Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

 

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยในรอบปีการศึกษา 2564 คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.97 มีคุณภาพระดับปานกลาง

 เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ  มีผลการประเมินทั้ง 6 องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สกอ.)  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ไม่รับการประเมิน เนื่องจากยังไม่มีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการรับนักศึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.33 ระดับคุณภาพปานกลาง

องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์หลักสูตร ฯ  ได้ดำเนินงานด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ด้านคุณภาพอาจารย์และด้านผลที่เกิดกับอาจารย์  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ3.24 ระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสาระของรายวิชาในหลักสูตร ด้านการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการประเมินผู้เรียน และด้านผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 ระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตร ฯ  ได้ดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.00  ระดับคุณภาพปานกลาง

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)

3) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล ซึ่งมีปรัชญา คือ “พัฒนาผู้นำทางการศึกษาให้มีคุณภาพและเป็นสากล เปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรมตามแนวพุทธศาสนา” มุ่งผลิตบัณฑิตทางการบริหารการศึกษาให้เป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความสามารถในการค้นคว้าวิจัยเพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์หรือมีความสำคัญในแง่ของการพัฒนางาน สังคม และประเทศ ให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้งให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อองค์ความรู้คู่คุณธรรม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล ซึ่งมีปรัชญา คือ “พัฒนาผู้นำทางการศึกษาให้มีคุณภาพและเป็นสากล เปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรมตามแนวพุทธศาสนา” มุ่งผลิตบัณฑิตทางการบริหารการศึกษาให้เป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความสามารถในการค้นคว้าวิจัยเพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์หรือมีความสำคัญในแง่ของการพัฒนางาน สังคม และประเทศ ให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้งให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อองค์ความรู้คู่คุณธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตระดับมหาบัณฑิตให้มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ดังนี้

1) มีภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาหรือหลักธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารการศึกษา รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด

2) มีความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางการบริหารการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมภูมิภาค และสังคมโลก ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง แนวโน้ม และนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา

3) มีความเข้าใจทฤษฎี ปรากฏการณ์ การปฏิบัติ การแก้ไขปัญหา และการวิจัย โดยใช้ทักษะการคิดที่เน้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทั้งจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนและจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

4) มีความรับผิดชอบในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามอย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อคุณภาพของผลงานการเรียนรู้ทั้งในเชิงวิชาการและเชิงวิชาชีพ

5) มีความสามารถทำวิจัยในประเด็นที่ท้าทาย มีความลุ่มลึกในการทำวิจัยระดับดี มีการจัดการกับปัญหาเชิงจริยธรรม สื่อความคิดและข้อสรุปจากผลการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
1
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
2.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.72
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.24
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.25
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
2.97
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 2.33 - - 2.33 ปานกลาง
4 3 3.24 - - 3.24 ดี
5 4 3.00 3.33 - 3.25 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 2.82 3.25 - 2.97 ปานกลาง
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี - ปานกลาง ปานกลาง
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
-
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
-
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
-
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

จุดเด่น

  1. มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมหาวิทยาลัย ในการนำธรรมะมาสอดแทรกกับหลักสูตรและการเรียนการสอน
  2. ค่าเล่าเรียนไม่แพง แต่ได้มาตรฐาน

จุดที่ควรพัฒนา

  1. ควรส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่าน มีผลงานทุกท่าน และให้มีการได้รับการอ้างอิงทุกคน
  2. การบริการของเจ้าหน้าที่ยังไม่ชัดเจน
    การสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถเรียนได้ทั้งฆารวาสและบรรพชิต
    ควรปรับกระบวนการการรับนักศึกษาให้มีความหลากหลายเพื่อให้การรับนักศึกษาไปเป็นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
  3. หลักสูตรควรกำหนดปฏิทินกิจกรรมต่างๆ ล่วงหน้าเพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมตัวและให้ควรนักศึกษามีส่วนร่วมในการเลือก วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมเสริมหลักสูตร
    หลักสูตรควรดำเนินการจัดทำแผนบริหารพัฒนารายบุคคลอาจารย์รายบุคคล (IDP) โดยกำหนดให้พัฒนา ด้านวิชาการ เช่น ทำวิจัย ตีพิมพ์บทความวิชาการ/วิจัย ในฐานTCI หรือในฐานระดับนานาชาติ scopus ในด้านการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ทุกท่านต้องดำเนินการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น
  4. หลักสูตรควรศึกษาเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรปี 2565 เพื่อเตรียมตัวรองรับในอนาคต
บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบันที่ให้สัมภาษณ์ 

