Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.38  มีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

          องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 1.00 ระดับคุณภาพน้อย

          องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 ระดับคุณภาพดี

          องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.83 ระดับคุณภาพดี

          องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.40 ระดับคุณภาพดี

          องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 ระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ศศ.บ. (ภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา)

3) สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะมนุษยศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะมนุษยศาสตร์

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม ศีลธรรมทั้งพฤติกรรมและความคิด

2) ความสำคัญของหลักสูตร

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจโครงสร้างของภาษาบาลีและสันสกฤตและพระไตรปิฎก สามารถอ่าน เข้าใจ วิเคราะห์และรู้จักแต่งประโยคบาลีและสันสกฤตได้เป็นอย่างดี เข้าใจโครงสร้างพระไตรปิฎก สามารถวิเคราะห์แนวทางพระไตรปิฎกได้
  2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าใจเนื้อหาของวรรณคดีและวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต และสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างกับวรรณคดีไทยและวัฒนธรรมไทยได้
  3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวความคิดทางพระพุทธศาสนาและปรัชญาในคัมภีร์ รวมทั้งเรื่องของภารตวิทยามากขึ้น
  4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถสร้างคำ ประกอบการวิเคราะห์วิจัยคำหรือบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นใช้ในภาษาไทย
  5. เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาภาษาบาลีสันสกฤตในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาในระดับสูงขึ้น และการทำงานทางด้านพระพุทธศาสนาที่เปิดกว้างมากขึ้น

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤตและพระไตรปิฎกศึกษา หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2564)
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
1.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.83
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.40
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.38
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 1.00 - 1.00 น้อย
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 3.83 - - 3.83 ดี
5 5 4.00 3.25 - 3.40 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 14 3.67 3.00 - 3.38 ดี
ผลการประเมิน ดี ปานกลาง - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดเด่น

  • เป็นหลักสูตรที่เป็นจุดเน้นของสถาบัน
  • มีแหล่งทุนสนับสนุนการศึกษาตลอดหลักสูตร (ทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า(วาสนมหาเถร)ในพระสังฆราชูปถัมภ์
  • พระนักศึกษาทุกรูปต้องผ่านการคัดสรรเข้ารับการศึกษาจากคณะกรรมการ

    แนวทางเสริมและพัฒนา

    ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการผลิตผลงานทางวิชาการ รวมไปถึงบทความวิชาการ งานวิจัย ตำรา หรือหนังสือ จนนำไปสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

แนวทางเสริมและพัฒนา

          ควรเตรียมพร้อมสำหรับข้อมูลสารสนเทศสำหรับใช้ในการติดตามบัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิตสำหรับเป็นข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร ให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของสังคมและชุมชนในอนาคต

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางเสริมจุดเด่น

การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามจุดเน้นของหลักสูตร เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์เต็มที่

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางเสริมจุดเด่น

ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตร มีผลงานทางวิชาการที่หลากหลาย เช่น การวิจัย บทความทางวิชาการ หนังสือหรือตำรา รวมถึงการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานในช่องทางต่าง ๆ ทั้งในระชาติและนานาชาติ ตลอดจนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางเสริมจุดเด่น

1. การประเมินผู้เรียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ใน Curriculum Mapping ของหลักสูตร

2. การบูรณาการเรียนการสอนกับการวิจัย การบริการวิชาการ และหรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางเสริมจุดเด่น

ควรมีการสำรวจสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ศิษย์ปัจจุบัน

  • มหาวิทยาลัยสนับสนุนที่พัก ภัตตาหารเช้า-เพล และทุกการศึกษาตลอดหลักสูตร
  • อาจารย์ประจำหลักสูตรมีความรู้และความสามารถตรงสาขาวิชาและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา
  • ควรปรับปรุงแก้ไขสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ แอร์คอนดิชั่น ให้พร้อมใช้งานสำหรับการเรียนการสอน
ภาพถ่าย