self-development and Research Integration of knowledge Base on Buddhist Principles, Creation of knowledgeable and moral innovation to strengthen peace in society)

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระบบเพราะต้องการพัฒนาให้นักศึกษาสามารถมีความรู้คู่คุณธรรม สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และเป็นไปตามปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมให้นักศึกษามีระเบียบ สามัคคีและรู้จักบำเพ็ญประโยชน์ มีจิตอาสา โดยถือว่าบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติเท่านั้นที่เป็นควรแก่การยกย่องนับถือและเป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย การจะพัฒนาบุคคลต้องพัฒนาไปทั้งกาย คือความประพฤติ และใจ คือคุณธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.3.1 เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ เข้าใจและมีความสามารถทางพระพุทธศาสนา มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียนต่อเนื่องตลอดชีวิต

1.3.2 เพื่อส่งเสริมบัณฑิตให้ค้นคว้าวิจัย แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ด้านพระพุทธศาสนา

1.3.3 เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตให้สามารถนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและเผยแผ่องค์ความรู้ไปพัฒนาสังคมให้เกิดสันติสุข

1.3.4 เพื่อให้บัณฑิตสามารถรักษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมและตอบสนองกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและสังคมไทย

1.3.5 เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตให้มีทักษะชีวิต คิดอย่างมีเหตุผล กล้าเผชิญสถานการณ์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา

1.4 รหัสหลักสูตร 25311861100247

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
บัณฑิตวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.28
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
5
3.75
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.01
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
4.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.03
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.26
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.40
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
4.19
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 4.00 4.02 4.01 ดีมาก
3 3 4.00 - - 4.00 ดี
4 4 4.26 - - 4.26 ดีมาก
5 5 4.00 4.50 - 4.40 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 4.13 4.33 4.02 4.19 ดีมาก
ผลการประเมิน ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดแข็ง

อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีงานวิจัยมีเป็นจำนวนมากในรอบ5 ปี

ข้อควรพัฒนา

เสนอให้มีการนำเสนองานวิจัยให้มีการนำผลงานเฉพาะใน ปีปัจจุบัน ที่นับได้

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

ข้อเสนอแนะ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรควรส่งเสริมให้บัณฑิตในหลักสูตรตีพิมพ์และเผยแพร่บทความวิชาการ ในวารสารที่มีค่าถ่วงน้ำหนัก ในวารสารที่มีค่าถ่วงน้ำหนักในระดับสูง

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

อาจารย์ประจำอาจารย์ประจำหลักสูตรควรเสริมในการสนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อเป็นสิ่งกระตุ้นให้นักศึกษาเข้ามาศึกษาเพิ่มขึ้น

ควรเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาตาม มคอ 2 ตามที่เราได้กำหนดตามที่เราได้กำหนดไว้ นั้นเป็นสิ่งพื้นฐาน

รายละเอียดวิชาในหลักสูตรและทักษะด้านอาชีพและทักษะชีวิต ทักษะเทคโนโลยี 4 ด้าน ควรดำเนินการเสริมสร้างให้เห็นภาพชัดเจน

ให้อาจารย์ผู้หลักสูตร บริหารจัดการให้นักศึกษาในหลักสูตรจบการศึกษา ในทุกปีการศึกษา ให้สอดคล้องกับจำนวนนักศึกษาที่รับเข้าในแต่ละปีการศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดแข็ง

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในปี 2565 จำนวนมากและเกินเกณฑ์ที่กำหนด

มีการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการบริหารหลักสูตรและมีระบบและกลไกที่ถูกต้อง

แนวทางเสริมจุดแข็ง

 ควรสนับสนุนให้อาจารย์ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารท่่มีผลถ่วงน้ำหนัก 

ควรสนับสนุนให้อาจารย์ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารที่มีผลถ่วงน้ำหนักสูงขึ้น เช่น Scopus และให้อยู่ในสายด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่า

  1. หลักสูตร สิ่งแวดล้อม กัลยาณิมิตร อาจารย์ ท่านเลือกอะไร

           -ทั้ง 4 องค์ประกอบไม่สามารถเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งได้ทุกสิ่งควรดำเนินไปด้วยกันทั้ง 4 องค์ประกอบไปอย่างควบคู่กัน

  1. จากที่ท่านเข้ามาศึกษาในหลักสูตรนี้ ท่านได้รับองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่หลากหลาย และเนื้อหาสาระในรายวิชา ในหลักสูตรนี้ได้รับครบถ้วนหรือไม่

      -ทำให้ทราบรายละเอียดเนื้อหาในรายวิชาและข้อมูล เกี่ยวกับพระไตรปิฎกมากขึ้น

     - ทราบการใช้ชีวิตคฤหัสถ์กับพระสงฆ์ในการเรียนร่วมกัน เช่น การใช้คำศัพท์ ความรู้เกี่ยวกับพระไตรปิฎก    3. มีกิจกรรมที่เชื่อมโยงสำหรับนักศึกษายังมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงระหว่านักศึกษากับมหาลัยอีกหรือไม่

          -ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษา มีจัดกิจกรรมพบปะระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง มีกิจกรรมการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นระยะ

           -เนื่องจากหลักสูตรนี้เอื้ออำนวยในการประกอบอาชีพในการศึกษาระบบออนไลน์ที่คอยเอื้ออำนวยให้กับนักศึกษา คณาจารย์จึงให้รายละเอียดในหลักสูตรที่เป็นเนื้อหาเน้นสำคัญ

  1. รู้จักมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิธีใด

           -ชอบในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความผูกพันธ์กับพระพุทธศานามาตั้งแต่เด็ก ได้รับการชักชวนจากคณาจารย์ในหลักสูตร

  -ชอบศึกษาหาข้อมูลพระพุทธศาสนาเพิ่มเติมอยากรู้ข้อมูลทางพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นให้มากจากเดิมและสามารถนำความรู้ถ่ายทอดให้กับรุ่นน้อง

  1. อะไรเป็นจุดแข็งในหลักสูตรพุทธศาสตรศึกษา

  - หลักสูตรพระพุทธศาสนาสามารถนำหลักสูตรพระพุทธศาสนาสามารถมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและการทำงาน

   -ทำให้เห็นความสำคัญของสุขภาพในพระสงฆ์จึงมีการดำเนินการรวมกับโรงพยาบาลที่รู้จักและเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี

  -การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้กับการดำเนินงานและเพื่อนร่วมงานนำหลักธรรมต่าง ๆ มาสอนให้กับครอบครัว

  -เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตเนื่องจากการประกอบอาชีพมีข้อแตกต่างระหว่างการศึกษาเป็นสิ่งที่ภูมิใจอย่างมาก

  1. ภาพรวมในหลักสูตรมีอะไรที่จะปรับปรุงพัฒนาแก้ไข

  -Wi-Fi และ Projector ไม่สามารถใช้งานได้อยากให้หลักสูตรมีการปรับปรุงแก้ไขให้สามารถพร้อมใช้งานได้

  - ระบบ Thesis

- อัตลักษณะของมมร แนวทางปฏิบัติให้มากกว่านี้

- การประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยให้รู้จักมายิ่งขึ้น เน้นเชิงรุก

- เสริมกิจกรรมนอกสถานที่ให้มากกว่านี้ เช่น การศึกษาดูงานทั้งในประเทศ และนอกประเทศ

-อยากให้มีการจัดกิจกรรมร่วมกับองค์กรภายนอกให้มากขึ้น รวมทั้งการศึกษาดูงานจากต่างประเทศและมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน

 

 

ภาพถ่าย