Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

จากการประเมินของคณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ซึ่งเป็นสถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี ได้คะแนน 3.33 มีระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน (หลักฐานสูตรได้มาตรฐาน)

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ไม่รับการประเมิน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการคะแนนในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.67มีระดับคุณภาพดี 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลคะแนนในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 2.89 มีระดับคุณภาพปานกลาง 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลคะแนนในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.50 มีระดับคุณภาพดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลคะแนนในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 มีระดับคุณภาพปานกลาง

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต

3) สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (4 ปี )

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตอีสาน

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนามุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา โดยมีความสอดคล้องกับปรัชญาสถาบันคือ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน มีการบูรณาการการสอนกับพุทธวิทยาการศึกษา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทางด้านการสอนพระพุทธศาสนาอย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณสำหรับครู

2. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนามีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการทางพระพุทธศาสนา การบูรณาการ การประยุกต์ใช้พุทธวิทยากับการศึกษา ศาสตร์การสอน และการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. มีทักษะการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนาที่มีคุณภาพ เพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนและสังคม สร้างทักษะแห่งการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี ในศตวรรษที่ 21

3. มีคุณธรรมจริยธรรม อุดมการณ์และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพครู มีบุคลิกภาพ คุณลักษณะคุณสมบัติความเป็นครูที่ดี รวมทั้งมีศักยภาพที่จะพัฒนางานให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถใช้ความรู้ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา และทำงานได้

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000637

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนา (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.89
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.33
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 2.89 - - 2.89 ปานกลาง
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 3.24 3.50 - 3.33 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรในจัดทำผลงานทางวิชาการ รวมไปถึงการทำบทความวิชาการ งานวิจัย ตำรา หรือหนังสือเพิ่มมากขึ้นและหลากหลาย

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

          ควรมีเตรียมข้อมูลสารสนเทศ สำหรับใช้ในการติดตามบัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิตในอนาคตอันใกล้  สำหรับเป็นข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร ให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของสังคมและชุมชน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ตามจุดเน้นของหลักสูตร เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด และควรมี ติดตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาในแต่ละชั้นปี และนำผลนั้นมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและศักยภาพของนักศึกษาในปีต่อๆไป

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

แนวทางส่งเสริมและพัฒนา

ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตร มีผลงานทางวิชาการที่หลากหลาย เช่น การวิจัย บทความทางวิชาการ หนังสือหรือตำรา รวมถึงการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานในช่องทางต่าง ๆ ทั้งในระชาติและนานาชาติ ตลอดจนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

แนวทางพัฒนา

          หลักสูตรควรมีการทบทวนการเรียนการสอนในทุกระบบ ทั้งออนไซต์และออนไลน์ตามสถานการณ์ในช่วงเกิดโรคอุบัติใหม่ (โควิด 19)  เพื่อปรับปรุงและวางแผนการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

ปีที่มีการประเมินคุณภาพภายในของหลักสูตร เกิดโรคอุบัติใหม่ (โควิด 19) ระบาดหนัก ทำให้ไม่มีการเรียนการสอนในห้องเรียน ต้องเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด  ซึ่งหลักสูตรสามารถได้จัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตสำหรับนักศึกษา คณาจารย์ ตลอดจนบุคลากรผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนได้อย่างดีเยี่ยม

 

แนวทางเสริมจุดเด่น

            ควรมีการสำรวจสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

จุดเด่น

มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ทำเลที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมและเป็นศูนย์รวมของแหล่งสถาบันอุดมศึกษา เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังเป็นที่ดึงดูดความต้องการของนักศึกษา รวมไปถึงมีหน่วยงานท้องถิ่นและคณะสงฆ์ภายในเขตปกครองให้การสนับสนุน ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรจะสำรวจหรือวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน/ชุมชน เพื่อให้มีการเปิดหลักสูตรระยะสั้นที่สามารถรองรับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น

 

แนวทางเสริมจุดเด่น

หลักสูตรควรวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์สังคม การประชาสัมพันธ์รับนักศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน มคอ.๒ เพื่อตอบสนองความต้องการของคณะสงฆ์และชุมชนท้องถิ่น อาจจะใช้วิธีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ซึ่ง ใช้เครือข่ายทางคณะสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วม

บทสัมภาษณ์

นักศึกษาปัจจุบัน

  1. มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ออนไลน์
  2. ค่าใช้จ่ายในการศึกษาไม่แพง 
  3. อาจารย์มีการให้นักศึกษาค้นหาข้อมูลก่อนเข้าเรียน เพื่อนำข้อมูลมาวิพากษ์ 
ภาพถ่าย