Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

  จากผลการดำประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินคะแนนเฉล่ี่ย 3.73 ระดับคุณภาพดี - โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร

ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้คือ -ผ่าน การประเมิน

          องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

          ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  2 นี้เท่ากับ    4.38.  อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

          องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  นักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

          ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  3 นี้เท่ากับ  3.67   อยู่ในระดับคุณภาพ -ดี

          องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์

          ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  4 นี้เท่ากับ    3.44   อยู่ในระดับคุณภาพ  -ดี

          องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

          ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  5 นี้เท่ากับ  3.75 อยู่ในระดับคุณภาพ -ดี

          องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด  มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

   ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่  ุ6 นี้เท่ากับ  4.00 อยู่ในระดับคุณภาพ -ดี  

 

         

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศศ.ม. (พุทธศาสนาและปรัชญา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ตำบลดงลาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

“ศึกษา ค้นคว้า วิจัย  และพัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธศาสนาและปรัชญา”

2) ความสำคัญของหลักสูตร

         ปรัชญาของหลักสูตรนี้ มีความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระบบเพราะต้องการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่คุณธรรมสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อองค์ความรู้คู่คุณธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านพุทธศาสนาและปรัชญา มีความรู้ มีคุณธรรม

2. ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจหลักพุทธศาสนาและปรัชญา ปรับใช้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

3. ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจแก่นแท้ของพุทธศาสนาและปรัชญามีภาวะผู้นำ

ใช้ปัญญาวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุและผล

1.4 รหัสหลักสูตร 25631866000686

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
5
4.38
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.38
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.44
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (12 ตัวบ่งชี้)
3.73
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 1 - - 4.38 4.38 ดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 3.44 - - 3.44 ดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 12 3.62 3.75 4.38 3.73 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

จุดที่ควรพัฒนา

         1.ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลแสดงผลงานวิชาการและตรวจสอบคุณสมบัติอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนา

1.ควรมีกิจกรรมในลักษณะจัดโครงการเสริมเพื่อให้เกิดบัณฑิตที่พึงประสงค์โดยยึดอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นหลักให้สอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตร คือ ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธศาสนาและปรัชญา

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

         1.ควรจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาในหลายพื้นที่และหลายสาขาอาชีพเจาะกลุ่มเป้าหมายด้วยการลงพื้นที่แบบ “เข้าถึงตัว”(ขายตรง) อีกทั้งควรเพิ่มช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตร   ด้วยการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงแก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการประชาสัมพันธ์แบบเจาะกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงตัวพร้อมกับการประเมินผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม 

         2.ควรจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จะเชิดชูอัตลักษณ์ของนักศึกษาในหลักสูตรให้เด่นชัดเป็นจุดแข็ง จุดแข่ง และจุดขาย

การบรรยายกระบวนการับนักศึกษา ควรมีการอธิบายเปรียยบเทียบกระบวนการรับจากปีการศึกษาที่เเล้ว

        3.เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการที่มีการปรับปรุง ระบบบ เเลกลไก รวมถึงการนำผลประเมินไปปรับปรุงเพื่อจะได้จำนวนนักศึกษาเป็นไปตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ใน มคอ 2

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

         1.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร ควรร่วมกันจัดทำปฏิทิน-แผนการพัฒนา-และ “แบบรายงานความก้าวหน้า” การพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนคณาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการทุกรูป/คนในระดับสูงยิ่งขึ้น  

          2.ส่งเสริมผลัดดันระบบเเละกลไก พร้อมทั้งสร้างเเรงจูงใจให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อเข้าดำรงตำเเหน่งทางวิชาการ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

         1.ควรเพิ่มช่องทางหรือวิธีการประเมินผู้เรียน(นักศึกษา)ในหลักสูตรผ่านสาระของรายวิชาที่มีผลการเรียนไม่ปกติเพื่อเก็บรายละเอียดไว้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรในรอบถัดไป

