Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

  หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2564)  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตศรีล้านช้าง ฉบับนี้  ได้ดำเนินการจัดทำรายงานข้อมูลเฉพาะในปีการศึกษา 2564   และเมื่อแยกพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ มีผลการประเมินทั้ง 6 องค์ประกอบ  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

               

    องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด  โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน

                องค์ประกอบที่ บัณฑิต หลักสูตร ฯ ไม่ขอรับการประเมิน เป็นหลักสูตรใหม่ปี 2564  เนื่องจากยังไม่มีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2564 

              องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา  หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการรับนักศึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง

                  องค์ประกอบที่ อาจารย์  หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ด้านคุณภาพอาจารย์ และด้านผลที่เกิดกับอาจารย์ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้ โดยคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.97 ระดับคุณภาพปานกลาง 

                  องค์ประกอบที่ 5  หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน  หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสาระของรายวิชาในหลักสูตร  ด้านการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน  ด้านการประเมินผู้เรียน และด้านผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง

                องค์ประกอบที่ 6  สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง  

              รวมผลการประเมินตนเองทุกตัวบ่งชี้ในองค์ประกอบที่ 2-6 โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.99 ระดับคุณภาพปานกลาง

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

3) หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการและการวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ที่สัมพันธ์กับด้านพุทธศาสตร์ และศาสตร์องค์ความรู้อื่น ๆ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณภาพระดับสูง และมีคุณลักษณะทางด้านต่าง ๆ ที่ดี มีภาวะผู้นำในทางด้านการเมืองการปกครอง  

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นนักวิชาการ นักวิจัย และผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในการบูรณาการวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ด้านพุทธศาสตร์ และศาสตร์องค์ความรู้อื่นๆ ได้อย่างดี เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณภาพ และคุณลักษณะที่ดี มีภาวะผู้นำในทางด้านการเมืองการปกครอง 

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อพัฒนานักวิชาการและนักวิจัยชั้นสูงทางด้านรัฐศาสตร์

    1. เพื่อพัฒนานักวิชาการและนักวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ที่สัมพันธ์กับพุทธศาสตร์และศาสตร์องค์ความรู้อื่น ๆ สามารถพัฒนาองค์ความรู้และสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายและทิศทางในการพัฒนาประเทศ โดยการเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

   2. เพื่อพัฒนานักวิชาการและนักวิจัยทางรัฐศาสตร์ที่สัมพันธ์กับพุทธศาสตร์และศาสตร์องค์ความรู้
อื่น ๆ โดยมีความรู้ด้านวิชาการรัฐศาสตร์ในแนวทางพุทธศาสนาเป็นส่วนประกอบสำคัญ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปสู่การคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ ในการชี้แนะและการแก้ไขปัญหาสำคัญทางการเมืองการปกครองทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก

     3. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นนักวิชาการ นักวิจัยและผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถบูรณาการวิชาการด้านรัฐศาสตร์ พุทธศาสตร์ และศาสตร์องค์ความรู้อื่น ๆ เป็นทรัพยากรที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณภาพระดับสูง และมีภาวะผู้นำในทางด้านการเมืองการปกครอง 

1.4 รหัสหลักสูตร 25641868002647

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2564)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของ

อาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.92
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.97
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
2
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
2.99
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 2.97 - - 2.97 ปานกลาง
5 4 3.00 3.00 - 3.00 ปานกลาง
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 2.99 3.00 - 2.99 ปานกลาง
ผลการประเมิน ปานกลาง ปานกลาง - ปานกลาง ปานกลาง
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

ควรมีการเขียรายละเอียดวุฒิการศึกษา เเละผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ชัดเจน

ควรมีระบบเเละกลไกในการวางเเผนในอนาคตของหลักสูตร

บทความวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรควรมีการทำร่วมกับนักศึกษา หรืออาจารย์ทำผลงานร่วมกับนักศึกาษา

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ควรมีการรายงานผลเชิงตัวเลขนักศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

ควรมีเอกสารโครงการต่างๆที่จัดให้นักศึกษาทั้งโครงการรวม เเละโครงการของทางหลักสูตรเองเเนบเพิ่มเติม

ควรมีการรายงานระบบเเละกลไล Flowchart ในการรับนักศึกษา การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา การกำกับติดตามวิทยานิพนธ์ เเละการจัดกิจกรรมเพื่ิอพัฒนานักศึกษาต่างๆ

ควรมีการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่ลาออกกลางคัน เพื่อเป็นเเนวโน้มในการพัฒนาการอัตนาการคงอยู่ของนักศึกษา

ควรมรการอธิบายรายละเอียดอัตราการคงอยู่ เเละมีการอธิบายเหตุผลในการลาออกของนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ควรส่งเสริมพัฒนาอาจารย์ให้เกิดการ side tation 

ควรมีการทำIDP ให้เเก่อาจารย์ทุกท่าน เพื่อการพัฒนา

ควรมีการจัดสรร สรรหาอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อเเบ่งภาระงานที่ปรึกษา

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ควรมีการทวนสอบผลสัมฤทธ์ให้ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด

ควรมีการรายงานระบบเเละกลไกการกำกับติดตามวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ระบบการเเต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา

ควรมีเเผนการปรับปรุงหลักสูตร หรือปรับปรุงรายวิชาในอนาคต

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ควรมีการเขียนรายงานเเสดงถึงความสามารถในการจัดสรรสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรเอง เเละควรมีระบบเเละกลไลPDCAที่ชัดเจน

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย