Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเองโดยรวมทุกองค์ประกอบ  3.49  มีคุณภาพอยู่ใน ระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง องค์ประกอบ ดังนี้

            องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย  มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ นี้ คือ ผ่าน

            องค์ประกอบที่ บัณฑิต คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต  สิรินธรราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ         มีคุณลักษณะตามมาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้ เท่ากับ 4.56

            องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต สิรินธรราชวิทยาลัย  นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.00

           องค์ประกอบที่  อาจารย์ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต สิรินธรราชวิทยาลัย  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.41

           องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.50

           องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย  มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.00

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา) ศศ.บ. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา) Bachelor of Arts (Buddist Studies for Development) B.A. (Buddist Studies for Development)

3) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้พุทธศาสตร์ พัฒนาชาติและสังคม บ่มเพาะวัฒนธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ พัฒนาชีวิตแบบพอเพียง สร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาการ ทำงานอย่างมีความสุข มั่นคงและยั่งยืน

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านพุทธศาสตร์ในมิติการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในการวางแผนพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ในองค์กรด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ และมีภาวะผู้นำในการนำความรู้ไปบูรณาการกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามแนวพุทธศาสตร์
  3. เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 ด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864002596

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.11
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.56
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.22
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.41
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.49
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.56 4.56 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.41 - - 3.41 ดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 13 3.17 3.50 4.56 3.49 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น

-ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจในบัณฑิตของหลักสูตร

- บัณฑิตในหลักสูตรได้สนองงานคณะสงฆ์

โอกาสในการพัฒนา

- ควรนำเอาจุดอ่อนในส่วนของการประเมินด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี มาวิเคราะห์และพัฒนาต่อไป

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
  • การนำระบบการศึกษาแบบการสะสมหน่วยกิตการเรียนรู้หรือCredit Bank มาใช้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนมากขึ้น
  • เพิ่มช่องทางการเรียนการสอนทั้ง online และ onsite โดยสามารถให้นักศึกษาหรือผู้ที่สนใจได้มีสิทธิ์เลือกช่องทางได้เอง
  • ควรเพิ่มการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อมารองรับในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  • ฝึกทักษะในการสรุปใจความสำคัญ
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น

- อาจารย์ในหลักสูตรมีผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก

โอกาสในการพัฒนา

- อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรควรพัฒนาในการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

-อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรควรนำผลงานทางวิชาการมาพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
  • สร้างกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านการพัฒนาให้แก่นักศึกษา
  • สร้างกระบวนการหรือโมเดลในรายวิชาที่มีบูรณาการครบทั้ง 3 ด้าน (ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม)
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

- มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ด้านหนังสือหรือการค้นคว้าเพียงพอต่อนักศึกษา

โอกาสในการพัฒนา

- พัฒนาระบบสัญญานอินเตอเน็ต ไวไฟ ให้เสถียรมากขึ้น

- ควรเพิ่มช่องทางการนำเสนอสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยการเพิ่มลิงค์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ตลอดถึงหนังสือที่เป็นเชิงประยุกต์ใช้และนำไปพัฒนา

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน

ทำไมถึงมาเรียนหลักสูตรพุทะศาสตร์เพื่อการพัฒนา

  • ชอบหลักธรรมคำสอนและสาขาวิชานี่อยู่แล้ว

หลังจากที่ได้เข้ามาเรียนในสาขาวิชารู้สึกอ่างไร

  • รู้สึกดีใจ ภูมิใจที่ได้เรียน อาจารย์ผู้สอนถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

ในเรื่องของการเดินทางมาเรียนมีปัญหาอะไรไหม

  • ไม่มีปัญหาเลย เนื่องจากอยู่หอพักของมหาวิทยาลัย

ในปีที่ผ่านมาเรียนเป็นอย่างไรบ้าง

  • ราบรื่นดี เพราะการสอนของอาจารย์ในช่วงของการเรียนออนไลน์เน้นให้ทำรายงาน การนำเสนองาน การยกตัวอย่างเนื้อหาพระไตรปิฎกมาวิเคราะห์

มาเรียนที่นี่คุ้มค่ากับค่าเทอมไหมฃ

  • คุ้มค่ามาก และได้ความรู้มากด้วยเช่นกัน

ตั้งแต่ปี 1-4 มีข้อเสนอแนะหรือปรับปรุงพัฒนามหาวิทยาลัยไหม

  • ไม่มีเลย เพราะการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยดีเยี่ยมอยู่แล้ว

ศิษย์เก่า

ท่านจะเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยไหม

  • เรียนแต่จะต่อปีหน้า เพราะว่าขั้นตอนในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยช้ามากทำให้ศึกษาต่อเนื่องไม่ทัน

ตลอด 4 ปีที่เรียนในสาขาวิชานี่คุ้มค่าไหม

  • คุ้มค่า อาจารย์ทุกคนเป็นกันเองดูแลนักศึกษาทุกคนเป็นอย่างดี เลยทำให้เรารู้สึกว่าเรียนแบบสบายใจ

สัญญาณไวไฟมีปัญหาไหม

  • มีมาก เข้าไม่ค่อยได้เลยจึงทำให้ไม่ค่อยได้ใช่ไวไฟของมหาวิทยาลัย

ทำไมมีผู้สนใจเข้ามาเรียนที่สาขาวิชาน้อย

  • น่าจะเป็นเพราะขาดการประชาสัมพันธ์ และการเผยแพร่น้อย

ผู้ใช้บัณฑิต

มีนักศึกษาที่จบจากหลักสูตรไปปฏิบัติศาสนกิจไหม

  • มี โดยให้นักศึกษามีหน้าที่ในการดูแลโบสถ์และต้อนรับญาติโยม

ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสจุดเน้นของสาขานี้คืออะไร

  • มีองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนามากกว่าสาขาอื่นๆ
ภาพถ่าย

1_172_123_114_55_46_57_3