Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช  ได้คะแนนการประเมินตนเองอยู่ในระดับ 3.14 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี มีรายละเอียดผลการดำเนินงานดังนี้

              องค์ประกอบที่ 1  การกำกับมาตรฐาน ผ่าน การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

              องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ได้คะแนน ไม่รับการประเมิน

              องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ได้คะแนน 3.00 อยู่ในระดับคุณภาพปานกลาง

              องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ ได้คะแนน 2.83 อยู่ในระดับคุณภาพปานกลาง

              องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน 3.50 อยู่ในระดับคุณภาพดี

             องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน 3.00  อยู่ในระดับคุณภาพปานกลาง

             ผลการประเมิน หลักสูตร มีคะแนน  3.14 ระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (โท)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

"พัฒนาตนเอง สังคม ตามแนวพระพุทธศาสนาให้มีวิชชาและจรณะ"

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระบบเพราะต้องการ พัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่คุณธรรม สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทาง วิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในหลักคำสอนพระพุทธศาสนา เพื่อมาใช้ในการพัฒนา ตนเอง ชุมชน และสังคม

2. ผลิตบัณฑิตให้มีทักษะทางการวิจัยด้านพระพุทธศาสนาและการพัฒนา

3. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมและจริยธรรมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

1.4 รหัสหลักสูตร 25641866002228

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2564)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.50
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.83
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.14
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 2.83 - - 2.83 ปานกลาง
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 2.93 3.50 - 3.14 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

หลักสูตรควรมีการเขียนบรรณานุกรม ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร  เเละอาจารย์ผู้สอน เเบบAPA

ควรมีการพิจารณารายละเอียดการเขียนผลงานทางวิชาการ เเละวุฒิการศึกษาของอาจารย์

ควรมีการเขียผลการดำเนินงานในข้อ5-9 เพื่อเเสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานในปัจจุบัน เเละผผนของหลักสูตรในอนาคต

หลักสูตรควรพิจารณาการทำวิทยานิพนธ์เเบบ เเผน ก 2 เพื่อเป็นเเนวทางในการพัฒนาอาจารย์ในอาจเปิดหลักสูตรปริญญาเอก

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

การรับนักศึกษาควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้มีความหลากหลายเพื่อกลุ่มเป้าปมายที่เพิ่มขึ้น

ควรมีการปรับกลยุทธ์ทางการเรียนการสอน เช่น การเรียน Onsite สลับOnline การเรียนสลับการทำกิจกรรมลงพื้นที่ ทำMOU เพื่อเป็นการเพิ่มกลุ่มนักศึกษา เเละสร้างวิธีการเรียนการสอนที่หลากหลาย

หลักสูตรควรมีางรายวิชาที่เหมาะสมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเเละเป็นพื้นฐานในการเรียน เช่น วิชาระเบียบวิธีวิจัยในเทอมเเรก เพื่อให้นักศึกาามีเเนวทางในการทำวิจัยเเละได้หัวข้อวิทยานิพนธ์ เป็นต้น

การจัดการเรียนการสอนควรมีการบูรณาการกับชุมชน เพื่อเป็นข้อมูล/เเนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ พัฒนาสภาพสังคม เศรษฐกิจ การพัฒนาเชิงท่องเที่ยวกับวัดในท้องถิ่น

หลักสูตรควรมีการวางเเผนการรับ เเผนการเรียนการสอน เเละวางเเผนให้มีการกำกับติดตามนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาภายใน 2 ปี เพือสะท้อนถึงคุณภาพของหลักสูตร

หลักสูตรควรนำปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเเรกเข้า การรับนักศึกษามาสร้างโครงการ/กิจกรรม/ทักษะที่จำเป็นในการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา เช่น ภาษา การใช้สื่ออิเล็กทรอนิก พื้นฐานงานวิจัย เป็นต้น

การจัดโครงการ/กิจกรรม ควรมีรายละเอียดในการพัฒนานักศึกษาในทักษะต่างๆ ทั้ง4ด้าน เเละมีการประเมิน Outcome เพื่อเป็นเเนวทางในการวางเเผนพัฒนากิจกรรมนักศึกษาให้ชัดเจน

หลักสูตรควรมีการสำรวจสาเหตุกรลาออกกลางคันของนักศึกษา เเละเขียนรายงานสาเหตุ เพื่อหาเเนวทางการเเก้ไชปัญหา

สนับสนุนคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นจุดเด่นจุดขายของหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

หลักสูตรควรมีการวางเเผนการบริหารอาจารย์ โดยยึดพันธกิจในการทำงาน4ด้าน เเละเเบ่งภาระงานให้ชัดเจน เเละมีการประเมินตามตัวชี้วัดในการบริหารงานในเเต่ละด้าน เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานเเละเเนวทางในการพัฒนาเพื่อให้บรรลุตัวชี้วัดทุกด้าน

หลักจากที่อาจารย์ไปพัฒนาโดยการเข้าอบรมโครงการ/กิจกรรมต่างๆ สามารถนำผลลัพธ์มาต่อยอดในการทำงาน ทำการเรียนการสอนทำผลงานทางวิชาการ หรือการเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการได้อย่างไร

การพัฒนาคุณภาพอาจารย์ควรมีเเผนIPD ในรายบุคลที่เป็นไปตามลำดับ เช่น การเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ การทำผลงานทางวิชาการที่อยู่ในฐานที่สูงขึ้น เป็นต้น

ควรมีการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการของอาจารย์เพิ่มเติม เเละควรมีการตีพิมพ์ในหลายภูมิภาค ข้ามสถาบัน สร้างเครือข่าย ไปจนถึงตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

หลักสูตรควรมีการรายงานด้านการเรียนการสอนตามเอกลักษณ์ของหลักสูตรเเนวคิดที่ชัดเจนของหลักสูตร เพื่อการพัฒนา เช่น Active learning / ฺBrainstorm เป็นต้น เเละสามารถกำหนดทิศทางในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่สอดคลองกับเป้าหมายของหลักสูตร

หลักสูตรควรมีการวางการเรียนการสอนตามลำดับขั้นตอน ความสำคัญของเนื้อหา เเละโครงการ/กิจกรรมต่างๆมาเสริมทักษะให้นักศึกษา

ควรมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายเเนวทางการทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้ตรงตามสาย เเละบริบทของหลักสูตร

หลักสูตรควรมีการใช้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในการทวนสอบผลสัมฤทธ์ิ์ เเละนำผลการทวนสอบมาใช้ปรับปรุงเเนวทางการเรียนการสอน

หลักสูตรควรมีการวางเเผนใช้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีคุณวุฒิเเละประสบการณ์ มาสอบวิทยานิพนธ์

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรควรมีการสนับสนุนเเหล่งข้อมูลในการสืบค้นเพิ่มเติม ทำMOUกับมหาวิทยาลัย หรือองค์กรอื่นๆที่สามารถใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันได้

หลักสูตรควรมีการสร้างเครือข่ายเเหล่งเรียนรู้ ร่วมกับท้องถิ่นในด้านการพัฒนาต่างๆ 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย