Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะศาสนาและปรัชญา หน่วยงาน วิทยาลัยศาสนศาสตร์ล้านนา วิทยาเขตล้านนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือ สกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจานวน 12 ตัวบ่งชี้ รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2564 วงรอบ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2565 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของ สกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-5 คะแนนทุกตัวบ่งชี้ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

องค์ประกอบที่ 1  การกำกับมาตรฐาน ผ่าน การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ได้คะแนน   4.52    อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ได้คะแนน 3.67    อยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ได้คะแนน   3.78    อยู่ในระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอนการประเมินผู้เรียนได้คะแนน  4.25 อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน 4.00  อยู่ในระดับคุณภาพดี

โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในได้คะแนนโดยรวม 4.03 ระดับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะศาสนาและปรัชญา หน่วยงาน วิทยาลัยศาสนศาสตร์ล้านนา วิทยาเขตล้านนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยผ่านการประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) (พุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

          ผลิตบัณฑิตให้รอบรู้พุทธศาสตร์ พัฒนาชาติและสังคม บ่มเพาะวัฒนธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ พัฒนาชีวิตแบบพอเพียง สร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาการ ทำงานอย่างมีความสุข มั่นคงและยั่งยืน

2) ความสำคัญของหลักสูตร

          พัฒนาและอบรมความรู้รวมทั้งสร้างบัณฑิตด้านพุทธศาสตร์ ในมิติการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

          หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการวางแผนพัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน ในองค์กรด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อให้บัณฑิตมีความคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์และมีภาวะผู้นำในการนำความรู้ไปบูรณาการกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองตามแนวพุทธศาสตร์
  3. เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะในการวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 ด้วยการประยุกต์ใช้หลักพุทธศาสตร์

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864002348

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.04
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.52
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.78
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.25
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.03
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.52 4.52 ดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 3.78 - - 3.78 ดี
5 4 4.00 4.33 - 4.25 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.76 4.25 4.52 4.03 ดีมาก
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น

-  ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจในบัณฑิตของหลักสูตร

-  บัณฑิตในหลักสูตรได้ตอบสนองงานการปฏิบัติงานคณะสงฆ์

โอกาสในการพัฒนา

-  ควรมีการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
  • เพิ่มช่องทางการเรียนการสอนทั้ง online และ onsite โดยสามารถให้นักศึกษาหรือผู้ที่สนใจได้มีสิทธิ์เลือกช่องทางได้เอง
  • ควรหาช่องทางในการหากลุ่มเป้าหมาย หรือมีการปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น
  • ปรับกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการเทียบโอน หรือการนำระบบการศึกษาแบบการสะสมหน่วยกิตการเรียนรู้หรือCredit Bank มาใช้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนมากขึ้น
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น

- อาจารย์ในหลักสูตรมีผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก

โอกาสในการพัฒนา

- อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรควรนำผลงานทางวิชาการมาพัฒนาเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

- หลักสูตรควรมีการกำกับติดตามแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
  • สร้างกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านการพัฒนาให้แก่นักศึกษา
  • สร้างกระบวนการหรือโมเดลในรายวิชาที่มีบูรณาการครบทั้ง 3 ด้าน (ด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม)
  • หลักสูตรควรนำความรู้ทางพุทธศาสตร์ไปพัฒนาด้านกิจกรรมให้สอดคล้องกับหลักสูตร
  • หลักสูตรควรใช้กลยุทธ์ในการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเพิ่มพุทธศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
  • สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับชุมชน ประชาสังคมมากขึ้น
  • เปิดโอกาสให้ปราชญ์ท้องถิ่นร่วมให้ความรู้ มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนและนำมาพัฒนาหลักสูตรต่อไป
  • ควรเพิ่มช่องทางการนำเสนอสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยการเพิ่มลิงค์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ตลอดถึงหนังสือที่เป็นเชิงประยุกต์ใช้และนำไปพัฒนา
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย