Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑทิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.24 มีคุณภาพระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้
   องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
   องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ซึ่งในองค์ประกอบที่ 2 นี้ ไม่ขอรับการประเมินเนื่องจากยังไม่มีบัณฑิตที่จบการศึกษาในปีการศึกษา 2564 นี้
   องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 ระดับคุณภาพดี
   องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 2.56 ระดับคุณภาพปานกลาง
   องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.50 ระดับคุณภาพดี
   องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการaเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 ระดับคุณภาพดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย)

3) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตอีสาน

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

   หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอน มีการบูรณาการศาสตร์การสอนกับแนวทางพระพุทธศาสนา ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยกับการสอนพระพุทธศาสนา โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านการศึกษาปฐมวัย กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับครู

2) ความสำคัญของหลักสูตร

   ปัจจุบันอาชีพครู ถือว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะครูปฐมวัยทั้งนี้เพราะมีบทบาทสำคัญ ในการปลูกฝังและพัฒนาเด็กตั้งแต่ อายุ 3-6 ปี ให้เจริญเติบโต เป็นพลเมืองที่ดี และมีคุณภาพในอนาคต ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ให้เจริญก้าวหน้าสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังนี้
   1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านการสอนเด็กปฐมวัยและสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   2. มีความรู้ความสามารถ ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรด้านการศึกษาปฐมวัย สามารถประยุกต์หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนากับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม
   3. มีการตระหนักและเห็นความสำคัญในแนวทางการจัดการศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตร การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
   4. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพครู ตลอดจนมีจิตสำนึกในความเป็นครูที่มีความพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพ และเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพ
   5. มีความเป็นผู้นำ ผู้ตามและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติหน้าที่ครู ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000648

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.56
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.24
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 2.56 - - 2.56 ปานกลาง
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 11 2.95 3.75 - 3.24 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดที่ควรพัฒนา

หลักสูตรควรมีการกำหนดแผนพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรและสร้างความมั่นคงในภาระหน้าที่เพื่อส่งเสริมอัตราการคงอยู่ของอาจารย์ประจำหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1.ปรับกลไกในการรับสมัครนักศึกษาให้สอดคล้องกับผลการดำเนิน

ที่เกิดขึ้น

2. การพัฒนาการเตรียมความพร้อมให้มีความเหมาะสมกับสถารการณ์และยุคสมัย

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

1.หลักสูตรควรจัดทำ ID PLAN เพื่อกำกับติดตาม ให้อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการพัฒนา

2. ส่งเสริมเพื่อพัฒนาอาจารย์ให้ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

3. ควรมีการส่งเสริมเพื่อพัฒนาอาจารย์ให้เข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

1.หลักสูตรต้องปรับระบบกลไกลที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วเกิดผลที่ดีขึ้นแนวโน้มที่ดีขึ้น

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนา

1.หลักสูตรควรนำเสนอผลของการจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของหลักสูตรปฐมวัย

2.สร้างพื้นที่ที่เป็นการส่งเสริมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของสาขาเช่น ห้องปฏิบัติการทางสื่อ ห้องปฏิบัติการทางการสอน

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิต

จุดเด่นของนักศึกษาฝึกสอบ

  • นักศึกษามีความรู้ความสามารถด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความหลากหลาย

ทางมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ได้มีการผลิตนักศึกษา/นักศึกษาฝึกสอนเป็นอย่างไร คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีความโดดเด่นจากสถาบันอื่นอย่างไร

  • นักศึกษามีจิดใจดี ทุ่มเท เสียสละ จิตอาสา
  • การแต่งกายดี กริยามารยาทดี
  • ชื่นชมในเรื่องการผลิตสื่อการเรียนการสอน

อยากให้หลักสูตรได้เพิ่มเติมอะไรบ้างในเรื่องของทักษะในหลักสูตร

  • การเขียนแผนการจัดการฝึกประสบการณ์
  • สำเนียงภาษาถิ่น การออกเสียงไม่ชัด

 

สัมภาษณ์ผู้ปกครอง

บุตรหลานที่มาเรียนในสาขาวิชานี้แล้วนักศึกษาเป็นอย่างไรบ้างในมุมมอง

  • รู้สึกประทับใจที่ส่งลูกมาเรียนใน มมร
  • มีการดูแลและการเอาใจในการเรียนรู้ และให้ความสนใจมากขึ้น
  • มีการนำเสนอกับผู้ปกครองฟังตลอด
  • มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรหลากหลายกิจกรรม อาจารย์ติดตามนักศึกษาเป็นอย่างดี

สัมภาษณ์นักศึกษาปัจจุบัน       

นักศึกษามีการนำรายวิชาที่เป็นทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้กับการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาหรือไม่

  • นำมาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมกับเด็ก เช่น การเล่านิทานธรรมะ ในเด็กปฐมวัย
ภาพถ่าย