Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 4.12  มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

        องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสุตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

        องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.8มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

        องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.67 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

          องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้ เท่ากับ 3.96 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

          องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.25 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 

         องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร

2) ชื่อปริญญา

3) สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตอีสาน

2) สถานที่เปิดสอน

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

2) ความสำคัญของหลักสูตร

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.61
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.81
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.96
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.25
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.12
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.81 4.81 ดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 3.96 - - 3.96 ดี
5 4 4.00 4.33 - 4.25 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.84 4.25 4.81 4.12 ดีมาก
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดเด่น

มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ทำเลที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมและเป็นศูนย์รวมของแหล่งสถาบันอุดมศึกษา เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังเป็นที่ดึงดูดความต้องการของนักศึกษา รวมไปถึงมีหน่วยงานท้องถิ่นและคณะสงฆ์ภายในเขตปกครองให้การสนับสนุน ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรจะสำรวจหรือวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน/ชุมชน เพื่อให้มีการเปิดหลักสูตรระยะสั้นที่สามารถรองรับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น

 

แนวทางเสริมจุดเด่น

หลักสูตรควรวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์สังคม การประชาสัมพันธ์รับนักศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน มคอ.๒ เพื่อตอบสนองความต้องการของคณะสงฆ์และชุมชนท้องถิ่น อาจจะใช้วิธีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกซึ่งใช้เครือข่ายทางคณะสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วม

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรในจัดการทำผลงานทางวิชาการ รวมไปถึงการทำบทความวิชาการ งานวิจัย ตำรา หรือหนังสือเพิ่มมากขึ้นและหลากหลาย

 

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

          ควรมีการวิเคราะห์มูลสารสนเทศ สำหรับใช้ในการติดตามบัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิต และนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร ให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของสังคมและชุมชน

 

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามจุดเน้นของหลักสูตร และตามคำแนะนำของผู้ประการการหรือผู้ใช้บัณฑิต เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  อาจจะกำหนดเป็นรายวิชา หรือครอสการฝึกอบรมเสริมระยะสั้นตามความเหมาสม เพื่อศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรูสำหรับการทำงานในอนาคต

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

ควรมีการสร้างขวัญและกำลังใจให้อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ผลิตผลงานทางวิชาการที่หลากหลาย เช่น การวิจัย บทความทางวิชาการ หนังสือหรือตำรา รวมถึงการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานในช่องทางต่าง ๆ ทั้งในระชาติและนานาชาติ  

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางพัฒนา

          หลักสูตรควรมีการทบทวนการเรียนการสอนในทุกระบบ ทั้งออนไซต์และออนไลน์ตามสถานการณ์ในช่วงเกิดโรคอุบัติใหม่ (โควิด 19)  เพื่อปรับปรุงและวางแผนการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

ปีที่มีการประเมินคุณภาพภายในของหลักสูตร เกิดโรคอุบัติใหม่ (โควิด 19) ระบาดหนัก ทำให้ไม่มีการเรียนการสอนในห้องเรียน ต้องเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด  ซึ่งหลักสูตรสามารถได้จัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตสำหรับนักศึกษา คณาจารย์ ตลอดจนบุคลากรผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนได้อย่างดีเยี่ยม

 

แนวทางเสริมจุดเด่น

            ควรมีการสำรวจสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

บทสัมภาษณ์ผู้แทนศิษย์เก่า

  1. หลังจากจบจาก มมร วข.อส. แล้วได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง
  • ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานทุกด้าน กับการลงพื้นที่ไปพบกับลูกค้าและคนที่เกี่ยวข้อง
  • มีการประยุกต์แนวคิดทฤษฎี ทักษะต่าง ๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
  1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาหลักสูตร

- เพิ่มช่วงระยะเวลาการฝึกภาคปฏิบัติให้มากขึ้น

 

บทสัมภาษณ์ผู้แทนผู้ใช้บัณฑิต

  1. จากการได้ร่วมทำงานกับบัณฑิต พบว่า
  • มีความพร้อมทุกด้าน
  • มีจิตอาสา และมีทัศนคติที่ดีต่องานที่รับผิดชอบและมอบหมาย
  • มีการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นที่รับผิดชอบและมอบหมายได้ดี ตรงตามทักษะนักสังคมสงเคราะห์
  • มีการวางแผนการร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
  • มีการประสานงานกับเครือข่ายได้ดี
  • มีทักษะเบื้องต้นสำหรับการทำงานได้เป็นอย่างดี
  1. สิ่งที่อยากจะเติมเต็ม เพื่อจะทำให้หลักสูตรสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
  • การเขียน ร่างหนังสือราชการหรืองานสารบรรณ
  • ความรู้ด้านกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องที่เป็นฉบับใหม่ๆ ตลอดเวลา
  • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือนวัตกรรมใหม่ ด้านสังคมสงเคราะห์
  • ความคิดสร้างสรรค์ในการช่วยนักพัฒนานักสังคมสงเคราะห์

บทสัมภาษณ์ผู้แทนผู้ปกครอง

          - บุตรมีเรียนจบจากที่นี้แล้วมีนิสัยดี เรียบร้อย มีความรับผิดชอบและรู้จักช่วยเหลือพ่อแม่

          - ภูมิใจที่ลูกและหลานมาเรียนที่นี่ เพราะมีค่าใช่จ่ายไม่สูงเกินไป อาจารย์สอนรับผิดชอบ

         - มีส่วนช่วยงานมหาวิทยาลัยไม่มากนัก เพราะติดภารกิจค้าขายทุกวัน

         - ขอบคุณคณาจารย์ที่ช่วยเหลือดูแลและผลักดันบุตรให้จบการศึกษา และทำงานได้ตรงสาขาวิชาที่ได้เรียนมา

 

บทสัมภาษณ์ผู้แทนนักศึกษาปัจจุบัน

1.เลือกเรียนสาขาวิชานี้ เพราะว่า

          - ใกล้บ้าน เดินทางสะดวกสบาย

          - ค่าเทอมไม่แพง

          - มีทุนการศึกษาให้

          - การเรียนการสอนไม่เครียดเกินไป อาจารย์เป็นกันเองดี

          - หลักสูตรได้มาตรฐาน และมีหน่วยงานสายวิชาชีพรองรับ จบแล้วมีงานทำ

          - หลักสูตรได้รับการประเมินคุณภาพทุก ๆ ปีการศึกษา

          - เป็นมหาวิทยาลัยที่รัฐบาลให้การรับรอง และเปิดโอกาสให้ทุกคน ทุกเชื้อชาติได้เข้าถึงการศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ไม่จำกัดเรื่องการทำงาน

 

  1. ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 sลักสูตรมีการปรับกระบวรการเรียนการสอน

         - สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายกับนักศึกษา

          - อาจารย์สอนพยายามใช้ความสามารถทุกด้าน ใช้โปรแกรมการเรียนการสอนทุกชนิดที่นักศึกษาสามารถเข้าถึง เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

 

  1. การทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ ในช่วงสถานการณ์โควิด ควรเป็นอย่างไร

          - การทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน  ทุกสาขาวิชา ต้องมีความพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ โดยพื้นฐานการให้ความช่วยเหลือต้องคำนึงถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ โดยมีมาตรฐานงานวิชาชีพเป็นแนวทางกำกับ ส่วนการให้ความช่วยเหลือต้องประสานกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ

          - การทำงานให้การช่วยเหลือด้านพื้นฐานทุกอย่าง ต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณและวิชาชีพ

 

 

ภาพถ่าย