Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตศรีล้านช้าง  ในรอบปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมาการประเมินตนเอง คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.43 มีคุณภาพระดับดี

เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ  มีผลการประเมินทั้ง 6 องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สกอ.)  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ปีการศึกษา 2565 ยังไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาจึงยังไม่มีรายงานผู้สำเร็จการศึกษา จึงไม่รับการประเมินในตัวบ่งชี้ที่ 2.1 และ 2.2 แต่มีการประเมินในตัวบ่งชี้ที่ 2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ผลการประเมินตนเองมีค่าเฉลี่ยที่ 2.00 อยู่ในระดับน้อย

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการรับนักศึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  3.33  ระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์หลักสูตร ฯ  ได้ดำเนินงานด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ด้านคุณภาพอาจารย์และด้านผลที่เกิดกับอาจารย์  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.25  ระดับคุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสาระของรายวิชาในหลักสูตร ด้านการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการประเมินผู้เรียน และด้านผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  3.20  ระดับคุณภาพปานกลาง

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตร ฯ  ได้ดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 ระดับคุณปานกลาง

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

3) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล ซึ่งมีปรัชญา คือ “พัฒนาผู้นำทางการศึกษาให้มีคุณภาพและเป็นสากล เปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรมตามแนวพุทธศาสนา” มุ่งผลิตบัณฑิตทางการบริหารการศึกษาให้เป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความสามารถในการค้นคว้าวิจัยเพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์หรือมีความสำคัญในแง่ของการพัฒนางาน สังคม และประเทศ ให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้งให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อองค์ความรู้คู่คุณธรรม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล ซึ่งมีปรัชญา คือ “พัฒนาผู้นำทางการศึกษาให้มีคุณภาพและเป็นสากล เปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรมตามแนวพุทธศาสนา” มุ่งผลิตบัณฑิตทางการบริหารการศึกษาให้เป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความสามารถในการค้นคว้าวิจัยเพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์หรือมีความสำคัญในแง่ของการพัฒนางาน สังคม และประเทศ ให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้งให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อองค์ความรู้คู่คุณธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตระดับมหาบัณฑิตให้มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ดังนี้

1) มีภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาหรือหลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารการศึกษา รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด

2) มีความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางการบริหารการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมภูมิภาค และสังคมโลก ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง แนวโน้ม และนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา

3) มีความเข้าใจทฤษฎี ปรากฏการณ์ การปฏิบัติ การแก้ไขปัญหา และการวิจัย โดยใช้ทักษะการคิดที่เน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทั้งจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนและจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

4) มีความรับผิดชอบในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามอย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อคุณภาพของผลงานการเรียนรู้ทั้งในเชิงวิชาการและเชิงวิชาชีพ

5) มีความสามารถทำวิจัยในประเด็นที่ท้าทาย มีความลุ่มลึกในการทำวิจัยระดับดี มีการจัดการกับปัญหาเชิงจริยธรรม สื่อความคิดและข้อสรุปจากผลการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ

1.4 รหัสหลักสูตร 25631866003342

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2565

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
2.3 บัณฑิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
5.00
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
4.4 ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านศาสนาหรือการพัฒนาคุณธรรม
2
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.25
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
5.5 สัดส่วนหน่วยกิตของวิชาที่มุ่งเน้นการศึกษาหลักศาสนา หรือ นำหลักศาสนามาบูรณาการ
2
1
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.20
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (14 ตัวบ่งชี้)
3.43
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2565
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - 2.00 - 2.00 น้อย
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 4 4.25 - - 4.25 ดีมาก
5 5 3.00 3.25 - 3.20 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 14 3.75 3.00 - 3.43 ดี
ผลการประเมิน ดี ปานกลาง - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ควรมีการวางเเผนการพัฒนานักศึกษานอกเหลือจากที่มหาวิทยาลัยกำหนด เเละมีการวางเเผนติดตามนักศึกษาเพื่อรักษาอัตราการคงอยู่

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ควรส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่าน มีผลงานทุกท่าน และให้มีการได้รับการอ้างอิงทุกคน
  2. จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงอาจารย์ และแผนพัฒนารายบุคคล
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางเสริม

ทบทวนเนื้อหารายวิชาหลักสูตรเพื่อให้ทันสมัย พร้อมทั้งการใช้สื่อดิจิทัล ICT มาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการจัดการเรียนการสอน ร่วมกับการใช้ E-leaning E – book ใช้เพื่อการค้นคว้า E – journal

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

แนวทางเสริมจุดเด่น

- หลักสูตรทบทวนและวิเคราะห์ผลการประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ไปสู่การพัฒนากิจกรรมการเรียนการ สอน การได้ประโยชน์ของนักศึกษาและอาจารย์เพิ่มขึ้น

- ส่งเสริมให้นักศึกษาใช้ฐานข้อมูลในการค้นคว้าการวิจัยให้หลากหลายและเก็บสถิติการใช้ฐานข้อมูล เพื่อพัฒนาสิ่งสนับสนุนต่อไป

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

บทสัมภาษณ์

คำถามที่ 1. อยากทราบเหตุผลหรือแรงจูงใจว่าทำไมถึงมาเรียน ปโทและเอกที่ มมร ศช

ตอบ 1. เป็นเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของคณาจารย์คิดว่าอาจารย์แต่ละท่านทรงคุณค่า และมีความพร้อมที่จะให้ความรู้แก่นักศึกษา มีความเอาใจใส่แก่นักศึกษาทุกท่าน มีความใกล้ชิดเป็นกัลยาณมิตรและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักศึกษาและต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่นักศึกษา ทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่เข้ามาเรียน  และเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐและเน้นพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นจุดแข็งที่มีวิชาการควบคู่กับศาสนาด้วย

