Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

 จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้น ระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.78 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพ ดี โดยมี รายละเอียด ผลการเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา ภาควิชาศาสนศาสตร์ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตาม หลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเอง ในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 1.00 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ น้อย

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือก นักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามี ความรู้ความสามารถ ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเอง ในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.67 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเอง ในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 4.22 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มี ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเอง ในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.00 หลักสูตรได้ มาตรฐาน ระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผล การเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเอง ในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (พุทธศาสน์ศึกษา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะศาสนาและปรัชญา

2) สถานที่เปิดสอน

คณะศาสนาและปรัชญา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตผลิตบัณฑิตด้านพุทธศาสน์ศึกษา เพื่อพัฒนาตนเองและสังคมบัณฑิตด้านพุทธศาสน์ศึกษา เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านพระพุทธศาสนา มีปัญญาในการคิดวิเคราะห์ สามารถประยุกต์หลักพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองและสังคม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจทางพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติอย่างถูกต้อง

1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะทางเทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้ในสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษาเพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน และสร้างความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทิศทางที่ถูกต้อง

1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตนำเอาหลักการและวิธีการทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน โดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861110485

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
1.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.22
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.78
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 1.00 - 1.00 น้อย
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 4 4.22 - - 4.22 ดีมาก
5 5 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 14 3.99 3.50 - 3.78 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดเด่น:

-หลักสูตรมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกในสัดส่วนที่สูง

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนา

- หลักสูตรฯ ควรกำกับติดตามให้นักนักศึกษาสอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเด่น

-หลักสูตรมีผลที่ดีเกิดกับนักศึกษา ในด้านการคงอยู่ของนักศึกษา และความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร

-หลักสูตรมีระบบการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา เช่น การควบคุมการดูแลการให้คำ ปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษา การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

จุดที่ควรพัฒนา

1 หลักสูตรฯควรหาแนวทางเชิงรุกมากยิ่งขึ้นในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาของหลักสูตร และอาจจะออกแบบหลักสูตรให้สามารถเรียนออนไลน์พร้อมออนไซต์ไปพร้อมกัน เพื่อให้โอกาสแก่นักศึกษาที่ทำงานไปด้วย ทำงานไปด้วย

2.กำหนดการตั้งเป้าให้มีแนวทางที่ชัดเจนในการรับนักศึกษาตาม แผนและ มคอ ที่กำหนด หาวิธีการเพิ่มนักศึกษาให้มากยิ่งขึ้น

 

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น

- หลักสูตรมีระบบการบริหารและพัฒนาอาจารย์ เช่น การรับอาจารย์ที่มีคุณวุฒิและคุณสมบัติที่สูงกว่าเกณฑ์พื้นฐาน ภาระงานของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร การคงอยู่ข องอาจารย์ การส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ความพึงพอใจของอาจารย์ และความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม

จุดที่ควรพัฒนา

1.ควรหาแนวทางในการส่งเสริมอาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น

2 หลักสูตรฯควรหาแนวทางในการส่งเสริมอาจารย์ในหลักสูตรเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ได้แก่ บทความทางวิชาการ บทความวิจัย ในฐาน TCI 1 ให้มากยิ่งขึ้น

3. ควรมีการจัดทำควรมีการจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ การดำเนินงานวิชาการให้แก่คณาจารย์เพิ่มมากขึ้น

 

 

 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

-หลักสูตรมีการปรับปรุงตามวงรอบและปรับปรุงสาระรายวิชาให้ทันสมัย

-หลักสูตรมีระบบในการจัดวางผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน เช่น การมอบหมายอาจารย์สอนรายวิชาต่างๆ อย่างเหมาะสม การติดตาม มคอ. 3-7 การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

-หลักสูตรมีระบบการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เช่น การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตร (มคอ.5มคอ.6 และ มคอ.7) มีระบบการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำ หนดไว้ใน มคอ.3 อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา(องค์ประกอบที่ 5)

ข้อเสนอแนะ

1. หลักสูตรฯ ควรกำกับติดตามเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติให้มากยิ่งขึ้น

2. การออกแบบหลักสูตรตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสังคม

3. มีการนำ มีการนำเนื้อหาวิชาเข้ามา บูรณาการกับการเรียนการสอนเพื่อให้มีความหนักแน่นในรายวิชานั้นมากขึ้น

 

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน
-เพราะเหตุใดนักศึกษาจึงเลือกเรียนสถานที่แห่งนี้
     อยากให้หลักคำสอนหลักปฏิบัติของพุทธศาสตร์ศึกษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับตัวเราและสังคมและการปฏิบัติงานได้ เพื่อใช้ปรับเปลี่ยนในการดำรงชีวิต
-ช่องการแนะนำมหาลัยจากหน่วยงานใด
     มีคณาจารย์ให้คำแนะนำในการเข้าศึกษา
     ทำให้มีความรู้ในการใช้ชีวิตร่วมกับพระ ในรายละเอียดรายวิชาที่เพิ่มจากเดิมมากขึ้น
-หลักสูตรมีการจัดสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติมให้กับนักศึกษาในการเรียนการสอนหรือไม่
     มีการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีสื่อต่างๆ และเพิ่มหนังสือห้องสมุด เพียงพอต่อการใช้ศึกษา
     การที่ได้ศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถนำมาปรับเปลี่ยนในการใช้ในการดำเนินชีวิต มีเหตุผลในการดำเนินงาน
-มีการบอกต่อโดยวิธีอะไรบ้าง ให้กับบุคคลที่รู้จัก
     ช่วยอธิบายหรือสื่อสารให้ผู้คนภายนอกรับฟังในสาระในรายวิชาให้ได้รับความรู้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความสนใจและการดำเนินชีวิต
-แนะนำให้กับผู้ที่ไม่มีเวลาในการเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ได้อย่างไร
      อยากให้ทางหลักสูตรมีการเอื้ออำนวยให้กับนักศึกษาที่ต้องเดินทางไกล หรือใช้วิธีการออนไลน์กับนักศึกษา เพื่อเอื้ออำนวยต่อการดำเนินการแก่นักศึกษา
ผู้ปกครอง
      ควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีผู้เรียนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลักสูตรนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นศาสนาพุทธที่เป็นประจำชาติ คือ เป็นการเผยแพร่และให้เข้าถึงศาสนาพุทธอย่างเต็มทีแก่นแท้
-เราสามารถประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่รู้จักเข้าถึงมหาลัยได้อย่างไร
      มหาวิทยาลัยควรนำช่องทางประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองในวัยผู้สูงอายุให้มากขึ้นเช่นการเปิดวิทยุ หรือช่องทางกระจายเสียง ในต่างจังหวัดหรือ ผู้สูงวัย

ภาพถ่าย