นายวุฒิชัย ดานะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวฝาย
นางกัญญาณัฐ สิมสวัสดิ์

นายวุฒิชัย ดานะ

น.ส.วิลาวรรณ์ โสภารักษ์

นางนฤมล แจ้งสว่าง 

หตุผลที่เลือกเรียนหลักสูตรนี้ของมหาวิทยาลัยแห่งนั้นของท่านมีเหตุผลอย่างไรบ้าง
1.  มหาวิทยาลัยใกล้บ้านสะดวกในการเดินทางและมีความมั่นใจในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยตามที่ได้พบในรายชื่อของคณาจารย์อาจารย์ประจำหลักสูตรแซ็งทีไรที่นักศึกษาจะเข้าไปและมีความมั่นคงและมีศักยภาพ
2. เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเอกลักษณ์เป็นส่วนตัวที่ไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยทั่วไปเริ่มที่แห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์และอยู่ใกล้บ้านเป็นเรื่องดีในส่วนของค่าใช้จ่ายและการเดินทาง
นักศึกษาป.โท
3. มหาวิทยาลัยและคณะอาจารย์ทุกท่านทำให้มีความรู้คู่กับคุณธรรมในการนอกเหนือจากแหล่งความรู้วิชาการที่ได้รับจึงเป็นเหตุผลในการเลือกศึกษาต่อสถานที่แห่งนี้
มุมมองของนักศึกษาในภาพมีลักษณะสิ่งที่หวังอยากแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อเติมเต็มให้กับหลักสูตรในเรื่องใดบ้าง
1. อยากให้มีการจัดรายละเอียดของหลักสูตรให้มีความครอบคลุมในส่วนของเนื้อหาต่างๆในรายละเอียดหลักสูตรหรือมีการดำเนินการจัดแจงตามปฏิทินเพื่อให้นักศึกษาได้ทราบล่วงหน้าว่าจะมีกิจกรรมอย่างไรในการจัดให้นักศึกษา
2. อยากให้มีการจัดการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยวิทยานิพนธ์ให้เพียงพอต่อระดับนักศึกษาซึ่งจำนวนนักศึกษาและอาจารย์ไม่เพียงพอ
3. อยากให้มีการเพิ่มเติมในส่วนของการศึกษาดูงานสำหรับนักศึกษาปอเอกซึ่งมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก
4. อยากให้มีการจัดแบบเคส Study ให้เห็นภาพจริงในฐานะของผู้บริหาร หรือการศึกษาดูงานในส่วนขององค์ความรู้ของผู้บริหาร
5. อยากให้มีการวางแผนหรือแจ้งปฏิทินในการดำเนินงานให้นักศึกษาได้ทราบล่วงหน้า และในส่วนของค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย
จุดเด่นของหลักสูตรและตุดที่ควรพัฒนาหลักของหลักสูตร คืออะไร
1. เนื่องจากว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีกิจกรรมที่มีส่วนช่วยเป็นหลักพื้นฐานในการดำเนินชีวิตเกี่ยวกับหลักธรรมะซึ่งเป็นจุดเด่นจากสถานที่อื่นๆ
2. ซึ่งมีหลักสูตรที่มีการบูรณาการในส่วนของหลักธรรมซึ่งเป็นจุดเด่นมาก ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
3. การดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดของคณาจารย์ ซึ่งคณาจารย์ให้ความสำคัญในเรื่องของการให้คำปรึกษาในการทำดุษฎีนิพนธ์
จุดที่ควรพัฒนา
1. ควรมีการจัดเวทีเพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัย ในเรื่องของกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน
สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของหลักสูตรมีความเพียงพอต่อนักศึกษา มีความเพียงพอต่อการศึกษา

ในส่วนของเรื่องเทคโนโลยีในการศึกษา ของหลักสูตร มีปัยหาอย่างไร

2. ในภาพรวม มหาวิทยาลัยจัดให้มีการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยเหมาะสม แต่มีปัญหาในเรื่องของระบบเครื่องเสียง สภาพความพร้อมใช้งานในห้องเรียนยังมีปัญหาอยู่บ้าง

3. ในเรื่องของด้านภาษาอังกฤษ ทางหลักสุตรมีการเตรียมตัวในด้านการให้การอบรมแก่นักศึกษา อยากให้มีการจัดอบรมอยู่บ่อยๆ

4. มหาวิทยาลัยควรสร้างบริบท ให้ไม่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยทั่วไป ไม่ให้คิดว่าเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะสงฆ์

 

 

ภาพถ่าย