Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา ภาควิชาพุทธศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญาเป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563  เป็นหลักสูตรที่ต้องการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกในปัจจุบันและเป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า  มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยเฉพาะด้านสังคมเพื่อสร้างสังคมที่มีคุณภาพและคุณธรรมและเป็นธรรม ลดความเลื่อมล้ำ ลดการแบ่งแยก และเสริมสร้างสังคมที่เข้มแข็ง  โดยเนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วย

  1. บริยทภายนอกหรือสถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร อันประกอบด้วยสถานการณ์และการพัฒนาเศรษฐกิจ และสถานการณ์พัฒนาสังคมและวัฒนธรรม
  2. แนวคิดทษฏี ในหลักการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม และหลักการพัฒนาตามแนวพุทธศาสตร์
  3. ประเด็นงานพัฒนา เสริมสร้างกิจกรรมพื่อสร้างความเข้มแข็งให้สังคมและชุมชนตามแนวพุทธศาสตร์
  4. กระบวนการ เน้นเครื่องมือและเทคนิคทางพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  5. การบริหารจัดการในการงานพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อความยั่งยืน
  6. ภาวะผู้นำและบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดังนั้นการเรียนการสอนในหลักสูตรมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอดแทรกความเป็นคนมีคุณธรรม จรรยาบรรณและจริยธรรมเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการประกอบวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจะเป็นกำลังสักคัญทางด้านงานพัฒนาของประเทศชาติ ทั้งยังเป็นไปตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยที่ว่าผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพุทธศาสนาต่อไป  ดังนั้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของสังคม มีความรู้ ความเข้าใจประยุกต์ให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนานำไปสู่กระบวนการทางวิจัย และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม

                ด้านการสอนหลักสูตรได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร

                ด้านงานวิจัยให้ความสำคัญในการศึกษาค้นคว้าและวิจัยตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนา

                ด้านการบริการสังคม มีการจัดกิจกรรม การทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่ การอภิปราย หรือ ปาฐกถา โดยนักศึกษามีส่วนร่วม

                ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการเข้าร่วมและจัดกิจกรรมในวันและเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา ร่วมทั้งส่งเสริมกิจกรรมตามประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงามอย่างมีส่วนร่วม

                การบริหารหลักสูตร  การจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชาดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีวุฒิปริญญาโทและปริญญาเอก ทำหน้าที่ประสานงานกับอาจารย์ที่มีคุณวุฒิเหมาะสมทั้งในสาขาและจากสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณาจารย์ทุกท่านมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ นอกจากนี้ยังมีคณาจารย์ที่มีวุฒิทางธรรมและเปรียญธรรม ซึ่งเป็นการย้ำให้เห็นถึงคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเมินคุณภาพการเรียนการสอนให้สูงยิ่งขึ้น  และเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตร สาขาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาต่อไป

                อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรประคณะกรรมการประจำหลักสูตรมีส่วนร่วมโดยตรงในการกำกับดูแลทั้งเนื้อหาสาระ การจัดตารางเรียนและตารางสอน ปริหารการใช้ทรัพยากร วัสดุ ครุภัณฑ์ เทคโนโลยี เพื่อเป็นการสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะทำงานมีผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้มีการประชุมเพื่อวางแผนกำหนดกลไกของกระบวนการ เพื่อนำกลไกและกระบวนการสู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งทำการตรวจสอบคุณภาพของระบบกลไกต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุงแกไขให้มีประสิทธิภาพในทุกองค์ประกอบต่อไป  ซึ่งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในหลักสูตรศิลปะศาสตร สาขาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมโศกราช ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารเพื่อการพัฒนาองค์กรทุกๆ ด้านตามสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา หรือ สกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพทั้ง 6 องค์ประกอบ จำนวน 13 ตัวชี้วัดโดยเป็นกลุ่มที่เน้นระดับปริญญาตรี  และในการประเมินคุณภาพครั้งนี้ คณะศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา ขอรับการประเมินใน 5 องค์ประกอบ และมีผลคะแนนรวม 3.52 โดยแบ่งคะแนนเฉลี่ยตามองค์ประกอบ ดังนี้

                องค์ประกอบที่  1  การกำกับมาตรฐาน  หลักสูตรได้มาตรฐาน

                องค์ประกอบที่  3  นักศึกษา  คะแนนเฉลี่ย  3.67 คุณภาพระดับดี

                องค์ประกอบที่  4  อาจารย์  คะแนนเฉลี่ย 2.89 คุณภาพระดับปานกลาง

                องค์ประกอบที่  5  หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน   คะแนนเฉลี่ย  คุณภาพระดับ3.75 ดี

                องค์ประกอบที่  6  สิ่งสนับการเรียนรู้  คะแนนเฉลี่ย  4.00 คุณภาพระดับดี 

                โดยยกเว้นองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต เนื่องจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563  นับเป็นปีที่ 2 ของการเรียนการสอน จึงยังไม่มีบัณฑิตที่จบการศึกษาในขณะนี้

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒน) ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้พุทธศาสตร์ พัฒนาชาติและสังคม บ่มเพาะวัฒนธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ พัฒนาชีวิตแบบพอเพียง สร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาการ ทำงานอย่างมีความสุข มั่นคงและยั่งยืน

2) ความสำคัญของหลักสูตร

พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านพุทธศาสตร์ในมิติการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในการวางแผนพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ในองค์กรด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์ และมีภาวะผู้นำในการนำความรู้ไปบูรณาการกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามแนวพุทธศาสตร์

1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 ด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.89
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.52
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 2.89 - - 2.89 ปานกลาง
5 4 3.00 4.00 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 11 3.24 4.00 - 3.52 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
  • เพิ่มช่องทางการเรียนการสอนทั้ง online และ onsite โดยสามารถให้นักศึกษาหรือผู้ที่สนใจได้มีสิทธิ์เลือกช่องทางได้เอง และเป็นการลดค่าใช่จ่ายของนักศึกษา
  • ควรหาช่องทางในการหากลุ่มเป้าหมาย หรือมีการปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น
  • ปรับกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการเทียบโอน หรือการนำระบบการศึกษาแบบการสะสมหน่วยกิตการเรียนรู้หรือCredit Bank มาใช้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนมากขึ้น
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทำผลงานทางวิชาการเพิ่มมากขึ้นและนำมาพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
  • หลักสูตรควรมีการประเมินกระบวนการ เพื่อให้ทราบว่าบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงในปีต่อไป
  • หลักสูตรควรจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล และมีการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
  • สร้างกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านการพัฒนาให้แก่นักศึกษา
  • สร้างกระบวนการหรือโมเดลในรายวิชาที่มีบูรณาการครบทั้ง 3 ด้าน (ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม)
  • หลักสูตรควรนำความรู้ทางพุทธศาสตร์ไปพัฒนาด้านกิจกรรมให้สอดคล้องกับหลักสูตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ วิเคราะห์สังเคราะห์ การเรียนรู้ต่อไป
  • หลักสูตรควรใช้กลยุทธ์ในการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเพิ่มพุทธศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
  • ควรเพิ่มช่องทางการนำเสนอสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยการเพิ่มลิงค์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ตลอดถึงหนังสือที่เป็นเชิงประยุกต์ใช้และนำไปพัฒนา
  • สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับชุมชน ประชาสังคมให้มากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ปราชญ์ท้องถิ่นร่วมให้ความรู้ มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนและนำมาพัฒนาหลักสูตรต่อไป
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย