Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

   หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2563) เป็นหลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอนในเรือนจำ  โดยได้รับการอนุมัติและอนุญาตจากกรมราชทัณฑ์ ให้ขยายผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านพระพุทธศาสนาในเรือนจำ ตามหนังสือที่ ยธ 07081/33592 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563  มีเรือนจำพร้อมเปิดทำการจัดการเรียนการสอนจำนวน แห่ง คือ เรือนจำกลางระยอง และเรือนจำกลางบางขวาง ด้วยในปีการศึกษา 2564 มีการระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 อย่างรุนแรงส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาในเรือนจากเนื่องจากมีการตัดเชื้อดังกล่าวในกลุ่มของผู้ต้องขังและไม่สามรถทำการสอนแบบออนไลน์ได้ตามปกติเหมือนนักศึกษาทั่วไป ในกาลนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ 2558 และการประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจึงดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2564  ไว้ 5 องค์ประกอบ  7 ตัวชี้วัด ดังนี้

องค์ประกอบที่ การกำกับมาตรฐาน

          การกำกับมาตรฐานเป็นการพิจารณาจากการบริหารจัดการหลักสูตรทุกหลักสุตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาาตรฐานหลักสูตร โดยหลักสูตรระดับปริญญาตรีจะพิจารณาจากจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรต้องมีไม่ต่ำกว่า ท่าน อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ การปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดต้องไม่เกิน ปี โดยผ่านความเห็นชอบโดยสภามหาวิทยาลัยและการดำเนิการต้องเป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเินนงานเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรฯ มีผลการประเมิน ผ่าน

องค์ประกอบที่ บัณฑิต

        หลักสูตรฯ ไม่ขอรับการประเมิน  เนื่องจากไม่มีบัญฑิตจบในปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ นักศึกษา

         หลักสูตรฯให้ความสำคัญกับการประกันคุณภาพการศึกษาโโยมีการรายงานอัตราการคงอยู่ ถึงแม้จะลดลงแต่เป็นผลมาจากนักศึกษามีการพ้นโทษและออกจากเรือนจำจึงไม่สามารถเรียนต่อได้ เนื่องจากเป็นการเปิดเรียนเป็นที่ที่ 2 จึงไม่มีนักศึกษษสำเร็จการศึกษา มีการจัดทำช่องทางให้นักศึกษาได้ส่งข้อร้องเรียนผ่านสมุดให้คำปรึกษาและคณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้ดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนให้เป็นไปตามความต้องการของนักศึกษา  หลักสูตรมีผลการประเมินคุณภาพในองค์ประกอบที่ 3  คะแนนการประเมินตนเองได้ 1.33 

องค์ประกอบที่ อาจารย์

          หลักสูตร ฯ ให้ความสำคัญกับคุณภาพของอาจารย์ เนื่องจากอาจารย์เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตบัณฑิต ทั้งนี้ เพื่อให้ได้อาจารย์ที่มีคุณภาพเหมาะสม ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตรที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาหลักสูตรจึงจัดให้มีระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร ระบบการบริหารอาจารย์และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ ในองค์ประกอบนี้หลักสูตรมีคะแนนประเมินตนเองเท่ากับ 3.44

องค์ประกอยที่ สาระของรายวิชาในหลักสูตร

         คณะกรรมบริหารหลักสูตรmwหน้าที่ในการควบคุมกำกับการจัดทำรายวิชาต่าง ๆ ให้มีเนื้อหาทันสมัย ก้าวหน้าทางวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลักสูตรจึงดำเนินการในการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร และการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย  อีกทั้งมีการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3) มีการกำหนดระบบกลไกในการประเมินผู้เรียนและมีผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในองค์ประกอบนี้มีคะแนนประเมินตนเองเท่ากับ 2.75

องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนในการเรียนรู้

         หลักสูตรมีการดำเนินการด้านการเตรียมความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้มีความพร้อมทางกายภาพ เช่น ห้องเรียน  ห้องสมุด ความพร้อมด้านอุปกรณ์และสิ่งอำนวยสะดวกหรือทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น อุปรกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน หนังสือ ตำรา แบบเรียน โดยกำหนดให้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต้องมีจำนวนที่เพียงพอและมีคุณภาพพร้อมใช้งาน หลักสูตรจึงดำเนินการจัดทำโครงการผลิตเอกสารประกอบการสอนเพื่อเ็นสิ่งสนับสนุนให้กับนักศึกษา และได้มีการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ตามเกณฑ์ของการกระกันคุณภาพ ในองค์ประกอบนี้หลักสูตรมีผลการประเมินเท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับ ปานกลาง

