Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการประเมินรายงานการประเมินตนเองระดับหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ฉบับนี้ เป็นการรายงานผลการดำเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 (1 มิถุนายน 2564 – 31 พฤษภาคม 2565) ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่

  • องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ผลการประเมิน ผ่าน
  • องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต งดรับการประเมิน
  • องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา เฉลี่ย 1.33 อยู๋ในระดับ น้อย
  • องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์  เฉลี่ย 3.00 อยู๋ในระดับ ปานกลาง
  • องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน    เฉลี่ย 2.50 อยู๋ในระดับ ดี
  • องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  เฉลี่ย 3.00 อยู๋ในระดับ ปานกลาง

 ได้ผลการประเมิน 2.36 อยู่ในระดับดี

          

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสน์ศึกษา) ชื่อย่อ : ศศ.ม. (พุทธศาสน์ศึกษา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (โท)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย 26 ม.7 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ. นครปฐม 73160

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนา ศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยใช้องค์ความรู้คู่คุณธรรมเพื่อสร้างสังคมสันติสุขที่ยั่งยืน “Self-development in Buddhist way, Research and Integration of knowledge and character to strengthen sustainable peace in society”

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระบบเพราะต้องการพัฒนาให้นักศึกษาสามารถมีความรู้คู่คุณธรรม สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และเป็นไปตามแนวทางปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมให้นักศึกษามีระเบียบ สามัคคีและรู้จักบำเพ็ญประโยชน์ มีจิตอาสา และปรัชญาของวิทยาลัยศาสนศาสตร์คือ คุณธรรมนำหน้า วิทยาเลิศล้ำ ชี้นำสังคม โดยถือว่า บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติเท่านั้นที่เป็นผู้ควรแก่การยกย่องนับถือและเป็นผู้ประเสริฐในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย การจะพัฒนาบุคคลต้องพัฒนาไปทั้งกาย คือความประพฤติ และใจคือ คุณธรรม ตลอดจนกระทั่งสังคมและปัญญาในแบบองค์รวม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถทางพระพุทธศาสนา มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียนต่อเนื่องตลอดชีวิตเพื่อพ้นทุกข์ในระดับต่าง ๆ 

2. เพื่อส่งเสริมบัณฑิตให้ค้นคว้าวิจัยแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ด้านพระพุทธศาสนา

3. เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตให้สามารถนำหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและเผยแผ่องค์ความรู้ไปพัฒนาสังคมให้เกิดสันติสุข

4. เพื่อให้บัณฑิตสามารถรักษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมและตอบสนองกิจการทางพระพุทธศาสนา สังคมไทยและสังคมโลก

5. เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตให้มีทักษะชีวิต คิดอย่างมีเหตุผล กล้าเผชิญสถานการณ์ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
2
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
1
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
1
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
1.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
2
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
5.00
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.00
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
1
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
1
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
2.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
2.36
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 1.33 - - 1.33 น้อย
4 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
5 4 3.00 2.33 - 2.50 ปานกลาง
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 2.29 2.50 - 2.36 ปานกลาง
ผลการประเมิน ปานกลาง ปานกลาง - ปานกลาง ปานกลาง
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

1. ควรแสวงหาช่องทางในการเปิดหลักสูตร/พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อเป็นฐาน/ประชาสัมพันธ์หลักสูตร/ต่อยอดหลักสูตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพของอาจารย์ที่มีอยู่

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดแข็ง

- อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีศักยภาพสูง มีผลงานเป็นที่ยอมรับ

แนวทางเสริมจุดแข็ง

- ควรใช้ศักยภาพอาจารย์ในหลักสูตรในการสร้างเครือข่ายจัดการเรียนการสอนร่วมกันกับส่วนงานอื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษา โดยบูรณาการร่วมในหลักสูตรเดียวกัน/ต่างหลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนในสถาบัน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

1. ควรแสวงหาช่องทางในการเปิดหลักสูตร/พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อเป็นฐาน/ประชาสัมพันธ์หลักสูตร/ต่อยอดหลักสูตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพของอาจารย์ที่มีอยู่

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

1 หลักสูตรควรทำแผนบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะทางด้านนักศึกษา

2 หลักสูตรควรวางแผนให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการอย่างต่อเนื่อง

3 หลักสูตรควรเตรียมพร้อมในเรื่อง คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษ

4 หลักสูตรควรเข้าถึงชุมชน อาจจะทำในลักษณะเครดิตแบงค์ สะสมหน่วยกิต เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชน หรือผู้เรียนได้เข้ามาเรียนมากขึ้น

 5 หลักสูตรควรปรับปรุงในการประชาสัมพันธ์ โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น Tiktok ออนไลน์ เป็นต้น 

บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย