Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

ากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ปีการศึกษา 2564  ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี)ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.94  มีระดับคุณภาพ ดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน  หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ นี้ คือ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 

องค์ประกอบที่ 2  บัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและอาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ ไม่รับการประเมิน 

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ต้องให้ความสำคัญ กับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษา มีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองใจองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ  3.67 อยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์  หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 3.78 อยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน  หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มีการกำกับการบริหารหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.25 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง มีการสนับสนุนให้นักศึกษา สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ. การสอนสังคมศึกษา)

3) สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในด้านการสอน ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชาสังคมศึกษาและสอนศีลธรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลิตบัณฑิตที่มีปรีชาสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครู

2) ความสำคัญของหลักสูตร

1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทางด้านการสอนสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณสำหรับครู

2. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม บูรณาการสังคมศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. มีความรู้ความเข้าใจด้านการสอนพระพุทธศาสนาและการสอนศีลธรรม สามารถประยุกต์ใช้การสอนสังคมศึกษาร่วมกับพุทธวิทยาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีความรู้ความสามารถและทักษะการสอนสังคมศึกษา เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการจัดการเรียนการสอน
  3. มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพครู มีศักยภาพในการพัฒนางานในหน้าที่ครู สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลายอย่างเหมาะสม
  4. เป็นผู้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000986

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.78
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.25
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.94
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 3.78 - - 3.78 ดี
5 4 4.00 4.33 - 4.25 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 11 3.76 4.25 - 3.94 ดี
ผลการประเมิน ดี ดีมาก - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดเด่น

-          อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ครบ 5 ท่าน มีการคงอยู่ครบและมีผลงานทางวิชาการมากกว่า 1 เรื่อง

โอกาสในการพัฒนา

-

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเด่น

- หลักสูตรมีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและส่งเสริมทักษะการศึกษาในศตวรรษที่ 21

โอกาสในการพัฒนา

- ส่งเสริมการประกวดแข่งขันด้านวิชาการไปสู่ระดับชาติ

- ส่งเสริมให้มีการจัดอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น

- หลักสูตรมีระบบและกลไกในการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้มีผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง

โอกาสในการพัฒนา

- ควรมีการวางแผนร่วมกับเครือข่ายทางวิชาการกับคณาจารย์ด้านการสอนสังคมศึกษาเพื่อหาแนงวทางในการผลิตผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไป

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดเด่น

- มีการปรับปรุงสาระรายวิชาและกิจกรรมในหลักสูตรให้ทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

- มีการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ หนังสือ ตำรา เอกสารการสอนในระบบออนไลน์

โอกาสในการพัฒนา

- มีการถอดบทเรียนโดยสรุปเป็นแนวปฏิบัติที่ดีแล้วนำไปเผยแผ่ให้กับมหาวิทยาลัยในเครือข่ายเพื่อนำไปใช้

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน

ความพึงพอใจในการบริหารจัดการของหลักสูตรในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างมาสัก 1 ด้าน

  • การออกพื้นที่ในการอบรมจิตอาสามีการจัดตั้งชมรมจิตอาสา เพื่อช่วยเหลือในด้านความเป็นอยู่สุขอนามัยในท้องถิ่น

กิจกรรมเฟสบุ๊คไลฟ์ทำให้นักศึกษาแสดงออกซึ่งหลักสูตรจะมีรายการเป็นของตัวเองและให้นักศึกษาออกไปแสดงความสามารถในไลฟ์

นำมาปรับใช้ในรายวิชาใด

  • รายวิชาสังคมวิทยา และจิตวิทยา

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพียงพอไหม

  • เพียงพอ ซึ่งในยุคโควิคได้มีการเรียนออนไลน์ผ่าน Microsoft Teams ทำให้มีความสะดวกในด้านต่างๆมากขึ้น เช่น ด้านการเรียน การส่งงานและชิ้นงานต่างๆของนักศึกษา

อยากให้หลักสูตรมีการพัฒนาในด้านไหนบ้างหรืออยากได้อะไรเพิ่มเติมไหม

  • อยากให้มีการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพื่อจำนำไปต่อยอดในการสอบหรือการทำงานต่อไป
ภาพถ่าย

1_182_135_5