Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

 คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ได้ทำการประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ในปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ (เฉพาะตัวบ่งชี้ของ สกอ.ที่ขอรับการตรวจประเมิน)  อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก คะแนนเฉลี่ย 3.69 โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

        อาจารย์ประจำหลักสูตร คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีคุณสมบัติ และคุณวุฒิตรงตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.) กำหนด ในเกณฑ์การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบรระยะเวลาที่กำหนด ได้มีการพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์กำหนดในรอบ 5 ปี และผลการประเมินตนเอง คือ หลักสูตรได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

    ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ นี้เท่ากับ 4.63 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

        กระบวนการรับนักศึกษาและพัฒนานักศึกษาทางหลักสูตรได้ให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้และความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 อยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ 

        หลักสูตรมีการบริหารและพัฒนาคุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.22 จัดอยู่ในระดับดี

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร

        สาระของรายวิชาในหลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียนมีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับกระบวนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21อาจารย์ผู้สอนได้บูรณาการเนื้อหา กับกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย และมีการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอน และประเมินหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติโดยผลการประเมินเท่ากับ 3.75 จัดอยู่ในระดับคุณภาพดี

        องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  

        อาจารย์ประจำหลักสูตรมีส่วนร่วมในการจัดให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนและได้มีการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ผลการประเมินในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 จัดอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)

3) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลซึ่งใช้ทั่วโลกและเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้และสรรพวิชาอื่น ๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้คู่คุณธรรมซึ่งนำไปสู่การเป็นพลเมืองโลกที่ดี อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารในสังคมโลกและการประกอบอาชีพ รวมถึงการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปด้วย

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทยทั้งในและนอกประเทศ
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษไปใช้ประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ทั้งในภาครัฐและเอกชน
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม

1.4 รหัสหลักสูตร 25641864001192

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.26
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.63
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
2.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.22
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.69
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.63 4.63 ดีมาก
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 3.22 - - 3.22 ดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.38 3.75 4.63 3.69 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
  1. หลักสูตรควรนำผลการประเมิน TQF มาวิเคราะห์ ด้านที่ได้คะแนนน้อย เพื่อนำมาพัฒนากิจกรรมให้แก่นักศึกษา
  2. การมีงานทำ หลักสูตรควรกำกับติดตามว่าการมีงานทำของบัณฑิตเป็นไปตาม มคอ. 2 ที่กำหนดไว้
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
  1. หลักสูตรควรปรับกระบวนการรับนักศึกษา และสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เข้ามากสมัครเรียนมากขึ้น เช่นการให้ทุนการศึกษา หรือประชาสัมพันธ์ความสำเร็จรุ่นพี่
  2. หลักสูตรควรสำรวจถึงจุดที่ควรพัฒนาของผู้เข้าศึกษา เพื่อจัดการเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษา
  3. หลักสูตรควรวางแผนในการพัฒนานักศึกษานแต่ละชั้นปี ว่าควรพัฒนาทักษะด้านใด และสอดแทรกให้ มคอ. 3 เพื่อสามารถวัดผลลัพธ์ได้จริง
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
  1. ควรจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์อย่างชัดเจน ทั้งระยะสั้น ระยะยาว มีการประเมินแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  2. หลักสูตรส่งเสริมสนับสนุน หาแหล่งงบประมาณในการทำวิจัย ผลงานวิชาการ และตีพิมพ์ในฐานวาสาร เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
  1. หลักสูตรควรตรวจสอบแผนการเรียนรู้ของผู้สอนให้เป็นไปตาม มคอ.2
  2. ควรกำหนดการบูรณาการกับรายวิชาใน มคอ.3 เพื่อให้อาจารย์สามารถวางแผนการบูรณาการ กิจกรรมต่างๆ แก่นักศึกษา
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ศิษย์เก่า

  • ควรส่งเสริมการให้ประสบการณ์ใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น
  • การใช้สื่อต่างๆที่ใช้ภาษาอังกฤษ
  • ได้นำภาษาอังกฤษเผยแผ่ทางพระพุทธศาสนาให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ
ภาพถ่าย