Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการสอนสังคม (4ปี )มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม 4 (กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา) ได้คะแนนการประเมิน 4.40 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก โดยมีรายละเอียด ผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

                องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการสอนสังคม (4ปี )มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนามีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

                องค์ประกอบที่ 2 ไม่รับการประเมิน

                องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการสอนสังคม (4ปี )มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้ เท่ากับ 4.00 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

                องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการสอนสังคม (4ปี )มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์ และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมิน ตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 4.48 อยู่ในคุณภาพระดับดีมาก

                องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการสอนสังคม (4ปี )มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการเรียนการสอนการ ประเมินผู้เรียน มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.75 อยู่ในคุณภาพดีมาก

                องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการสอนสังคม (4ปี )มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนสังคมศึกษา)

3) สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในด้านการสอน ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชาสังคมศึกษาและสอนศีลธรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลิตบัณฑิตที่มีปรีชาสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครู

2) ความสำคัญของหลักสูตร

2.1 ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทางด้านการสอนสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณสำหรับครู

2.2 ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม บูรณาการสังคมศึกษา

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะนี้

3.1 มีความรู้ความเข้าใจด้านการสอนพระพุทธศาสนาและการสอนศีลธรรม สามารถประยุกต์ใช้การสอนสังคมศึกษาร่วมกับพุทธวิทยาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.2 มีความรู้ความสามารถและทักษะการสอนสังคมศึกษา เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการจัดการเรียนการสอน

3.3 มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพครู มีศักยภาพในการพัฒนางานในหน้าที่ครู สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลายอย่างเหมาะสม

3.4 เป็นผู้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000975

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
5
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
4.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
5
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.44
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.48
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
5
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
5
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
4.40
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 4.00 - - 4.00 ดี
4 3 4.48 - - 4.48 ดีมาก
5 4 5.00 4.67 - 4.75 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 11 4.35 4.50 - 4.40 ดีมาก
ผลการประเมิน ดีมาก ดีมาก - ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

ควรมีการเขียนผลงานวิชาการเเบบAPA

การเขียนผลงานทางวิชาการของอาจารย์ควรเขียนให้อยู่ในรูปเเหลักสูตรควรมีการวางเเผนปรับปรุงหลักสูตรเเละผลการดำเนินการในปัจจุบัน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ควรมีการพัฒนาการรับนักศึกษาให้ได้ตามเป้าหมายของ มคอ.2

ควรมีการเขียนผลการดำเนินงานเปรียบเมียบการเตียมความพร้อมจากปีการศึกษา 2563

ควรมีการนำผลการประเมินระบบอาจารย์ที่ปรึกษา มาเป็นเเนวทางในการพัฒนาปรับปรุง

ควรมีการรายงานผลการดำเนินงานในจัดโครงการพัฒนานักศึกษา เเละเเสดงผลการดำเนินงานให้เห็นว่านักศึกษาสามารถบูรณาการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงประจักษ์อย่างไร

ควรมีการรายงานกระบวนการ หรือผลจัดการข้อร้องเรียนให้ชัดเจน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ควรมีการรายงานทบทวนระบเเละกลไกในการบริหารงานในอนาคต

ควรมีการรายงานระบบเเละกลไกในการสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์ หรือการจัดการเรียนการสอนโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตร เป็นต้น

ควรมีIPD ของอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน เพื่อให้เห็นเเนวโน้มผลการดำเนินงานเเละ KPI ที่ทางหลักสูตรตั้งไว้

ควรมีการรายงานผลการดำเนินงานที่โดดเด่นของการบริหารพัฒนาอาจารย์

ควรมีการนำผลการประเมินความพึงพอใจอาจารย์ ข้อเสนอเเนะต่างๆ นำมาปรับปรุงอย่างไรให้เห็นเป็นรูปธรรม

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ควรมีการทบทวนระบบกลไก กระบวนการที่ดีที่หลักสูตรมีผลการดำเนินงานที่สามสารถไปต่อยอดเพอิ่มเติม เเละสิ่งที่ต้องการปรับปรุง เพื่อให้เห็นเเนวโน้มในการพัฒนาอย่างชัดเจนในอนาคต

 ควรมีรายชื่อคณะกรรมการทวบสอบในองค์ประกอบ 5.4 ให้ชัดเจน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ควรมีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 3 ปีย้อนหลังเพื่อให้เเสดงถึงเเนมโน้มที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

นักศึกษา ปัจจุบัน - มีความพึงพอใจในด้านชุมนุมของสาขา ศิลปะวัฒนะธรรม ทำให้กล้าเเสดงออก การจัดการเรียนการสอนที่ดีพร้อมสอบใบประกอบอาชีพครู

พระนักศึกษา ปัจจุบัน - มีการปรับตัวเข้ากับสถานศึกษา การให้คำปรึกษาในด้านรายวิชา การเรียนการสอน

ภาพถ่าย