         2.ควรเพิ่มช่องทางหรือวิธีการประเมินผู้เรียนที่สะท้อนอัตลักษณ์นักศึกษาและบัณฑิตของหลักสูตรให้ชัดเจนที่สุด

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

โอกาสในการพัฒนา

        ควรดำเนินการโครงการกิจกรรมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน(แลกเปลี่ยนเรียนรู้)ระหว่างศิษย์เก่ากับศิษย์ปัจจุบันในสาขาหรือสาขาใกล้เคียงให้มากยิ่งขึ้น เช่น จัดกิจกรรมด้านพุทธศาสนาและปรัชญาในระดับปริญญาโท ควรเชิญนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเชิญนักศึกษาระดับปริญญาเอกเข้าร่วมกิจกรรมเชิงบอกเล่าประสบการณ์แก่นักศึกษารุ่นน้องระดับปริญญาตรีและปริญญาโท  ปรับเปลี่ยน “สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้” ให้เป็น “ผู้สนับสนุนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้”อีกชั้นหนึ่ง (กระตุ้นรุ่นน้องให้เกิดแรงบันดาลใจใฝ่สัมฤทธิ์)

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

บทสัมภาษณ์นักศึกษา

  1. นักศึกษามีความประทับใจ และอยากจะสะท้อนด้านการเรียนการสอนของหลักสูตรหรือไม่อย่างไร
  • มีความประทับใจอาจารย์เป็นกันเอง
  • อาจารย์ให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับนักศึกษามาก ให้กำลังใจดี เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน
  • มีความใกล้ชิดกันมาก สามารถปรึกษากันได้ตลอดเวลา ต้อนรับแบบอบอุ่น
  1. อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นอย่างไร มีเวลาให้นักศึกษาหรือไม่อย่างไร
  • มีในช่วงสถานการณ์โควิดได้พบปะผ่าน Social ในรูปแบบการเรียนการสอนผ่านระบบ Online
  • สามารถติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาได้โดยตรง ด้วยวิธีการทางออนไลน์ และทางโทรศัพท์ สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา อาจารย์ให้ความสำคัญกับนักศึกษาเป็นอย่างมาก
  1. ช่องทางในการรู้จัก มมร.วข.รอ และหลักสูตร
  • โครงการนักเผยแผ่เป็นนักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี
  • การประชาสัมพันธ์ของหลักสูตร ผ่านทางป้ายประชาสัมพันธ์ และทางออนไลน์ Facebook เป็นต้น และช่องทางจากคณาจารย์ ผู้บริหาร และรุ่นพี่ที่จบไปได้บอกต่อกัน
  1. สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนเป็นอย่างไร
  • สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนทาง มมร.วข.รอ ได้มีอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานให้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่เพิ่มเติมจากการสนับสนุนจากทางมหาวิทาลัย คือ อาจารย์ประจำหลักสูตร และนักศึกษาได้ส่งเสริมสนับสนุนช่วยเหลือกันซึ่งกันและกันในการจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
  • สิ่งสนับสนุนอำนวยความสะดวก เช่น ปากกาไวท์บอร์ด หมดอายุ และห้องน้ำ ไม่ค่อยสะอาดอยากให้ทางมหาวิทยาลัยปรับปรุงและแก้ไข
  1. อยากให้หลักสูตรได้ให้ช่วยเหลืออะไรกับนักศึกษา
  • อยากให้หลักสูตรเน้นวิชาการ และการปฏิบัติ ให้มีความสอดคล้องกันกับการจัดการเรียนการสอน
  1. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับการจัดการเรียนแบบ Online และ Onsite
  • การเรียนออนไลน์เป็นการแก้ปัญหาของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ แต่สู้การเรียนการสอนแบบ Onsite ไม่ได้ ยิ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยการให้คำปรึกษาโดยตรงจากอาจารย์ที่ปรึกษา และการเรียนรู้จากห้องเรียนจริง ๆ
ภาพถ่าย