Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

รายงานการประเมินตนเอง (SAR) เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอน และเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีการตรวจสอบ ประเมินตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของหลักสูตรใหมีคุณภาพ และให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานการอุดมศึกษา ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือ สกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจำนวน 13 ตัวบ่งชี้ รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2564 วงรอบ 10 มิถุนายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2565 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของ สกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-คะแนนทุกตัวบ่งชี้ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

องค์ประกอบที่ การกำกับมาตรฐาน ผ่าน การประเมินถือว่า เป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ บัณฑิต ได้คะแนน 4.60 อยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก

องค์ประกอบที่ นักศึกษา ได้คะแนน 3.33  อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ อาจารย์ ได้คะแนน 2.89 อยู่ในระดับคุณภาพ ปานกลาง

องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน 3.75 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน 3.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ปานกลาง

โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผ่าน การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน ผลการประเมินรวมทุกองค์ประกอบ 3.53 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง) Bachelor of Political Science (Government)

3) สาขาวิชาการปกครอง

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตล้านนา

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยว่าด้วย “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา” อีกทั้งเสริมสร้างทักษะความรู้ ความสามารถทางรัฐศาสตร์แบบบูรณาการให้สอดคล้องกับศาสตร์พระราชาและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 มาตรฐานการอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยพื้นฐาน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ รวมทั้งสนับสนุนให้ฝึกภาคสนามในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองคณะสงฆ์ และหน่วยงานอื่น ๆ หรือการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรี รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ตามระเบียบวิธีทางวิชาการ และสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาและตามหลักวิชาการสากล ทั้งในมิติการเมืองในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาและปรัชญาของหลักสูตร เป็นกำลังที่สำคัญของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
2. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีทักษะทางปัญญาและการคิดอย่างเป็นระบบ พัฒนา และต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์
3. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตามและจิตสาธารณะ พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
4. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ เข้าใจปัญหาสังคมและสามารถวิพากษ์วิจารณ์ตามหลักวิชาการทางรัฐศาสตร์และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
5. เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการค้นคว้าหาความรู้ทางด้านวิชาการ

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864000695

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.29
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
4.91
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.60
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.89
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.53
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.60 4.60 ดีมาก
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 2.89 - - 2.89 ปานกลาง
5 4 3.00 4.00 - 3.75 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 13 3.10 3.75 4.60 3.53 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

หลักสูตรควรมีฐานข้อมูลของผู้ใช้บัณฑิต หรือผู้ประกอบการเพื่อสะดวกในการเก็บข้อมูลของผู้ใช้บัณฑิต เเละสามารถนำผู้ใช้บัณฑิตมาช่วยในการออกเเบบหลักสูตรในวงรอบการปรับปรุง

ทักษะเชิงต้วเลข การสื่อสารการใช้เทคโนโลยี เป็นItem ที่อาจมีการปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

การรับนักศึกษาเกินควรมีระบบเเละกลไกในการเพิ่มจำนวนการรับนักศึกษา 

ควรมีการพิจราณาการควบคุมดูเเลนักศึกษา เพราะมีจำนวนนักศึกษาเกินกว่าใน มคอ.2

ควรมีการรายงานสาเหตุที่จำนวนนักศึกษามาสมัครไม่มีเเนวโน้มที่ดีขึ้น เช่น การประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการรรรับนักศึกษาต่อไป

ควรมีการสำรวจผลคะเเนนตอนสอบเข้าเเละจัดกิจกรรมเพิ่มทักษะเพิ่มเติม

ควรมีเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาด้านการเรียนการสอนOnline Programต่างๆ เเละเเสดงผลการเตรียมความพร้อมที่ทางหลักสูตรได้ดำเนินการ

ควรมีกิจกรรมทักษะทางสังคมเนื่องจากหลักสูตรมีนักศึกษาทุกช่วงวัยที่เข้ามาศึกษา

ควรมีการรายงานผลความพึงพอใจของนักศึกษาในการรับนักศึกษา เพื่อจะได้สร้างเเนวทางในการปรับปรุงในการรับนักศึกษาต่อไป

ควรมีการเขียนรายงานตารางการจัดโครงการใดเพื่อให้ได้ทักษะด้านใด

ควรมีการเขียนรายงานการเเก้ปัญหา หรือการปรึกษาในภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษา

การพ้นสภาพนักศึกษาเกิดจากระบบทะเบียนคัดชื่อนักศึกษาเนื่องจากมีการชระค่าเทอมไม่ครบเเต่นักศึกษายังคงอยู่

 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ควรมีการทำการบริหารความเสี่ยงของอัตราอาจารย์ เเละหาเเนวทางในการเเก้ไขเพิ่มเติม

ควรมีการเขียนรายงานการมีส่วนร่วม การประชุม เพื่อให้ได้มาเพื่อการพัฒนาเเละการบริหารอาจารย์

ควรมีเเผนการจัดการภาระงานของอาจารย์ที่เอื้ออำนวยต่ออาจารย์ที่ศึกษาต่อ หรือทำผลงานทางวิชาการ เป็นต้น

ควรมีการสร้างเครือข่ายกับต่างสถาบัน เพื่อเป็นเเนวทางในการพัฒนาอาจารย์

ควรมีการสนับสนุนอาจารย์ในการเรียนต่อ เเละเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ

 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

การออกเเบบสาระรายวิชาให้มีความทันสัย เเละตรงตามความต้องการของตลาด

การวางผู้สอนอาจพิจารณาจากผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้นั้น

ควรนำผลการประเมินอาจารย์ผู้สอนของนักศึกษามาปรับปรุงกระบวนการ ปรับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน

ควรมีการรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ให้ชัดเจน เช่น มีการเปิดการเรียนการสอนกี่วิชา ทวนสอบกี่วิชา เเละคิดเป็นร้อยละเท่าไหร่

หลักสูตรควรมีปฏิทินการเรียนการสอนเพื่อเป็นเเนวทางในการปฏิบัติงานเเละพัฒนา

หลักสูตรควรมีรายละเอียดการเห็นชอบจาก สกอว เเละลงวันที่รับรองเพิ่มเติม

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ควรมีการนำข้อเสนอเเนะจากเเบบประเมินมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้สิ่งสนับสนุน

ควรมีการสำรวจนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนในระบบOnline เเละระบบๆต่างที่ทางหลักสูตรใช้ในการเรียนการสอน

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน - ค่าเทอมไม่เเพง ความรู้เเละวิชาต่างๆสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ มีโครงการเน้นเรื่องการพูด สัมนา นำเสอผลงาน อาจารย์มีการเเนะนำสถานที่ฝึกงาน สามารถนำไปใช้ในชีวิต มีการเชิญวิทยากรบรรยายเพิ่มเติม อยากเเนะนำรุ่นน้องให้มาศึกษาเช่นกัน

ปีการศึกษา 2564 มีการเรียนการสอนเเบบOnline นักศึกษาบางคนมีปัญหาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร เเต่อาจารย์สามารถเเก้ไขได้โดยกำกับติดตามมอบหมายงานให้

ผู้ปกครอง- บุตรหลานจบการศึกษาได้งานทำ มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือครอบครัว

ภาพถ่าย