      สรุป ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)คณะศาสนาและปรัชญาปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ย 2.58 อยู่ในระดับ ปานกลาง

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)

3) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะศาสนาและปรัชญา

2) สถานที่เปิดสอน

เรือนจำและทัณฑสถานที่มหาวิทยาลัยกำหนด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตด้านพระพุทธศาสนา มีสติปัญญา มีคุณธรรม ขัดเกลาพฤตินิสัยมีจิตใจงดงาม และสามารถแก้ไขปัญหาชีวิต

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรนี้อยู่ภายใต้พระราชกระแสรับสั่งในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีพระประสงค์ให้ผู้ต้องขังในเรือนจำ/ทัณฑสถานได้รับการศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นการขัดเกลาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังด้วยหลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นว่า หลักสูตรสาขาวิชาพระพุทธศาสนา เป็นวิทยบริการที่สามารถสร้างคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังระดับดีและดีเยี่ยมให้ได้รับการศึกษาและพัฒนาจิตของตนเองได้เป็นอย่างดี เห็นสมควรที่จะจัดทำเป็นหลักสูตรเฉพาะด้าน คือ จัดทำหลักสูตรขึ้นมาเพื่อเปิดสอนสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ/ทัณฑสถาน มหาวิทยาลัยโดยคณะศาสนาและปรัชญา จึงได้พัฒนาหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยได้รับความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ในการทำความร่วมมือร่วมกัน (MOU) ในการจัดทำหลักสูตรนี้ขึ้น

ดังวัตถุประสงค์และรูปแบบตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ได้ตระหนักถึงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านพระพุทธศาสนา และการขยายโอกาสให้แก่ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะผู้ต้องขังให้ได้ศึกษาต่อ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านพระพุทธศาสนา กล่อมเกลาจิตใจการนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์ และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนเพื่อเป็นการแก้ไข พัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเป็นการสร้างคนดีคืนสู่สังคม อันจะส่งผลให้ประเทศชาติมีความสุขต่อไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง

2 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้ด้านพระพุทธศาสนา

3 เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถประยุกต์คำสอนทางพระพุทธศาสนาในการขัดเกลาพฤตินิสัยและพัฒนาสังคม

1.4 รหัสหลักสูตร T20202150107089

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
1
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
1
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
1.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.44
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
2
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
1
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
2.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
2.58
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 1.33 - - 1.33 น้อย
4 3 3.44 - - 3.44 ดี
5 4 3.00 2.67 - 2.75 ปานกลาง
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 2.48 2.75 - 2.58 ปานกลาง
ผลการประเมิน ปานกลาง ปานกลาง - ปานกลาง ปานกลาง
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ควรมีเเผน/เเนวทางในการเเก้ปัญหา/ระบบเเละกลไกในการจัดการข้อร้องเรียน หรือผลการดำเนินที่ได้มาซึ่งข้อมูลให้ชัดเจนเเละเชื่อมโยงยิ่งขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ควรมีการรายงานผลการดำเนินงานการต่อยอดการพัฒนาอาจารย์ เช่น การอบรมสัมนาของอาจารย์นำไปใช้ประโยชน์กับหลักสูตรได้อย่างไร

ควรมีการปรับปรุงผลการดำเนินงานจากการประเมินปีการศึกษาที่เเล้ว เเละหลักสูตรควรมีเเผนพัฒนาอาจารย์ในอนาคต เพื่อครบระบบกลไกของPDCA

อาจารย์มีผลงานทางวิชาการจำนวนมาก จึงควรมีการสนับสนุนให้อาจารย์เข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ เเละมีการส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการศึกษาในระดับปริญญาเอก

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ควรมีการนำผลจากการดำเนินการเรียนการสอนในเทอมที่เเล้ว มาปรับปรุงออกเเบบรูปเเบบการเรียนการสอนโดยเน้นถึงความสำคัญของหลักสูตร เช่น รายวิชา วิธีการการสอน เเนวทางการปฏิบัติให้เข้ากับรูปเเบบของนักศึกษา เเละสถานที่ เป็นต้น 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ควรมีการเพิ่มเอกสารประกอบการสอนให้ครบทุกรายวิชา

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

ไม่มี

บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย