Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 16 ตัวบ่งชี้ โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจานวน 16 ตัวบ่งชี้ รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2565 วงรอบ มิถุนายน 2565 30 กรกฎาคม 2566 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของสกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-คะแนนทุกตัวบ่งชี้ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

องค์ประกอบที่ 1  การกำกับมาตรฐาน ผ่านการประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ บัณฑิต       ได้คะแนน  3.42  อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ นักศึกษา     ได้คะแนน  4.00   อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ อาจารย์       ได้คะแนน  4.36  อยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก

องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้คะแนน 3.98  อยู่ในระดับ ดี การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Sociology and Anthropology)

3) สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะสังคมศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง)  ที่ตั้งอยู่ที่ 248  หมู่ที่ 1

ถนนศาลายา - นครชัยศรี  ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  73170

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในแนวคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยา มีทักษะด้านการวิจัยทางสังคม ธรรมะวิจัย มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างเป็นระบบ เป็นผู้ที่ยึดมั่นหลักพุทธธรรมมีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคณะสังคมศาสตร์ให้การสนับสนุนความเสมอภาคทางการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในแนวคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยา มีทักษะด้านการวิจัยทางสังคม ธรรมะวิจัย มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างเป็นระบบ เป็นผู้ที่ยึดมั่นหลักพุทธธรรม  มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคณะสังคมศาสตร์ให้การสนับสนุนความเสมอภาคทางการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

           หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)  มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

            1.2.เพื่อให้บัณฑิตได้มีความรู้ในหลักการ แนวคิด และทฤษฎีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

            1.2.2 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์และธรรมะวิจัย  

            1.2.เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะการทำงานผ่านการฝึกปฏิบัติภาคสนาม

            1.2.4 เพื่อให้บัณฑิตสามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุขภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามแนวทางพระพุทธศาสนา

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861111936

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
คณะสังคมศาสตร์
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.27
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.42
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
4.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.44
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.36
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.98
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.64 3.42 ดี
3 3 4.00 - - 4.00 ดี
4 4 4.36 - - 4.36 ดีมาก
5 5 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 4.18 3.50 4.64 3.98 ดี
ผลการประเมิน ดีมาก ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

1. เพื่อช่องทางการประชาสัมพันธ์ในการรับสมัครนักศึกษา เพื่อให้ได้นักศึกษาที่เพิ่มขึ้น

2. หลักสูตรควรวิเคราะห์กระบวนการรับนักศึกษา อาจกำหนด SWOT Analysis ของหลักสูตรให้เห็นถึง จุดแข็ง จุดด้อย โอกาส และ อุปสรรค ที่สงผลให้จำนวนนักศึกษาแรกเข้าน้อยลงอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

1. สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรศึกษาในระดับปริญญาเอก

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

1. ควรมีการบูรณาการการเรียนการสอนให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม และด้านทำนุบำรุงศิลปและวัฒนธรรม

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์ผู้ปกครอง

  • ผู้ปกครองคิดว่ามหาวิทยาลัยเป็นยังไงบ้าง

ตอบ มหาวิทยาลัยดีค่ะอาจารย์ใส่ใจดี

  • ลูกเคยเล่าให้ฟังบ้างไหมว่าตั้งแต่ปีหนึ่งถึงปีสี่สะท้อนให้เห็นว่ามีการปรับปรุงอะไรบ้าง

ตอบ รู้สึกว่าลูกมีการปรับปรุงในทางที่ดีขึ้นทำตัวเรียบร้อยขึ้นและเข้ากับคนอื่นได้มากขึ้นค่ะ

สัมภาษณ์ศิษย์ปัจจุบัน

  • อยากทำงานอะไร

ตอบ ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 1 ยังไม่แน่ใจขอคิดดูก่อน

ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 2 กำลังจะสอบด้านพัฒนาชุมชน

  • มีความประทับใจอะไรบ้างในมหาวิทยาลัยของเรา

ตอบ ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 1 ช่วยอะไรหลายหลายอย่างมีอาจารย์และรุ่นพี่คอยช่วยให้คำแนะนำปรึกษาหารือบรรยากาศในมหาวิทยาลัยดีร่มรื่นรู้สึกชื่นชอบและสงบดีรุ่นพี่และเพื่อนเพื่อนช่วยเหลือกันดี

ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 2 สาขาทำให้เรามองเห็นรากฐานทางสังคมอาจารย์สอนให้เข้าใจคน เข้าใจสังคมมีความประทับใจอาจารย์ทุกท่านชอบพระครูธรรมะคุดเพราะท่านสามารถอธิบายภาพรวมให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น

  • หลังจากที่เข้ามหาวิทยาลัยมามีอะไรเปลี่ยนแปลงกับตัวเองบ้าง

ตอบ ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 1 เปลี่ยนความคิดพอได้เข้ามาเรียนได้เข้าใจสภาพของคนและอะไรที่ทำให้เปลี่ยนแปลงทางสังคมของคนได้

ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 2 เปลี่ยนมากไม่ชอบเข้าสังคมพอมาเรียนรู้ทำให้เราเข้าใจสังคมมากขึ้นปรับตัวเข้ากับเพื่อนและพูดคุยกันมากขึ้นมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตมากขึ้น

  • หลักสูตรที่เรียนเหมาะสมอย่างไร

ตอบ ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 1 เหมาะสมมากเลยเพราะผมอยากเรียนทางนี้มาตั้งแต่แรก

  • การพัฒนาชุมชนกับหลักสูตรที่เรียนเอื้อต่อกันไหม

ตอบ ศิษย์ปัจจุบันคนที่ 2 เอื่อมากค่ะและเป็นแรงบันดาลใจอยากให้เป็นนักพัฒนาชุมชนค่ะ

สัมภาษณ์ศิษย์เก่าคนที่ 1

  • คิดว่าสิ่งที่เราจบมากับที่ทำงานเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ การดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปได้เรียนรู้วิชาคน สังคม ทำให้เรามองสังคมแบบว่าถ้ามันเกิดขึ้นมันเป็นเรื่องธรรมดาและรู้สึกเฉยๆต่อสถานการณ์ต่างๆ

  • นำหลักธรรมอะไรไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง

ตอบ อิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ใช้ในการทำงานและสามารถต่อยอดสอนให้กับน้องๆต่อไปได้

  • ถ้าให้มองกลับไปที่มหาวิทยาลัยคิดว่ามหาวิทยาลัยมีอะไรที่ควรปรับปรุง

ตอบ สาขาขาดจุดเด่น ซึ่งแตกต่างจากสาขาวิชาอื่นๆ ที่มีจุดเด่นที่ชัดเจน เพราะสังคมวิทยาไปทำงานอะไรได้บ้างมันเป็นหลักฐานที่ยังไม่แน่ชัด อยากให้มีหลักปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นกว่านี้

ศิษย์เก่าคนที่สอง

  • ตอนนี้ทำงานอะไร

ตอบ เป็นพนักงานเอกชนตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของโครงการหมู่บ้านเอพี

  • นำความรู้ที่เรียนไปใช้ต่อไปอย่างไรบ้าง

ตอบ นำความรู้ไปใช้ได้เป็นอย่างดีและรู้สึกว่าอยากเจอลูกค้าหลายคน หลากหลายมากขึ้นและได้เอาสังคมวิทยาไปปรับใช้ในเรื่องความใจเย็น ความสงบ ดูพฤติกรรมคนว่ามาทางไหนและจะต้องทำไงต่อไปและนำไปต่อยอดได้มากๆเลยค่ะ

  • เมื่อให้สะท้อนภาพในอดีตที่เราอยู่เห็นว่ามหาวิทยวิทยาลัยและสาขามีอะไรที่โดดเด่นตรงไหนและปรับปรุงตรงไหนบ้าง

ตอบ จุดเด่นการเรียนไม่เครียดเปิดกว้างในสังคมได้ออกพื้นที่และมีกิจกรรมมากขึ้นซึ่งการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในห้องเรียนอาจารย์แต่ละท่านมีความโดดเด่นแตกต่างกันไปและมีความที่เก่งแตกต่างกันไป

 

ภาพถ่าย