Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์


บทสรุปผู้บริหาร

 

   หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการกำหนดแนวทางการบริหารหลักสูตร  การจัดการเรียนการสอน  การประเมินผู้เรียน  การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ และการจัดสรรทรัพยากรสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งในปี 2565 ได้คะแนนการประเมินง 3.67 มีระดับคุณภาพในระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและอาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 1.00

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.67

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.83

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.00

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

2) ชื่อปริญญา รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)

3) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตอีสาน

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คู่คุณธรรม เชี่ยวชาญการพัฒนางาน ด้วยหลักธรรมาภิบาล

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปิดสอนสาขานี้เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ ความสามารถ และหลักการจัดการบ้านเมืองที่ดี ไปใช้ในการทำงานในอนาคตและการเตรียมขึ้นเป็นผู้บริหาร หรือผู้นำในองค์กรในอนาคตเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ทางราชการ และองค์กร นอกจากนี้การศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ยังให้นักศึกษาสามารถรอบรู้ในเรื่องการบริหารงบประมาณและการคลัง การวางแผน การออกแบบองค์การ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ ระเบียบการการบริหารราชการไทย คุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี รวมทั้งมุ่งรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม ตอบสนองความต้องการของประชาชน และเป็นที่พึ่งในการแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้ การเรียนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ยังสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น การสอบเป็นปลัดอำเภอ นักบริหารงานทั่วไป พนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐซึ่งหลักสูตรนี้ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถไปสอบราชการเป็นตำรวจได้โดยที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกวิชาเรียนได้ตามความรู้ความสามารถของแต่ละคน

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. ผลิตบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ให้มีทักษะ มีความรู้ทางวิชาการ เป็นพลเมืองที่ดี คิดสร้างสรรค์ต่อสังคม มีความสามารถทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหาร สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการบริหารได้

2. ผลิตบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ให้เป็นผู้ใฝ่รู้และมีความพร้อมในการศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถต่อยอดองค์ความรู้ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ได้

3. ผลิตบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำและจิตสาธารณะ สามารถบริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาเพื่อรับใช้สังคม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

4. ผลิตบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ที่มีวิสัยทัศน์ เข้าใจปัญหาสังคมและสามารถวิพากษ์วิจารณ์ตามหลักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม

1.4 รหัสหลักสูตร 25611861100030

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตปริญญาตรีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
1
2.4 บัณฑิตมีคุณลักษณะทางคุณธรรม
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
1.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.83
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.67
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 1.00 - 1.00 น้อย
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 4 3.83 - - 3.83 ดี
5 5 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 14 3.79 3.50 - 3.67 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

หลักสูตรควรมีการ take action ในการรับนักศึกษาเพิ่มขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายใน มคอ 2 เช่น การเพิ่มรอบการรับนักศึกษา การประชาสัมพันธ์เชิงรุก

ควรมีการสำรวจความต้องการการเตรียมความพร้อมจากนัศึกษา เเละการวัดความรู้ความสามารถในการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาควรมีการวัดเเละประเมินผลที่ชัดเจน

ควรมีการวางเเผนการพัฒนานักศึกษารายชั้นปี

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

หลักสูตรควรมีการสนับสนุนการเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ควรมีรายละเอียดการปรับปรุงหลักสูตร เเละการปรับปรุงรายวิชาที่ชัดเจน

การวางระบบผู้สอน หลักสูตรควรวางระบบเเละกลไลในการคัดเลือกผู้สอนที่เหมาะสมโดยจำเเนกเป็นกลุ่มผุ้สอนรายวิชา GE BU เเละวิชาเอก

หลักสูตรควรนำเอาผลงานวิจัย ผลงานวิชาการของอาจารย์ มาทำการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อเป็นการบูรณาการการเรียนการสอนกับงานวิจัย

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรควรมีการเพิ่มสิ่งสนับสนุนตำรา/เอกสาร อิเลคโทรนิค เพิ่มเติม

ควรมีการสร้างความร่วมมือกับสถาบันอื่นเพื่อเเบ่งปันด้านการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย