Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้น ระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.60 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 2.00 (รับการประเมิน 2.3ไม่รับการประเมิน 2.1 และ 2.2)

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.00 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.83 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.00 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา / ศศ.บ. (พุทธศาสนาและปรัชญา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะศาสนาและปรัชญา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

รอบรู้พระพุทธศาสนา เชี่ยวชาญแนวคิดทางปรัชญา กล้าหาญทางคุณธรรม สร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาการ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาและแนวคิดทางปรัชญา เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่คุณธรรม สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย ว่า ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

- มีความรู้ในอุดมการณ์ วิธีการ และหลักการทางพระพุทธศาสนา มีความรู้แนวคิดทาง ปรัชญสำนักต่าง ๆ

- มีความเข้าใจหลักธรรมทางพุทธศาสนาและแนวคิดทางปรัชญา รู้จักคิดวิเคราะห์ และเสนอแนวคิดทางปรัชญาในระดับชาติและนานาชาติ

- สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรม มีวิสัยทัศน์เข้าใจปัญหา สามารถเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและแนวคิดทางปรัชญาในระดับชาติและนานาชาติ

1.4 รหัสหลักสูตร 25641864001258

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
2
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.83
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.60
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 2.00 - 2.00 น้อย
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 4 3.83 - - 3.83 ดี
5 5 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 14 3.54 3.67 - 3.60 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1. ระบบและกลไกการรับนักศึกษาควรปรับให้สอดคล้องกับเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา

2. ควรส่งเสริมและพัฒนาการกระจายทุนการศึกษาให้แก่คณะ วิทยาเขตและวิทยาลัย โดยมีเงื่อนไขและขอบเขตการดำเนินการที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

3. ควรมีการปรับกระบวนการรับนักศึกษาให้เหมาะสม

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

1. ควรส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้มีตำแหน่งทางวิชาการ

2. ควรจัดสรรงบสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนำเสนองานวิชาการในระดับนานาชาติ

3. ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์พัฒนาศักยภาพในระดับนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

1. ควรปรับปรุงระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุม

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย