Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.48 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ การกำกับมาตรฐาน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสุตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ นี้ คือ ผ่าน

องค์ประกอบที่ บัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.49 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ นักศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.00 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้ เท่ากับ 2.56  มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง

องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.80 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.00 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์)

3) สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะสังคมศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะสังคมศาสตร์

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

สังคมสงเคราะหศาสตร์ เป็นการศึกษาเพื่อการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม และการพัฒนา สังคม การยอมรับความหลากหลายในมิติต่างๆ การสร้างสังคมให้มีความสุขไม่เลือกปฏิบัติ เคารพ คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชนและสิทธิการเขาถึงสวัสดิการสังคม ของทุกภาคสวน การรับใชสังคมและการสร้างสํานึกในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยบูรณาการพุทธศาสตร์และเทคโนโลยีกับวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และสหวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

สังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นวิชาชีพที่ว่าด้วยการปฏิบัติบนพื้นฐานหลักวิชาการ ที่มีเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม สร้างความเข้มแข็งให้สังคม รวมทั้งสร้างอำนาจและความเป็น อิสระให้สมาชิกของสังคม (IASSW General Assembly in July 2014) เป็นศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ที่ผสมผสานวิชาการด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์กับสังคมศาสตร์สาขาอื่น อาทิ จิตวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นการบูรณา การสหศาสตร์มาเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานวิชาชีพ สังคมสงเคราะห์ระดับจุลภาค ได้แก่ การทำงานกับบุคคล ครอบครัว และกลุ่มเพื่อการป้องกัน ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนา ฟื้นฟูบำบัด และช่วยเหลือประชาชน การปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ระดับมัชฌิมภาค ได้แก่ การทำงานกับองค์กรและชุมชน รวมถึงการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ระดับมหภาค ได้แก่ การวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ การบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม เพื่อนำไปสู่ การขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการสังคมและบริการทางสังคมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นธรรมทาง สังคม การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม งานสังคมสงเคราะห์สัมพันธ์กับคนและโครงสร้างของสังคมอัน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม บนพื้นฐานของลักษณะวิชาชีพข้างต้น การจัดการเรียนการสอนของสาขานี้ให้ความสำคัญกับ หลักความเป็นธรรมของสังคม สิทธิมนุษยชน ความรับผิดชอบของส่วนรวม และความเคารพในความ หลากหลาย การเคารพในความแตกต่างของมนุษย์ วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ อุดมการณ์ และ อาศัยพื้นฐานเหล่านี้ประกอบกับองค์ความรู้เชิงวิชาชีพและวิชาการร่วมกัน เพื่อทำงานร่วมกับบุคคล กลุ่ม และชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมที่ประสบอยู่อย่างมีเหตุผล มีจริยธรรม และไม่ใช้ความรุนแรง ด้วยสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่มี พัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเท่าทันการเปลี่ยนแปลง และมีวิธีการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมทั้งใน ระดับจุลภาค มัชฌิมภาค และระดับมหภาค การศึกษาทางด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์จึงจัดเป็น การศึกษาสายวิชาชีพที่ผู้สำเร็จการศึกษามุ่งที่จะทำงานในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์เพื่อตอบสนองการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมทั้ง 3 ระดับดังกล่าว ภายใต้การกำกับของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ซึ่งไปตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ.2556

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ จรรยาบรรณ ทางวิชาชีพและชี้นําสังคมไปในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม

2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ทัศนคติ และทักษะทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์มี วิธีวิทยาในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ และทักษะทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ สามารถประยุกต์ และพัฒนาเครื่องมือการทำงานในระดับจุลภาคและมหภาคได้

3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ ทักษะทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เทคโนโลยีและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้าไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105535

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
คณะสังคมศาสตร์
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.46
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.49
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
4.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.22
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
0
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.56
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.80
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.48
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.73 3.49 ดี
3 3 4.00 - - 4.00 ดี
4 4 2.56 - - 2.56 ปานกลาง
5 5 4.00 3.75 - 3.80 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.28 3.33 4.73 3.48 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดเด่น

  • หลักสูตรนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาประยุกต์เข้ากับสาระการเรียนรู้ในระบบการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาได้ซึมซับไปด้วย
  • อาจารย์ประจำหลักสูตรตระหนักและให้ความสนใจต่อการบริหารจัดการหลักสูตร พยายาม และทุ่มเพื่อจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย
  • มีเครือข่ายที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอน ทั้งสถานที่ฝึกงานภาคปฏิบัติของนักศึกษาและแหล่งทุน

 แนวทางเสริมจุดเด่น

หลักสูตรควรวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์สังคม การประชาสัมพันธ์รับนักศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยใช้วิธีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ซึ่งอาจใช้เครือข่ายทางคณะสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วม

 

องค์ประกอบที่ 1

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรในจัดทำผลงานทางวิชาการ รวมไปถึงบทความวิชาการ งานวิจัย ตำรา หรือหนังสือ จนนำไปสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น

บัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม และจิตอาสา รวมไปถึงมีการนำองค์ความรู้ด้านพุทธศาสนาไปพัฒนาสังคม ในแนวทางที่ถูกต้องสอดคล้องกับจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสังคมสงเคราะห์

 

แนวทางเสริมจุดเด่น

          ควรมีการทบทวนข้อมูลสารสนเทศ สำหรับใช้ในการติดตามบัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิต  สำหรับเป็นข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร ให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของสังคมและชุมชน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางเสริมจุดเด่น

การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามจุดเน้นของหลักสูตร เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ตามที่กำหนด และควรกำกับติดตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาให้เป็นรูปธรรม และนำผลนั้นมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและศักยภาพของนักศึกษาในปีต่อๆไป

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางเสริมจุดเด่น

ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตร มีผลงานทางวิชาการที่หลากหลาย เช่น การวิจัย บทความทางวิชาการ หนังสือหรือตำรา รวมถึงการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานในช่องทางต่าง ๆ ทั้งในระชาติและนานาชาติ ตลอดจนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

บัณฑิตมีความรอบรู้ในศาสตร์ด้านสังคมสงเคราะห์และพุทธศาสตร์ มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ การประยุกต์ใช้และทักษะทางวิชาชีพ ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม

 

แนวทางเสริมจุดเด่น

          หลักสูตรควรมีการทบทวนระบบการเรียนการสอนทั้งออนไลน์และออนไซต์ ตามสถานการณ์สังคม เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการการสอนดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องและหลากหลายช่องทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีทางเลือก และนำปรับปรุงและวางแผนการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางเสริมจุดเด่น

           ควรมีการสำรวจสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ศิษย์ปัจจุบัน

  • อาจารย์ให้คำแนะนำและปรึกษาด้านการเรียนการสอนอย่างทั่วถึง
  • หลักสูตรจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาในช่วงออนไลน์ในช่องทางที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง
  • มีการจัดกิจกรรมเสริมตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในช่วงออนไลน์ให้นักศึกษาอย่างหลากหลาย
  • ควรปรับปรุงแก้ไขสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ แอร์คอนดิชั่น หรือลิฟท์ขึ้นลงอาคาร ให้พร้อมใช้งานสำหรับการเรียนการสอนในช่วงเรียนออนไซต์
  • การลงพื้นที่จริงเพื่อศึกษาและดูงาน เพื่อจะได้ซึมซับและเตรียมพร้อม

ศิษย์เก่า

  • ทำงานได้ตรงสาขาวิชาเรียน พร้อมกับนำความรู้มาประยุกต์ใช้ตลอดเวลา
  • อาจารย์ประจำหลักสูตรให้กำลังใจและให้คำแนะนำเหมือนพ่อแม่
  • สถานที่ฝึกงานให้ความรัก ความอบอุ่น ตลอดเวลา พร้อมกับแนะนำวิธีการสอบบรรจุทำงาน

ผู้ใช้บัณฑิต/สถานประกอบการ

  • หลักสูตรผลิตบัณฑิตได้ตรงกับความต้องการ มีความเคารพ และกตัญญูต่อบุพการี
  • มีคุณธรรมและจริยธรรม อ่อนน้อมถ่อมตน มีความรับผิดชอบ ทำงานเข้ากับทุกคนได้เป็นอย่างดี

 

ภาพถ่าย