Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.33 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

            องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของหลักสูตร 

            องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย  - ไม่ขอรับการประเมิน - เนื่องจากนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

            องค์ประกอบที่ นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มีการประเมินองค์ประกอบที่ 3 ครบทั้ง 3 ตัวบ่งชี้ ได้ค่าเฉลี่ยทุกตัวบ่งชี้เท่ากับ 3.33 อยู่ในเกณฑ์ระดับคุณภาพดี

            องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 ได้คะแนะเฉลี่ยทุกตัวบ่งชี้เท่ากับ 2.89 อยู่ในเกณฑ์ระดับคุณภาพปานกลาง

            องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 ได้คะแนนเฉลี่ยทุกตัวบ่งชี้เท่ากับ 3.50 อยู่ในเกณฑ์ระดับคุณภาพดี

           องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 ได้คะแนนเท่ากับ 4.00 อยู่ในเกณฑ์ระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาไทย)

3) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีล้านช้าง

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง อำเภอเมือง จังหวัดเลย

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถจัดการศึกษาด้านภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ โดยบูรณาการความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและมีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับผู้เรียน สภาพสังคม วัฒนธรรมและวิถีการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้สรรพวิชาอื่น ๆ อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

1. บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสอนภาษาไทย และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสามารถบูรณาการปรับเปลี่ยนหลักแนวคิดและทฤษฎีการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายตามสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา

2. บัณฑิตมีทักษะการสอนภาษาไทย และสื่อสารภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีความรู้ภาษาไทยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ใช้กับการจัดเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม

3. บัณฑิตมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา และความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม สามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนางานทางวิชาชีพให้ก้าวหน้าสู่ระดับชาติและนานาชาติ

4. บัณฑิตมีความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียน ประเมินผลทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพด้านการทํางานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000661

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.89
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.33
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 2.89 - - 2.89 ปานกลาง
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 11 3.10 3.75 - 3.33 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

การปรับปรุงหลักสูตรควรมีการสำรวจ/กำกับติดตาม ความต้องการของโรงเรียน สถานศึกษา สถานที่ฝึกสอนตามสถานการณ์ปัจจุบัน

ควรมีการศึกษา มคอ.1 เพื่อเป็นเเนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรที่ถูกต้องในอนาคต

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ควรมีเเนวทางในการสร้างเครือข่ายสถานศึกษาในพื้นที่ MOU เเละประชาสัมพันธ์หลักสูตรตามพื้นที่โดยการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการต่างๆ เช่น เทศบาล อบต อบจ เป็นต้น

ควรมีเเนวทางการประชาสัมพันธ์ไปต่างประเทศ เช่น ลาว เพื่อเป็นการขยายเครือข่ายการรับนักศึกษาที่กว้างขึ้น

ควรมีการปรับการประชาสัมพันธ์ให้อยู่ในรูปเเบบสัมยใหม่ตามสถานการณ์

ควรมีการพิจารณาการรับนักศึกษาใน มคอ.2 ตามความเหมาะสมเเละความสามารถของหลักสูตร

การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาควรพิจารณาจุดเด่นของหลักสูตรตามลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เเละควรมีความร่วมมือกับสถานศึกษาอื่นๆ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ผู้บริหารควรมีนโยบายในการบรรจุอาจารย์ สบับสุนงบประมาณ เเละสร้างขวัญกำลังใจเเก่อาจารย์ เพื่อการบริหารหลักสูตรที่ยั่งยืน

ควรมีการสนับสนุนการเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการของอาจารย์ เเละส่งเสริมการศึกษาที่สูงขึ้นเพื่อพัฒนาตนเองเเละหลักสูตร 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ควรมีการฝึกสอนทุกชั้นปีเพื่อฝึกประสบการณ์การสอนให้นักศึกษาตั้งเเต่ขั้นพื้นฐาน

ควรมีรายละเรียนการปรับรายวิชาที่ทันสมัย เช่น เนื้อหารายวิชาที่ทันสมัย การใช้ภาษาทีี่ถูกต้อง วิธีการเรียนการสอนOnlineตามสถานการณ์ปัจจุบันที่ทันสมัย เเละการประเมินผลโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือกรรมการภายนอกมาวิพากษ์ มคอ.3 เพื่อการพัฒนาของหลักสูตร 

ควรมีการบูรราการรายวิชาครบทุกด้านกับชุมชน ทำMOU เพื่อบูรราการในหลายด้านในกิจกรรมเดียว

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ควรมีการทำMOUกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อเพิ่มช่องทางสิ่งสนับสนุนให้เเก่นักศึกษาเเละอาจารย์ เช่น Ebook text หรืองานวิจัยต่างๆ ที่สามารถใช้ร่วมกันกับมหาวิทยาลัยอื่นได้

ควรมีการทำความร่วมมือกับสถานศึกษา โรงเรียน สถานฝึกสอนต่างๆเพื่อร่วมกันสนับสนุนการเรียนรู้ให้เเก่นักศึกษา

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

นักศึกษา ปัจจุบันชั้นปีที่3

สาเหตุที่มาเรียน- หลักสูตรตรงตามความต้องการ ค่าเทอมไม่เเพง เเละอยากประกอบอาชีพครู

ข้อดีข้อเสีย- การเข้าสังคมที่ดี สังเกตุการสอนปฏิบัติการสอนได้ประสบการณ์ที่ดี เเละอาจารย์เป็นกันเองเอาใจใส่ ใส่ใจปรึกษาปัญหาต่างๆได้

ความมั่นใจหลักสูตร- มีความมั่นใจ รักเด็ก อยากสอนหนังสือ มีใจสู้ในการสอน

โรงเรียนที่ไปสังเกตุการมีความพร้อมหรือไม่- มีความพร้อมในการสอนเเบบในห้องเรียน เเละสอนเเบบOnline มีการช่วยทำสื่อการสอนให้กับครูที่ปรึกษา เเละนัดนักเรียนมารับเอกสารที่โรงเรียน

จุดที่ควรพัฒนา- เรื่องการสอน ยังไม่เต็มที่ เพราะมีทั้งเเบบห้องเรียนเเละเรียนOnline ต้องเตรียมการสอนเเบบห้องเรียนให้มั่นใจมากกว่านี้ 

เเนะนำให้รุ่นน้องมาเรียน- ค่าใช้จ่ายในการเรียนไม่สูงสามารถเป็นครูได้ มีกิจกรรมเสริมทักษะต่างๆ ร่วมเเก่สังคมให้เเก่นักศึกษา กิจกรรมที่สามารถหารายได้เพิ่มเติมได้

ความภูมิใจในมหาวิทยาลัย- บรรยากาศความอบอุ่นของมหาวิทยาลัย รุ่นพี่อาจารย์ให้การต้อนรับตั้งเเต่เเรก มีความเป็นครอบครัว มีทุนการศึกษาค่าเทอมของมหาวิทยาลัยเเละอาจารย์สามารถหาทุนการศึกษาอื่นๆได้

มิติของการเรียนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์- การเรียนการสอนเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไปเเต่มีการวางตัว มารยาทในสังคม คุณธรรมจริยธรรมที่ได้จากการเรียนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์

 

 

ภาพถ่าย