Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือ สกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้จำนวน 13 ตัวบ่งชี้โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจำนวน 13 ตัวบ่งชี้รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2565 วงรอบ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2566 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของ สกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-5 คะแนนทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ผ่านการประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ได้คะแนน 3.42 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ได้คะแนน 3.67 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ได้คะแนน 4.22 อยู่ในระดับดีมาก
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน 3.60 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับดี
โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน ได้คะแนนที่ 3.76 อยู่ในระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศษ.บ.

3) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะศึกษาศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะศึกษาศาสตร์

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถจัดการศึกษาด้านภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ โดยบูรณาการความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและมีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับผู้เรียน สภาพสังคม วัฒนธรรมและวิถีการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้สรรพวิชาอื่น ๆ อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

1.3.1. บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสอนภาษาไทย และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถบูรณาการปรับเปลี่ยนหลักแนวคิดและทฤษฎีการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายตามสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา

1.3.2. บัณฑิตมีทักษะการสอนภาษาไทย และสื่อสารภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  มีความรู้ภาษาไทยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบ  มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ใช้กับการจัดเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม

1.3.3. บัณฑิตมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา และความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม สามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนางานทางวิชาชีพให้ก้าวหน้าสู่ระดับชาติและนานาชาติ         

1.3.4. บัณฑิตมีความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียน ประเมินผลทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพด้านการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.4 รหัสหลักสูตร 25451861101648

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
คณะศึกษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.68
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
4.58
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.42
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.22
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.60
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.76
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.63 3.42 ดี
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 4 4.22 - - 4.22 ดีมาก
5 5 4.00 3.50 - 3.60 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.99 3.17 4.63 3.76 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

แนวทางเสริม

1.สร้างแนวทางการบริหารจัดการเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพผ่านระบบ AUN ทุกหลักสูตร

2.ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรศึกษาแนวทางการบริหารหลักสูตร และสร้างความเข้าใจในบริบทตาม มคอ. 2 ทุกรูป/คน

 

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
-
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางเสริมจุดเด่น

เพิ่มศักยภาพการขอตำแหน่งทางวิชาการ ผศ. ให้ครบทุกรูป/คน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางเสริม

1.ปรับกระบวนการทวนสอบผลสัมฤทธิ์  หรือการประเมินผลการเรียนการสอนตามแนวทาง AUN

2.ทบทวนการจัดทำ มคอ 3 และ มคอ 5 ตามผลลัพธ์ PLO ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน และเชื่อมโยง ตอบโจทย์ ตาม มคอ 2

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์ศิษย์เก่า

  1. ตอนศึกษาหลักสูตรได้มีการจัดกิจกรรมที่โดดเด่นอะไรบ้าง
  • กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสอน ได้ทราบเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
  • กิจกรรมส่งเสริมทักษะต่าง เช่น กิจกรรมโต้วาที กิจกรรมวาทศิลป
  • กิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ทำให้มีคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้น
  • กิจกรรมกรรมฐาน
  1. รายวิชาที่เราเรียนด้านพระพุทธศาสนาได้นำไปใช้ในการเรียนการกรรมฐาน
  • เช่นรายวิชากรรมฐาน และพระไตรปิฎก
  • สิ่งที่ได้ศึกษาในการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นอย่างไร เพียงพอหรือไม่อย่างไร
  • เพียงพอ แต่ต้องพัฒนาต่อไปอีก
  1. มีกังวลหรือไม่ในเทคโนโลยีสารเทศ ในโลกปัญญาประดิษฐ์
  • มีความกังกล มาก โลกมีความพัฒนาไวมาก และมีการเปลี่ยนแปลงไว ถ้าเราไม่เกิดการเรียนรู้ เราจะไม่ทันโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • เป็นการปรับปรุงในมหาวิทยาลัย หรือ ทักษะอะไรในโลกปัจจุบัน และอนาคต
  • อยากจะปรับด้านการเรียนการสอนการเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาสอนให้มากขึ้น
  • ฝากช่วงที่เราเรียนและปัจจุบันได้ความรู้และกิจกรรมเพียงพอหรือไม่หรือมีงานอะไรที่เกี่ยวกับโรงเรียนเพิ่มเติมให้รุ่นน้อง ๆ
  • เพิ่มทักษะในวิชาวิชีพครู เนื่องจากโควิด ช่วงนั้น การออกนอกพื้นทีน้อยไป
  • กระบวนการวิชาชีพให้มากขึ้น

