Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร เป็นการประกันคุณภาพการ จัดการศึกษาว่าหลักสูตรได้ดำเนินการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ระดับอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้พิจารณาองค์ประกอบที่ สำคัญ ได้แก่การกำกับมาตรฐาน บัณฑิต นักศึกษา อาจารย์ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ กระบวนการประเมินระบบประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร เป็นระบบ ประเมินตนเองของหลักสูตร และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มหาวิทยาลัยเชิญและแต่งตั้ง ประเมินผลการประเมินตนเองของหลักสูตรอีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อสะท้อน การบริหาร หลักสูตรว่าได้ดำเนินการจัดการบริหารหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพในระดับ หลักสูตรมากน้อยเพียงใด เพื่อที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับจะได้นำไปยินดีในจุดเด่นและ พัฒนาในจุดที่ควรพัฒนาทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลผลิต คือบัณฑิตที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูง ในการบริหารหลักสูตรฯ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร หรือคณะกรรมการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ส่ายสนับสนุน จะรู้และ เข้าใจบริบทที่เป็นอยู่เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมประเมินฯ ในฐานะ คนนอกหลักสูตร จะได้เสนอมุมมองผ่านการแสดงผลการประเมินทั้งเป็นคะแนน และ การให้ข้อคิดเห็นเพื่อการชื่นชมเป็นกำลังใจและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง พัฒนา ให้ดี ยิ่งขึ้นต่อไป ดังนั้น คณะกรรมการจึงได้ประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตร ตาม เกณฑ์ระดับคะแนน เกณฑ์ระดับคะแนน 4.01-5.00 = ระดับคุณภาพดีมาก 2 3.01-4.00=ระดับคุณภาพดี 2.01-3.00 = ระดับคุณภาพปานกลาง 0.01-2= ระดับคุณภาพน้อยหลักสูตรฯ ได้รับผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี (3.74) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศศ.บ. (พุทธศาสน์ศึกษา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะศาสนาและปรัชญา

2) สถานที่เปิดสอน

คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตด้านพุทธศาสน์ศึกษา เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านพระพุทธศาสนา มีปัญญาในการคิดวิเคราะห์ สามารถประยุกต์หลักพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองและสังคม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจทางพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติอย่างถูกต้อง

1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะทางเทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้ในสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษาเพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน และสร้างความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทิศทางที่ถูกต้อง

1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตนำเอาหลักการและวิธีการทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน โดยสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861110485_2069_IP

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
คณะศาสนาและปรัชญา
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.28
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.64
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.30
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.13
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.74
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.64 4.64 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.30 - - 3.30 ดี
5 4 4.00 4.17 - 4.13 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.27 4.13 4.64 3.74 ดี
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดเด่น: 

เมื่อใช้มุมมองจาก Input-Process- Output พบว่า หลักสูตรมีจุดเด่นที่ควรชื่นชมดังนี้ -องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คณาจารย์ประจำ หลักสูตร และคณาจารย์ผู้สอน มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจำนวนมาก มีผู้ดำรงตำแหน่ง 3 ทางวิชาระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลายท่านมีประสบการณ์ในการสอนในสาขาวิชามา ยาวนาน มีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่จำนวนมาก อาจารย์มีจำนวนเพียงพอต่อ การจัดการเรียนการสอน แสดงถึงความเพียงพอและความพร้อมของคณาจารย์ มีความรู้ ความสามารถ และคุณภาพของคณาจารย์ที่จะสามารถจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษา บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตาม เกณฑ์ มคอ. ได้

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น: 

บัณฑิตของหลักสูตรมีคุณภาพดีมากเพราะมีงานทำ ร้อยละร้อยในเวลาภายใน 1 ปีหลังจบการศึกษาและได้รับการประเมินคุณภาพบัณฑิตว่ามี คุณภาพในระดับดีมาก บัณฑิตมีความโดดเด่นในด้านคุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ปัญญา

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุมเท พละกำลัง ทบทวนกระบวนหรือช่องทางการรับนักศึกษามากขึ้น 

จุดที่ควรพัฒนา

1)จำนวนนักศึกษาของหลักสูตรมีจำนวนน้อยกว่าแผนที่วางไว้ใน มคอ. 2 ที่ตั้ง เป้ายหมายไว้ที่ รุ่นละ 25 รูป/คน ดังนั้นหลักสูตรฯควรทบทวนแนวปฏิบัติที่เคยใช้ในการ ประชาสัมพันธ์หลักสูตร วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง พัฒนามุ่งเป้าไปสู่การเพิ่มขึ้นของ นักศึกษา เช่น ควรเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้มากขึ้น เช่น เพจ เฟสบุค ไลน์ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ การลงพื้นที่ หรือพิจารณาการปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรสอง 4 ปริญญา เช่นทำความร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์เพื่อให้มีใบประกอบวิชาชีพครูจบออก มาแล้วสามารถสอบบรรจุเป็นครูสอนสังคมหรือพุทธศาสนาได้

2) ควรมีระบบการประเมินการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา

3)ควรกำกับติดตาม พัฒนาระบบการพัฒนานักศึกษาที่มุ่งสร้างอัตลักษณ์และทักษะ สำคัญที่หลักสูตรระบุไว้ใน มคอ. 2 กำหนดเป็นแผนปฏิบัติรายปีการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ มั่นใจว่า นักศึกษาทุกคนต้องได้รับการพัฒนาผ่านกิจกรรมต่างๆตามแผนในแต่ละชั้นปี

4) หลักสูตรฯควรพิจารณาสารสนเทศด้านการคงอยู่ของนักศึกษาในแต่ละรุ่น เพื่อ หาทางแก้ไขให้อัตราการคงอยู่ที่สูงขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

1) ควรพิจารณาการส่งเสริมให้อาจารย์มีผลงานทางวิชาการที่สามารถนำมาใช้ขอ ตำแหน่งทางวิชาการได้ เช่น เอกสารประกอบการสอน หนังสือ หรือตำรา บทความทาง วิชาการที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่สามารถนำมาใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการได้โดยอาจ เป็นการให้ทุน การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานในประเด็นนี้การให้รางวัล การประกาศ ความดีความชอบ

2) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณสมบัติของอาจารย์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร อาจารย์ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านควรมีบทความวิชาการหรือบทความวิจัยที่เผยแพร่ใน TCI กลุ่มที่ 1-2 อย่างน้อยท่านละ 1 เรื่องต่อปีปฏิทิน

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

หลักสูตรมีความทันสมัย ปรับปรุงให้ทันสมัยทุก 5 ปี ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและรายวิชาได้ออกแบบ ควบคุม กำกับการสอนเนื้อหา การ จัดการเรียนการสอนการวัดผลประเมินผล การสอบทวนผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นระบบ ดัง ปรากฏหลักฐานในเอกสาร มคอ. 2 /3/5 /7 และ สมอ. 08

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

หลักสูตรฯ ได้ให้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ให้แก่นักศึกษาอย่างเพียงพอ เช่น หอพัก ห้องสมุด สื่อการเรียนระบบออนไลน์ แพลท ฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ ฯลฯ สะท้อนความพึงพอใจของนักศึกษาจากผลการ สำรวจความพึงพอใจที่มีคะแนนสูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2563

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

แบบสัมภาษณ์นักศึกษาและผู้ปกครอง

  1. ทำไมเลือกมาเรียนที่นี่

ตอบ สนใจอยากศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา อยากรู้พิธีกรรมที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

2.เคยได้ยินชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยบ้างไหม

ตอบ ไม่เคยคะ ไม่เคยรู้ว่ามหาลัยสงฆ์จะรับนักศึกษาที่เป็นฆราวาส

3.เคยอ่านผลงานของอาจารย์เก่าของมหาวิทยาลัยไหม เช่น อ.สุชีพ, อ.สุเชาว์

ตอบ ไม่เคยคะ

4.มีปัญหาหรือพบเจอปัญหาอะไรไหม ช่วงที่เรียนออนไลน์

ตอบ ก็มีบ้างแต่ไม่มาก เพราะส่วนตัวคิดว่าการเรียนออไลน์ สะดวกกว่าการเรียนออนไซร์ ประหยัดค่าเดินทาง ประหยัดเวลาด้วย

5.มีโปรแกรมเรียนพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ ไหมหรือมีการสอนเสริมบ้างไหม

ตอบ เสาร์-อาทิตย์ไม่มีคะ ส่วนสอนเสริม อ.ส่วนมากจะสอนตามรายวิชาที่เปิดสอน อาจมีให้ไปค้นคว้าเพิ่มเติม ในเรื่องที่ทางมหาลัยเปิดอบรม หรือ มีโครงการต่าง ๆ ที่น่าสนใจหรือที่เป็นประโยชน์กับนักศึกษาอาจารย์จะแจ้งไปในไลน์สาขาเพื่อให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วม

6.พอเรียนแล้วรู้สึกว่าได้รับความรู้เพิ่มเติมขี้นไหม

ตอบ ได้ความรู้มากขึ้นในหลายๆเรื่อง ได้รู้ถึงความเป็นมาเป็นไปที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการคิดที่เป็นขั้นตอน การเรียนรู้นิสัยใจคอการอยู่ร่วมกันในห้องเรียน ได้มากกว่าการเรียนในห้อง

7.กรรมดี, กรรมชั่ว ในฐานะที่เราเรียนพระพุทธศาสนามาแล้ว เราคิดว่าอย่างไรบ้าง

ตอบ เรื่องกรรม เป็นเรื่องของการกระทำ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกระทำที่เราเคยทำไว้ การที่เราทำดี ไม่ได้แปลว่าเราจะได้ผลของการทำดีเลย มันอาจจะไปส่งผลดีในชาติหน้าก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด เราควรมั่นทำความดี ต่อให้เราจะไม่ได้ผลของความดีในชาติปัจจุบันก็ตาม

  1. มีข้อเสนอแนะกับทางหลักสูตรไหม

ตอบ มี 2 ข้อ คือ

  • ควรมีการประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้คนภายนอกได้รู้เป็นวงกว้าง
  • ควรบอกข้อแตกต่างให้คนภายนอกรู้ว่า การเรียนกับมหาวิทยาลัยปกติทั่วไปกับการเรียนกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีข้อดีอย่างไร
  1. ประทับใจอะไรที่สุดในการเรียนที่นี่

ตอบ ประทับใจอาจารย์ทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเอาใจใส่ในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับนักศึกษา และการเป็นห่วงเป็นใย เรื่องการเรียนที่มีความหลากหลายภายในห้องเรียน แต่อาจารย์ก็พยายามสอนให้นักศึกษาได้เข้าใจเหมือนกัน

  1. แหล่งค้นคว้าหาความรู้มีเพียงพอไหม

ตอบ ในยุคของการเรียนออนไลน์ การค้นหาข้อมูลไม่ได้เป็นเรื่องยาก เนื่องจากสามารถค้นหาได้ตลอดเวลา และการค้นหาได้จากหลายๆแหล่ง

ผู้ปกครอง

1.นักศึกษามาเรียนและได้อะไรบ้าง

ตอบ ได้ทักษะทางปัญญามากขึ้น คือ มีวิธีการคิดที่เป็นระบบ มีความเข้าใจโลก เวลามีปัญหาสามารถที่จะรับฟัง และพูดคุยกันได้มากขึ้น มีความมานะ ในการเรียนดีขึ้น

2.ทำไมถึงให้มาเรียนที่นี่

ตอบ เพราะตัวนักศึกษามีความสนใจในเรื่องของพระพุทธศาสนา จึงมองว่าที่นี่เป็นมหาลัยสงฆ์น่าจะตอบโจทย์กับผู้เรียน และค่าเทอมที่นี่ที่ไม่ได้สูงนัก จึงทำให้เลือกเรียนที่นี่

 

ภาพถ่าย