Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

 

 

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้น ระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.56 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 3.22 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.00 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับปานกลาง

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 4.08 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.80 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 หลักสูตรได้มาตรฐานระดับปานกลาง

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)

3) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะมนุษยศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต. ศาลายา อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ ทางด้านภาษาอังกฤษ กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลซึ่งใช้ทั่วโลกและเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้และสรรพ วิชาอื่น ๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้คู่คุณธรรมซึ่งนำไปสู่การเป็นพลเมืองโลกที่ดี อีกทั้งเป็นเครื่องมือ สื่อสารในสังคมโลกและการประกอบอาชีพ รวมถึงการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปด้วย

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลซึ่งใช้ทั่วโลกและเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้และสรรพ วิชาอื่น ๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้คู่คุณธรรมซึ่งนำไปสู่การเป็นพลเมืองโลกที่ดี อีกทั้งเป็นเครื่องมือ สื่อสารในสังคมโลกและการประกอบอาชีพ รวมถึงการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปด้วย

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105502

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.21
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
4.44
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.22
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.08
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.80
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (16 ตัวบ่งชี้)
3.56
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 3 - 1.00 4.33 3.22 ดี
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 4 4.08 - - 4.08 ดีมาก
5 5 3.00 4.00 - 3.80 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 16 3.54 3.33 4.33 3.56 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

หลักสูตรควรวางแผนการพัฒนานักศึกษาด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายใหม่ของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับ มคอ 2.

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

หลักสูตรควรวิเคราะห์กระบวนการรับนักศึกษา อาจกำหนด SWOT Analysis ของหลักสูตรให้เห็นถึง จุดแข็ง จุดด้อย โอกาส และ อุปสรรค ที่สงผลให้จำนวนนักศึกษาแรกเข้าน้อยลงอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

หลักสูตรควรเร่งพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

- หลักสูตรควรเพิ่มกระบวนการการศึกษาการพัฒนาหลักสูตร OBE ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรแบบใหม่ที่เปลี่ยนเกณฑ์หลายอย่าง

 - หลักสูตรควรวางระบบการบูรณาการสามด้านในตัวบ่งชี้ 5.2 เพื่อดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

- หลักสูตรควรนำระเบียบวิธีวิจัยมาใช้วัดเครื่องมือวัดผลประเมิณผล เช่น การหา inter-rater reliability ใน rubric การหาค่า difficulty, discrimination, reliability ในข้อสอบ multiple-choice

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

- หลักสูตรควรพิจารณาเทคโนโลยี AI  ที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และ การทำผลงานทางวิชาการของอาจารย์

- หลักสูตรควรหาความร่วมมือกับองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกภาษากับเจ้าของภาษา

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

มีใครแนะนำให้มาศึกษาที่สาขาวิชานี้

ตอบ รุ่นพี่แนะนำมาให้มาเรียนที่สาขานี่ และตัวเองก็อยากเรียนด้านภาษาอยู่แล้ว

นักศึกษาเป็นคนที่ไหน

ตอบ เป็นคนร้อยเอ็ด และได้บวชเรียนที่กรุงเทพมหานคร

ให้บอกข้อดีของทางหลักสูตร

ตอบ มีการเปิดกิจกรรมที่นักศึกษาได้มีส่วนร่วมมากขึ้น ใส่ใจนักศึกษา และรับฟังนักศึกษาทุกรูปคน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและดำเนินการจัดงานหรือโครงการต่างๆได้

มีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติมไหม

ตอบ ด้วยความที่ ชั้นปีที่ 1 และ 2 ได้เรียนวิชาเลือกเยอะมาก แต่วาชาหลักน้อย อยากให้ปรับรายวิชาหลักในปีที่ 1 และ 2 เพิ่มมากขึ้น อยากให้มีรายวิชาที่เกี่ยวกับการอ่านและพูดมากกว่านี้

ภาพถ่าย