Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

บทสรุปผู้บริหาร

   จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.76 มีคุณภาพระดับ ดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง องค์ประกอบ ดังนี้
   องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ นี้ คือ ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
   องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้ 3.00 ระดับปานกลาง
   องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.33  มีคุณภาพในระดับ ดี
   องค์ประกอบที่ อาจารย์ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.92 มีคุณภาพในระดับ ดีมาก
   องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน  สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.00 มีคุณในระดับ ดี
   องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.00 มีคุณภาพในระดับ ดี

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนสังคมศึกษา)

3) สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะศึกษาศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะศึกษาศาสตร์ (ส่วนกลาง) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนคปฐม

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในด้านการสอน ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชาสังคมศึกษาและสอนศีลธรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลิตบัณฑิตที่มีปรีชาสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ กล้าคิด กล้าทำ  กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครู

2) ความสำคัญของหลักสูตร

1) ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทางด้านการสอนสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณสำหรับครู
2) ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม บูรณาการสังคมศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
   1) มีความรู้ความเข้าใจด้านการสอนพระพุทธศาสนาและการสอนศีลธรรม สามารถประยุกต์ใช้การสอนสังคมศึกษาร่วมกับพุทธวิทยาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   2) มีความรู้ความสามารถและทักษะการสอนสังคมศึกษา เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการจัดการเรียนการสอน
   3) มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพครู มีศักยภาพในการพัฒนางานในหน้าที่ครู สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลายอย่างเหมาะสม
   4) เป็นผู้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000751

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)
คณะศึกษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
3
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.92
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.76
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 3.92 - - 3.92 ดี
5 5 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 14 3.71 3.83 - 3.76 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

หลักสูตรควรคิดกระบวนการแนวทางการประชาสัมพันธ์หลักการรับนักศึกษาให้ได้มาซึ่งนักศึกษาตามเป้าที่กำหนดไว้

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

หลักสูตรควรส่งเสริมพัฒนาอาจารย์ให้มีการจัดทำงานวิชาการในฐานที่สูงขึ้นและครบทุกท่าน

ควรจัดทำแผนพัมนาอาจารย์มีเป้าหมายสู่การกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

หลักสูตรควรนำเหตุการณ์ปัจจุบันมาปรับใช้กับหลักสูตรให้มีความสอดคล้องที่เป็นปัจจุบันเพื่อให้หลักสูตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรสามารถจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้การศึกษาให้นักศึกษาสามารถหาความรู้ได้ทั้งภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียนรวมถึงการจัดทำ mouการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนสามารถนำมาจัดให้กับหลักสูตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับนักศึกษาได้มากขึ้น

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ศิษย์เก่า

สาเหตุใดที่นักศึกษาตัดสินใจเข้าเรียนในหลักสูตรนี้

     สามารถนำหลักสูตรมาใช้ในการชีวิตประจำวันด้านพระพุทธศาสนาและการบริการสังคมได้

    ได้สอบครูผู้ช่วยแล้วแต่ว่ายังไม่สำเร็จ

อยากให้หลักสูตรมีการปรับปรุงพัฒนาในเรื่องใดบ้าง

      อยากให้อาจารย์คุมเข้มเกี่ยวกับการเรียนและการปฎิบัติงานกับรุ่นน้องให้มีมาตรฐานมากขึ้น

    อยากให้หลักสูตรมีความเข้มแข็งเกี่ยวกับรายละเอียดเนื้อหาสาระรายวิชาให้มากขึ้น

   อยากให้หลักสูตรจัดเตรียมอุปกรณ์ความพร้อมเกี่ยวกับการศึกษาอยากให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น

สาเหตุที่เลือกเรียนสถานที่แห่งนี้

   ชอบในภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยและชอบในหลักสูตรนี้ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหมาะสมและมีสถานที่ให้นักศึกษาพัก

   ได้มีการเข้าอบรมพัฒนาตนเองตามที่คณะจัดให้และผ่านมีใบประกอบวิชาชีพสำเร็จแล้ว

ผู้ปกครองนักศึกษา

     สาเหตุที่ทานส่งนักศึกษาเข้าศึกษาสถานที่แห่งนี้ท่านคาดหวังอย่างไร

    เนื่องจากเป็นศิษย์เก่าจากมหาลัยแห่งนี้คิดว่าบุคลากรในมหาลัยมีประสิทธิภาพจึงแนะนำให้นักศึกษาเข้าศึกษาสถานที่แห่งนี้

     อยากให้เป็นครูตอนนี้อยู่ระหว่างศึกษาหาข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อม

    สถานศึกษาค่าเทอมเหมาะสมและเป็นสถานที่สวยงามน่าศึกษา

    อยากให้หลักสูตรเพิ่มความเข้มข้นในเนื้อหารายละเอียดรายวิชาให้มากขึ้น 

ภาพถ่าย