ผู้ใช้บัณฑิต

  1. บัณฑิตที่สอนคุณลักษณะเป็นอย่างไรที่นั้นจุดเด่น จุดอ่อนที่จะต้องพัฒนา
  • มีความมีน้ำใจ จิตอาสา นิสัยดี
  1. จุดอ่อนที่จะต้องพัฒนายังไม่มี

-  คุณครูก็คอยแนะนำบัณฑิตควบคู่ไปด้วย ทำอย่างไรให้เด็กใช้ชีวิตกำลังเพราะบ่มในการรับราชการครู

  1. นักศึกษาไปปฏิบัติงานกี่คน
  • คน
  1. จากรุ่นของอาจารย์นักศึกษารุ่นใหม่ เห็นความแตกต่างระหว่างช่วงที่เราศึกษาอยู่และนักศึกษามาปฏิบัติใหม่เป็นอย่างไรบ้าง
  • ไม่เปลี่ยน บัณฑิตมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ รับฟังครูพี่เลี้ยง และยินดีที่จะปรับปรุงควรเพิ่มตรงไหน ลดตรงไหนเด็กก็พร้อมที่จะปรับปรุง
  • ความแตกต่าง คือ ระยะเวลาต่างกัน รุ่นน้องระยะแรกจะไปเน้นกิจกรรม เทอม 2 จะเป็นด้านเชิงวิชาการ เรื่องการตัดเกรดนักศึกษา และการวัดผลที่ยากขึ้น
  • เด็ก มมร ค่อยข้างดี ความใจเย็น คิดก่อนทำและก่อนพูด และสามารถมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
  1. เด็กปัจจุบันมีแนวความคิดทักษะสมัยใหม่ อยากให้เพิ่มอะไรในอนาคตเพื่อปลูกฝังอะไรกับนักศึกษา
  • วิชาที่จำเป็นที่สุดคือ วิชาสังคมศึกษา สังคมที่สอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝัง การสอนรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

ผู้ปกครอง

  1. จากที่นักศึกษามาเรียนที่มหาลัย นักศึกษามี่ความเปลี่ยนแปลงอย่างไร เป็นไปในทิศทางที่เราต้องการหรือไม่อย่างไรหรือปรับอะไร
  • น้องมีความเปลี่ยนแปลงมาก มีความกระตือรือร้น มีความตั้งใจมากขึ้น เกิดคาดที่เราคาดหวังไว้เยอะ
  • พฤติกรรม การเอาใจใส่ การดูแลรับผิดชอบมากขึ้น มีความตั้งใจในหน้าที่ของตนเอง ใจเย็นมากขึ้น
  1. มีความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหนกับการส่งบุตรหลานมาเรียนสาขาวิชานี้

80%

90%

นักศึกษาปัจจุบัน

  1. มีอะไรที่เข้ามาแล้วเกิดความเปลี่ยนแปลง และสาเหตุใด
  • สิ่งแรกคณะ และสถาบันเปิดโอกาส ได้รับเป็นพิธีกรของมหาวิทยาลัย ได้แสดงออกมากขึ้น และได้เป็นแกนนำกิจกรรมการ
  1. กิจกรรมที่เราได้เรียน มหาวิทยาลัยให้กิจกรรมที่เราขาดที่เราออกไปฝึกสอน ยังไม่ตอบโจทย์
  • กิจกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแต่ละรายวิชาที่มากขึ้น สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย และยังไม่เพียงพอ
  • เวลาเรียนสอนการจัดการห้องเรียน มีวิธีการคุมเด็กอย่างไร

 

  1. หลังจากที่มหาวิทยาลัยมีเกณฑ์ด้านภาษาอังกฤษ และเกณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ หนักใจหรือไม่อย่างไรหรืออยากให้พัฒนาหรือรองรับอย่างไร เพื่อไม่ให้มีปัญหา
  • หนักใจ อยากให้คณะเปิดติวเกณฑ์ภาษาอังกฤษ และเกณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพิ่มขึ้น
  • หนักใจ เพิ่มเรียนภาษาอังกฤษเพิ่ม ช่วงภาคฤดูร้อนช่วยเสริม
  1. ที่เราเรียนมหาวิทยาลัย สิ่งสนับสนุนที่ตัวเองเรียนมาแล้วมีปัญหาที่ยังไม่ครอบคลุมมีอะไรบ้าง
  • ทีมีอยู่แล้ว คณะมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง
  • ฝากห้องสมุด ตำรา หาหนังสือใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มเติม ให้ครอบคลุม ควรไม่ต่ำกว่า 10 ปี
  • เพิ่มเติมระบบการสืบค้นการสืบหาตำราผ่านระบบ ออนไลน์

 

ภาพถ่าย