Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร
คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย   ได้คะแนนการประเมิน 3.77  มีคุณภาพอยู่ใน ระดับคุณภาพ ดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้
          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน
            องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.55 ระดับคุณภาพ ดีมาก
           องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพ ปานกลาง
           องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.96 ระดับคุณภาพ ดี
            องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.75 ระดับคุณภาพ ดี
           องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศาสนาและปรัชญาสาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 ระดับคุณภาพ ดี
บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศศ.บ. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะศาสนาและปรัชญา

2) สถานที่เปิดสอน

คณะศาสนาและปรัชญา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้พุทธศาสตร์ พัฒนาชาติและสังคม บ่มเพาะวัฒนธรรม น้อมนำปรัชญา เศรษฐกิจ พัฒนาชีวิตแบบพอเพียง สร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาการ ทำงานอยางมีความสุข มั่นคงและยั่งยืน

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านพุทธศาสตร์ในมิติการบูรณาการกับศาสตร์ สมัยใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและพัฒนาทรพัยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังน้ี

1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในการวางแผนพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ใน องคกรด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ และมีภาวะผู้นำในการนำความรู้ไป บูรณาการกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามแนวพุทธศาสตร

1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมใน ศตวรรษที่ 21 ด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.10
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.55
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.96
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.77
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.55 4.55 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.96 - - 3.96 ดี
5 4 3.00 4.00 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.41 4.00 4.55 3.77 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดแข็ง

หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีคุณวุฒิที่หลากหลายทางพระพุทธศาสนา

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนา

ควรนำผลการประเมินคุณภาพตามกรอบมาตรฐาน ด้านความรู้ไปวางแผนพัฒนานักศึกษาต่อไป

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1.หลักสูตรควรเพิ่มกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงวัย กลุ่มวัยเกษียณ กลุ่มหน่วยงานต่างๆ และกลุ่มอื่นๆ ในการรับนักศึกษา

2.ควรวางแผนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในแต่ละชั้นปีอย่างชัดเจน 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

1. หลักสูตรควรจัดทำ IDP รายบุคคล และของหลักสูตร

2. ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

1. ควรวางแผนการออกแบบสาระรายวิชาแต่ละรายวิชา และแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนทราบ

2. ควรบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัย การทำนุบำรุงและ การบริการวิชาการ ให้ครบทุกด้าน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนา

ควรรวบรวมคู่มือการใช้ระบบหรือลิ้งค์ต่างๆ เพื่อบริการให้แก่นักศึกษา

 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ผู้ปกครอง

จุดเด่น

นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา เช่น หลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  ทำให้ผู้ปกครองมีความสุข

ข้อเสนอแนะ

อยากให้หลักสูตรมีการพัฒนาทางจิตใจเพิ่มขึ้น

ผู้ใช้บัณฑิต

จุดเด่น

บัณฑิตมีความรับผิดชอบสูง และไว้วางใจในการทำงานได้

ข้อเสนอแนะ

1.ควรพัฒนาทักษะทางภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ มากขึ้น

2.ควรพัฒนาทักษะด้าน ITC

3.ควรพัฒนาทักษะส่วนบุคคลด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 

นักศึกษาปัจจุุบัน

จุดเด่น

หลักสูตรมีการออกแบบเหมาะสมเป็นไปตามที่คาดหวังตอบโจทย์ เช่น การพัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร พัฒนาชาติ

ข้อเสนอแนะ

 1. ส่งเสริมความกตัญญู กตเวที ต่อผู้มีพระคุณ

 

ภาพถ่าย

การสัมภาษณ์