Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564) ตามกระบวนการและมาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้การรับทราบและอนุมัติหลักสูตรฯ  ในปีการศึกษา 2564 นี้ ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาผู้สนใจทั่วไป ทั้งฝ่าย (บรรพชิตและคฤหัสถ์) เพื่อเข้าการศึกษาในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ตามแผนรับนักศึกษา แบบแผน ก. และ แบบแผน ข. ที่ระบุไว้ตาม มคอ.2 ของหลักสูตรดังกล่าวฯ  

           คณะผู้บริหารและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีความเห็นชอบร่วมกันในการเสนอเปิดหลักสูตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลรองรับนักศึกษา ที่จบการศึกษา ระดับปริญญาตรีเข้าการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต และสอดคล้องการจัดการเรียนการสอน การบริหารการศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสูตรดังกล่าวฯ อันจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ให้มหาบัณฑิตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาและวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสงฆ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางปกครองคณะสงฆ์ ตลอดจนประชาชนผู้สนใจศึกษาวิชาการทางรัฐศาสตร์เชิงพุทธในระดับบัณฑิตศึกษา ให้มีความรู้ที่หลากหลายมิติ และมีความเป็นเลิศในด้านวิชาการทางพุทธศาสนาเพื่อบูรณาการเข้ากับหลักการปกครอง ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมแก่ชุมชนสังคม หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยรวม

             มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต  (หลักสูตรปรับปรุง 2564) ให้มีความพร้อมและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยยึดหลักความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานที่กำหนดไว้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสร้างสันติสุขให้เกิดในสังคม ชุมชนและท้องถิ่น สามารถชี้นำสังคมและยุติข้อขัดแย้งในหลักวิชาการพระพุทธศาสนาและจริยธรรมรวมทั้ง ด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้าวิจัยสามารถบูรณาการเข้ากับศาสตรสมัยใหม่ ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยและท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด เสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง มีภูมิคุ้มรู้คุ้มธรรมผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม และยกระดับการจัดการระบบการบริหารการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้ได้มาตรฐานตามหลักสากลต่อไป

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ภาษาไทย ชื่อเต็ม : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ชื่อย่อ : ร.ม. ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Political Science ชื่อย่อ : M.Pol.Sc.

3) หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

    มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มี “ความเป็นเลิศทางวิชาการทางรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา”

2) ความสำคัญของหลักสูตร

    พัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถทางรัฐศาสตร์ มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.3.1 เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม สามารถประยุกต์หลักการและวิธีการทางรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาในวิชาชีพรัฐศาสตร์

1.3.2 เพื่อให้บัณฑิตมีความรอบรู้อย่างลุ่มลึกและมีประสบการณ์ทางด้านรัฐศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนาได้อย่างสร้างสรรค์

1.3.3 เพื่อให้บัณฑิตรู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล สามารถวิพากษ์วิจารณ์บนพื้นฐานทางวิชาการให้เกิดองค์ความรู้และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง

1.3.4 เพื่อให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง องค์กร และสังคมโดยรวม

1.3.5 เพื่อให้บัณฑิตมีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมในการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถเผยแพร่หลักทางรัฐศาสตร์ตามแนวพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในด้านบริการวิชาการ หรือศิลปวัฒนธรรมไทยต่อสาธารณชน

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.44
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.39
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.44 - - 3.44 ดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 11 3.19 3.75 - 3.39 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
  • เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรในระบบออนไลน์ที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อที่จะทำให้จำนวนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น
  • ควรเพิ่มเวลาและช่องทางการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษามากขึ้น
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น
  • สนับสนุนในเรื่องการจัดสรรทุนการวิจัยให้แก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

คณะสังคมศาสตร์ควรมีคู่มือการทวนสอบเป็นแนวทางเดียวกันทั้งส่วนกลางวิทยาเขตและวิทยาลัย

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ควรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ ทั้งในด้านการเรียนการสอน แหล่งสืบค้นและแหล่งรวบรวมอผลงานของอาจารย์

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

จุดเด่นของหลักสูตรคืออะไร

  • เรื่องการปกครองและเรื่องคุณธรรม

องค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนพอไหมที่จะไปต่อปริญญาเอก

  • เป็นการเรียนช่วงแรกเลยยังไม่แน่ใจว่าจะได้องค์ความรู้ในการเรียนมากน้อยเพียงใด

ทำไมถึงมาเรียนสาขาวิชารัฐศาสตร์

  • อยากได้ความรู้และใบปริญญา

ในระหว่างที่เข้ามาเรียนมีความกังวลในเรื่องอะไรไหม

  • ไม่มีความกังวลในเรื่องใดๆเลย

มีวิธีการในการบริหารจัดการเวลาเรียนอย่างไร

  • เรียนเสาร์ อาทิตย์ มีการแบ่งเวลาเรียนได้ดี อยู่ใกล้มหาวิทยาลัย
ภาพถ่าย