Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2565)


บทสรุปผู้บริหาร

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นภายใต้สังกัดสาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จัดทำขึ้นตามภารกิจของมหาวิทยาลัย มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิธีวิทยาการวิจัยด้านปัญญาทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาผ่านกระบวนการวิจัยเป็นฐาน ที่ทันสมัย เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ด้านการวิจัย การปัญญาทางการศึกษา และศาสนาขั้นสูง มีความคิดก้าวหน้า มีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีหลักฐานอ้างอิง มีความสามารถด้านเชิงวิเคราะห์ และด้านเทคโนโลยี เป็นคุณสมบัติสำคัญของบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่ขับเคลื่อนงานทางด้านการศึกษา การพระพุทธศาสนา และเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับสากล โดยในการประเมินครั้งนี้เป็นหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565 ใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปี พ.ศ. 2558 เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 และให้เปิดสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 รายงานการประเมินตนเองผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565) ฉบับนี้เป็นการประเมินผลการดำเนินงานในภาคปลายปีการศึกษา 2565 ซึ่งครอบคลุมวงรอบการประกันตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 - 31 พฤษภาคม 2566 โดยได้ดำเนินการตามวิธีการและแนวทางที่ระบุในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. 2566 ตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ สามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2565)

2) ชื่อปริญญา ชื่อปริญญาภาษาไทย: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา) ; ศษ.ม. (การวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา)

3) สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะศึกษาศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ศาลายา จังหวัดนครปฐม

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิธีวิทยาการวิจัยด้านปัญญาทางการศึกษา ที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาผ่านกระบวนการวิจัยเป็นฐาน ที่ทันสมัย เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ด้านการวิจัย การปัญญาทางการศึกษา และศาสนาขั้นสูง มีความคิดก้าวหน้า มีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีหลักฐานอ้างอิง มีความสามารถด้านเชิงวิเคราะห์ และด้านเทคโนโลยี

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตรนี้เน้นกระบวนการและทักษะ ความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ค้นหาสารสนเทศที่เป็นประโยชน์กับทุกสาขาอาชีพ ประยุกต์ได้กับทุกสาขาวิชา โดยเฉพาะวิทยาการทางปัญญา (Intellectual) มีลักษณะเป็นพหุสาขาวิชา (Multidisciplinary) ประกอบด้วยสาขาวิชาหลัก ได้แก่ การศึกษา (Education) ประสาทวิทยา (Neuroscience) จิตวิทยา (Psychology) ภาษา (Linguistics) มานุษยวิทยา (Anthropology) ปรัชญา (Philosophy) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และยังรวมถึงพุทธศาสน์ (Buddhism) ช่วยให้นักวิจัยได้มุมมองใหม่ในสาขาวิชาต่าง ๆ และพัฒนาศาสตร์ใหม่ที่มีลักษณะพหุสาขาวิชา จึงเป็นสาขาวิชาที่ตอบสนองความต้องการของทุกสาขาวิชาชีพ สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และพันธกิจ ข้อ 3 วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวดหน้าที่ของรัฐ มาตรา 69 ที่กล่าวว่ารัฐพึงจัดให้มีและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี และศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ ให้เกิดความรู้ การพัฒนา และนวัตกรรม เพื่อความเข้มแข็งของสังคมและเสริมสร้างความสามารถของคนในชาติ และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 วรรค 2 ที่กล่าวว่า ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริม และให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสภาวะแวดล้อมหรือปัจจัยพื้นฐานที่เอื้ออำนวยทั้งการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาบุคลากรวิจัย โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ดังนั้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทักษะกระบวนการด้านวิธีวิทยาการวิจัย และวิทยาการทางปัญญา รวมถึงการบูรณาการระหว่างศาสตร์ได้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านการวิจัย ปัญญาทางพุทธศาสนา และวิทยาการปัญญา ภายใต้บริบทแนวคิดทางการศึกษา และกระแสโลกาภิวัตน์
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ และทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล มีความสามารถในการนำข้อมูลจากการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เพื่อวางแผนหรือประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ
  3.   ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางวิธีวิทยาการวิจัย ปัญญาทางพุทธศาสนาและวิทยาการทางปัญญาที่เกี่ยวข้องการศึกษา เน้นทักษะการบูรณาการองค์ความรู้ในลักษณะสหศาสตร์
  4.   ผลิตบัณฑิตที่เป็นคนดี มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ มีความเป็นผู้นำและสร้างสังคมไทยให้เป็น “สังคมแห่งภูมิปัญญา การเรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท”

1.4 รหัสหลักสูตร T20222119108434

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพุทธปัญญาวิทยาทางการศึกษา หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2565)
คณะศึกษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.72
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.93
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.40
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.34
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 2.00 - 2.00 น้อย
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 4 3.93 - - 3.93 ดี
5 5 3.00 3.50 - 3.40 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 14 3.47 3.17 - 3.34 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

หลักสูตรควรมีผู้เชี่ยวชาญมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมเพื่อ สร้างความเชี่ยวชาญให้กับผลงานนักศึกษา เเละควรมีการวางแผนการตีพิมพ์ผลงานให้นักศึกษา เตรียมผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญอาจารย์ผู้สอบ ให้มีคุณสมบัติครบถ้วน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

หลักสูตรควรมีโครงการพัฒนาศึกษาในทักษะต่างๆ และควรมีการจัดสรรโครงการเพื่อกำกับติดตามให้นักศึกษาจบการศึกษาตามรุ่น โครงการให้การช่วยเหลือทางด้านการทำวิทยานิพนธ์

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

หลักสูตรควรมีการจัดสรรทุนวิจัยและทุนในการบริหารหลักสูตรเพิ่มเติม เช่นงบประมาณโครงการพัฒนาคณาจารย์

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

การบริหารรายวิชาและหลักสูตรควรมีการบูรณาการการศึกษากับทักษะที่บัณฑิตศึกษาจำเป็นต้องใช้และมีการพัฒนา การกำหนดผู้สอนควรมีการสรรหาผู้เชี่ยวชาญทางศาสตร์ที่มีการเกี่ยวข้อง

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรควรมีการนำผลงานทางวิชาการของอาจารย์มาบูรณาการกับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะให้นักศึกษา

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

พระนักศึกษาปัจจุบัน อาจารย์ให้ความสำคัญ เเละเอาใจใส่นักศึษาทั้งด้านการเรียนการสอนในศาสตร์ใหม่ๆ เทคโนโลยีต่างๆอำนวยความสะดวกในการทำวิจัย เเละอาจารย์มีการกำกับติดตามนักศึกษาอย่างใกล้ชิดเเละต่อเนื่อง มีความสนใจทำวิจัยด้านจิตวิทยาลดความเครียดในวัยทำงาน อยากให้หลักสูตรมีเอกสารคู่มือด้านการทำวิจัย ห้องสมุดวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ เพื่อเป็นเเนวทางเเละเเนวคิดในการทำวิจัย เเละสิ่งอำนวยความสะดวกในการสนับสนุนการเรียนรู้ ควรมีการสนับสนุนทุนการศึกษาในการเรียนการสอน

นักศึกษาปัจจุบัน มีความสนใจในการเรียนด้านวิจัยเพื่อนำไปต่อยอดงานวิชาการต่างๆจึงตัดสินใจมาเรียนในหลักสูตร สามารถนำหลักธรรมเเละวิชาการต่างๆ มาช่วยในการทำงานด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน ควรมีการทำงานร่วมกันในอนาคตกับศิษย์เก่าเเละนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อเป็นการพัฒนางานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสังคมเเละชุมชน

ภาพถ่าย