  1. เนื่องจากชอบที่ มมร เป็นวิทยาลัยสงฆ์ ใช้คุณธรรมนำความรู้ในการบริหารงานความรู้หาที่ไหนก้ได้ แต่คุณธรรมต้องมีในตัวเองและทำให้เราทำงานได้ดี นอกจากความรู้ที่ได้แล้วยังได้ปฏิบัติธรรมและถือศีลทำให้เรารู้และใจเย็นมากขึ้น ถึงจะไกลแต่ก้ตั้งใจมาก
  2. ในการเลือกเรียนที่ มมร เนื่องจากบ้านอยู่อำเภอบางสะพุง จังหวัดเลย คิดว่าการเรียนที่ มมร ไม่น่าจะแตกต่างกับที่อื่นสักเท่าไร สิ่งที่ชอบคือคณาจารย์เอาใจใส่นักศึกษาทุกท่านตามทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผยแพร่แก่นักศึกษาทุกท่าน อีกเรื่องก็คือเนื้อหามีความครบถ้วนและประหยัดค่าใช้จ่ายไปในตัว
  3. ทางมหาวิทยาลัยอยู่ใกล้บ้านเลยเลือกที่จะไปเรียนที่นั้น และเรียนเพื่อขยายหรือเพิ่มประสบการณ์ให้ตัวเองเพื่ออนาคตจะเปลี่ยนสายเป็นผู้บริหาร ตอนแรกก็ศึกษารายละเอียดจากรุ่นพี่ พอตัดสินใจเรียนก็คิดว่าคิดถูกแล้วที่มาเรียนที่นี่ ซึ่งหลักสูตรเราต่างจากหลักสูตรอื่นซึ่งเราเรียนพระพุทธศาสนาควบคุ่ไปผด้วยทำให้เรามีคุณธรรมและความรู้ควบคู่กันและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

คำถามที่ 2.จุดเด่นของมหาวิทยาลัยมหามหากุฏราชวิทยาลัย ศช และจุดที่ควรพัฒนามีด้านในบ้างในด้านหลักสูตร

ตอบ 1. จุดเด่น เป็นเรื่องการเพิ่มเนื้อหาสาระรายวิชาที่การนำระบบการคิดการคำนวณต่างๆมาใช้มีการจัดสัมมนาออนไลน์ทำให้นักศึกษาที่คอนเนกชั่นมากขึ้นและมหาวิทยาลัยทำได้ และทำให้เราเรียนรู้ในเรื่องของการวิจัยหรือการเสนอผลงานวิชาการและเพิ่มการมีศักยภาพให้แก่นักศึกษาทำฝให้เรามีความรู้ที่แน่นมากขึ้น

จุดที่ควรพัฒนา ยังมองไม่เห็นสิ่งที่จะต้องปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นอาจารยืหรือสถานที่ต่างๆ

  1. จุดเด่น อาจารย์ให้ความสำคัญกับนักศึกษาเป็นหลักสังเกตว่านักศึกษาคนไหนมีจุดเด่นจุดด้อยอะไร และแนะนำห้วข้อวิจัยให้แก่นักศึกษาให้เหมาะกับงานวิจัยตัวไหนเพื่อให้ไปทำงานวิจัยตัวนั้น แต่ถ้าท่านไหนไม่ชอบก็จะแนะนำและให้แนวทางในการดำเนินงานต่อไป และมีความรักและผูกพันกับอาจารย์มาก

จุดที่ควรพัฒนา คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องจำนวนอาจารย์ค่อยค้างน้อยขาดโอกาสที่จะเพิ่มศักยภาพให้แก่นักศึกษา ถ้าเรามีปัจจัยที่มาซัพพอตทำให้เรามีอาจารย์ที่จะมาช่วยสอนนักศึกษามากขึ้นเพื่อให้ศึกษามีคุณภาพสู่สังคม

  1. จุดเด่น มีความครอบคลุมไม่ใช่แค่ทฤษฎีอย่างเดียวแต่มีด้านคุณธรรมจริยธรรมมาสอนอีกด้วยและมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงมทาใช้ในการสอนอีกด้วยทำให้ครอบคลุมครองคนครองงาน

จุดที่ควรพัฒนา อยากให้มีการออกศึกษาดูงานในการบริหารและในเรื่องของชิ้นงานอยากให้ทำเป็นโปรแจ็กใหญ่ๆมากกว่าชิ้นงานย่อยๆ น่าจะโอเครมากยิ่งขึ้น

  1. จุดเด่น มีการสอนแทรกคุณะรรม นอกจากจะเรียนทษฎีแล้วยังมีศาสตร์พระราชามาเรียนอีกด้วย และมีการจัดสัมมนาให้ผู้มีความรู้ทางด้านนั้นๆโดยตรงมาให้ความรู้เราถ้าท่านไม่สะดวกมามหาวิทยาลัยก็จะเป็นการออนไลน์

จุดที่ควรพัฒนา อยากให้เพิ่มรายวิชาที่ให้ความรู้กับงานที่ให้ความรู้ลึกกว่านี้และหลายๆฝ่ายงานอาจจะให้มีรายวิชาที่สอนงานฝ่ายต่างๆเพิ่มขึ้น

ได้หัวข้อวิจัยเรื่องอะไร ใครเป็นที่ปรึกษา

ภาพถ่าย