Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการตรวจประเมิน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563) คณะศาสนาและปรัชญา ปีการศึกษา 2565 ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.81 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียด ผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 หลักสูตรได้มาตรฐาน ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 3.37 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียนเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.67 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.97  หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.00 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี 

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ)

3) สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะศาสนาและปรัชญา

2) สถานที่เปิดสอน

คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ด้านปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม ในบริบทของสังคมไทยบนพื้นฐานพหุวัฒนธรรม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

สร้างบัณฑิตด้านปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม บูรณาการสู่สังคมอย่างยั่งยืน

 

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้และความเข้าใจระบบปรัชญา ศาสนา วัฒนธรรม ในบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกสมัยใหม่อย่างถูกต้อง
2
. เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ เข้าใจสถานการณ์ ปัญหาสังคม อย่างชัดเจนรอบด้าน โดยใช้ความรู้ในสาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อแก้ปัญหาในการทางาน และสร้างความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทิศทางที่ถูกต้อง
3
. เพื่อให้บัณฑิตนาเอาหลักการและวิธีการทางปรัชญา ศาสนา วัฒนธรรม ไปประยุกต์ใช้ในการดาเนินชีวิตที่เหมาะสม โดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

 

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864000651

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.10
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.37
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.97
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.81
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.55 3.37 ดี
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 4 3.97 - - 3.97 ดี
5 5 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 16 3.86 3.50 4.55 3.81 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

ข้อเสนอแนะ

นำผลการประเมินจากทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มาพัฒนาปรับปรุงสอดแทรกรายวิชาเพื่อพัฒนาทักษะด้านการมึส่วนร่่วม ทักษะการพูด ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

ข้อเสนอแนะ 

1.ควรพัฒนานักศึกษาด้านทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การสื่อสารเชิงสร้างสรรค การปรัับตัวในสังคมพหุวัฒนธรรม

2. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ข้อเสนอแนะ

1. เพื่อให้จำนวนนักศึกษาเป็นไปตามเป้าหมาย ควรปรับกระบวนการรับนักศึกษา เช่น การประชาสัมพันธ์ และเช็คยอดผู้มาสมัครในระบบ TCAS ในการยืนยันของผู้สมัครเรียน 

2. เพิ่มช่องทางการร้องเรียนและแนวทางแก้ไขสำหรับนักศึกษา เช่น สายตรงถึงคณบดี 

3. เพิิ่มกิจกรรมการเรียนการสอนการออกนอกสถานที่ เพื่อเรียนรู้สังคมภายนอก เช่น ทัศนศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ข้อเสนอแนะ

1. ควรส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัย และประวัติบูรพาจารย์ของมหาวิทยาลัย ตลอดถึงเกียติคุณและแนวการสอนของบูรพาจารย์

2. ควรส่งเสริมครูบาจารย์ให้ด้านบุคลิกภาพในการเรียนการสอน แบบร่วมสมัย

3. ควรเชิญอาจารย์พิเศษที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้ ในการเรียนการสอน

4. ควรส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์เตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ให้ตรงสาขาวิชา

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ข้อเสนอแนะ

1. ชื่อสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกัน ในอนาคตอาจควบรวมหลักสูตรเดียวกัน และปรับปรุงสาขาวิชาให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น

2. ในรายวิชาปฏิบัติกรรมฐานควรนิมนต์ พระวิปัสสนาจารย์ มาบรรยายและสอนโดยตรง

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ข้อเสนอแนะ

1. ควรจัดให้มีฐานข้อมูล ด้านปรัชญาและศาสนา เพื่อง่ายต่อการสืบค้น 

2. ควรจัดให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้ห้องสมุด ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน เช่น การสืบค้น การทำเชิงอรรถ ระบบการอ้างอิงข้อมูล

3. ควรจัดทำฐานข้อมูลประวัติ และผลงานคณาจารย์ ที่นักศึกษาสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้

4. ควรจัดห้องกิจกรรมสำหรับนักศึกษาในสาขาวิชา 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ผู้แทนสัมภาษณ์ ศิษย์เก่า

ตลอดระยะเวลาในการเรียนการสอน เป็นอย่างไร

ระหว่างเรียนได้รับความเมตตาจากคณาจารย์    คณาจารย์มีความเป็นกันเอง   ได้รับความรู้อย่างเต็มที่

รู้สึกประทับใจอาจารย์ท่านใด และรายวิชาไหนเป็นพิเศษ

          มีความประทับใจ ดร.สุรชัย พุดชู  ท่านมีการสอนที่คลอบคลุมเนื้อหาวิชาปรัชญาสังคมและการเมือง  มีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย สอนเป็นกันเอง ได้รับประสบการณ์ที่ดี แบบกัลยาณมิตร

ตลอดระยะเวลาที่เรียนมีอะไรอยากจะเสนอหลักสูตรบ้างอย่างไร

          ในช่วงโควิดที่ผ่านอาจมีปัญหาบางประการเนื่องจากมีข้อจำกัด  ต้องเสนอเรื่องด้านการปรับตัวเข้าหา อาจารย์ และนักศึกษา    เสนอให้ทางหลักสูตรสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายมากขึ้น

เนื้อหาที่เรียนสามารถตอบโจทย์ กับท่านหรือไม่อย่างไร

          องค์ความรู้ที่ได้มาสามารถตอบโจทย์ชีวิตและสามารถนำรายวิชาไปบูรณาการกับชีวิตประจำวัน รายวิชาจริยศาสตร์

          สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาไปร่วมกับการปฏิบัติการสอนในโรงเรียน โดยนำไปประยุกต์ใช้ ปฏิบัติได้จริง

อยากให้หลักสูตรมีการพัฒนาอะไรบ้างอย่างไร

  1. เสนอให้มีโครงการกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาไม่ได้รับประสบการณ์นี้  และให้มีการฝึกปฏิบัติภาคสนามมากขึ้น
  2. เสนอให้คณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้เน้นการจัดการเรียนการสอนให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในตาราง
  3. เสนอให้มีทุนการศึกษาระดับปริญญาโท
  4. เสนอให้หลักสูตรเพิ่มอาจารย์ที่มีความรู้หลากหลาย เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา บุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคหรืออาจารย์พิเศษมาบรรยายประกอบรายวิชา
  5. เสนอให้จัดหาพระวิปัสสนาจารย์ด้านกรรมฐานมาสอนภาคปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสบการณ์ท่ี่ถูกต้อง เน้นการปฏิบัติให้มาก และควรมีกิจกรรมที่หลากหลายเพิ่มเติมจากการนั่งกรรมฐานเดินจงกรม เช่น การย้อมผ้าสำหรับพระภิกษุสามเณร การทำไม้กวาดสำหรับใช้ภายในวัด
  6. เสนอให้ส่งเสริมจัดกิจกรรมเพิ่มทักษะการใช้ห้องสมุดเพื่อการสืบค้นสารสนเทศที่หลากหลาย

 

 

อาจารย์ที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ มีการพูดคุย กับนักศึกษาหรือไม่อย่างไร

          ส่วนมากจะไม่ได้ปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาเท่าที่ควร จะปรึกษาอาจารย์รายวิชาที่สอน

อาจารย์ให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษาได้ตลอดเวลา

          ควรให้ความสำคัญกับบูรพาจารย์ของมหาวิทยาลัย เช่นการศึกษาประวัติและผลงานของท่าน ดร.สุชีพ ปุญญานุภาพ

ตัวแทนสัมภาษณ์นักศึกษาปัจจุบัน

ทำไมเลือกเรียนสาขาวิชาปรัชญาศาสนาและวัฒนธรรม

          ได้รับแรงบันดาลใจจากท่านอาจารย์ที่ไปแนะแนว  ซึ่งตรงกับความชอบส่วนตัว

อาจารย์ได้รับการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาหรือไม่อย่างไร

          มีโครงการกิจกรรมให้คำปรึกษาการทำข้อสอบอัตนัย การเขียนรายงาน และการเขียนบทความวิชาการ และแนะนำในการเรียนการสอนก่อนเข้าศึกษา

เนื้อหาที่เรียนในหลักสูตรท่านคิดว่ามีเนื้อหา หรือรายวิชา ที่อยากให้ปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยหรือไม่อย่างไร

          มีความเหมาะสมแล้ว  หลักสูตรที่สอนมีเนื้อหา ที่บูรณาการเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้

ท่านอยากเสนอแนะ เรื่องสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน อย่างไร

          เสนอให้มีการจัดทัศนศึกษานอกสถานที่ ตามรายวิชา ที่ได้ระบุไว้

รู้สึกอย่างไรมาเรียน มมร และเรียนกับบรรพชิต มีการปรับตัวอย่างไร

          การวางตัว การใช้สรรพนามเรียกบรรพชิต และมีการช่วยเหลือสนินสนมกันมากขึ้น

ถ้าจบแล้วได้มีโอกาสมาสอนอยากสอนรายวิชาสอนอะไร

          รายวิชาจริยศาสตร์  รายวิชาเกี่ยวกับปรัชญาศาสนา และวัฒนธรรม  รายวิชาเกี่ยวกับประวัติของนักปรัชญา

 ผู้ใช้บัณฑิต วัดนครอินทร์

ผู้ใช้บัณฑิตได้ส่งเสริมบัณฑิตอย่างไร

          มีทุนสนับสนุนให้นักศึกษา รถรับส่ง และให้คำแนะนำ

ท่านมีความพึงพอใจกับนักศึกษาอย่างไร

          เป็นที่พึงพอใจ นักศึกษามีจิตอาสา ช่วยงานวัด และเป็นกำลังสำคัญในด้านพระพุทธศาสนาสำหรับพระรุ่นใหม่

          สามารถออกแบบสื่อด้านวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ดี

อยากให้บัณฑิตเพิ่มเติมทักษะอะไรในหลักสูตร

          ชื่อหลักสูตรแต่ละสาขาวิชามีความใกล้เคียงกันทำให้ผู้เข้าเรียนเลือกตัดสินใจในเลือกเรียนยาก ต่อไปในอนาคตอาจยุบรวมหลักสูตรที่มีความใกล้เคียงกันเป็นหลักสูตรเดียวกันได้

ควรเพิ่มเติมศักยภาพของนักศึกษาด้านทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านภาษาอังกฤษ

 

 

 

 

 

                                                                                               

 

 

ภาพถ่าย