Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทยมีองค์ประกอบ องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร และคุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตรผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านการปรับปรุงหลักสูตรตามระยะเวลาการที่กำหนดนั้น หลักสูตรปรับปรุง พ.. 2559 และหลักสูตรปรับปรุง พ.. 2562 ได้พัฒนาเป็นกรอบมาตรฐานวิชาชีพ (TQF) โดยมี TQF 1- TQF 7

          สรุป องค์ประกอบที่ ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ พ.ศ. 2558

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2564 จำนวน รูป 14 คน รวม 22 รูป/คน

          ด้านการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามกรอบ TQF ระหว่างศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามผลการประเมินระดับหลักสูตร (Improvement Plan)

          สรุป องค์ประกอบที่ 2  ผลการประเมินมีคะแนน 4.82 คุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา มีกระบวนการสอบคัดเลือกและเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ เช่น การปฐมนิเทศ มีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา โดยมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา กิจกรรมส่งเสริมความเป็นครู กิจกรรมฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

          สรุป องค์ประกอบที่ ผลการประเมินมีคะแนน 4.33 คุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ อัตราการคงอยู่ของอาจารย์ประจำหลักสูตรคิดเป็นร้อยละ 100 ด้านคุณภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิตรงกับสาขาวิชา และมีการพัฒนาความรู้ด้านวิชาการทั้งด้านศาสตร์ภาษาไทยและศาสตร์วิชาชีพครู

          สรุป องค์ประกอบที่ ผลการประเมินมีคะแนน 4.41 คุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน มีการออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร มีรายวิชาเฉพาะภาษาไทยที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมีเนื้อหารายวิชาครอบคลุมด้านหลักภาษาไทย การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร วรรณกรรมไทยร่วมสมัย วรรณคดีไทย คติชนวิทยา ภาษาศาสตร์ ตลอดจนมีการจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เช่น รายวิชาภาษากับการสื่อสารร่วมสมัย ซึ่งคำอธิบายรายวิชาครอบคลุมถึงการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการจัดการเรียนการสอนเน้นการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และเน้นให้ฝึกปฏิบัติจริง โดยมีการบูรณาการเนื้อหาวิชาเข้ากับโครงการสาขาวิชา โครงการอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับสาขาวิชา อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย มีการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์กรอบมาตรฐานคุณวุติระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

          อนึ่ง การบริหารงานหลักสูตรหมวดวิชาเฉพาะภาษาไทย และหมวดวิชาเฉพาะที่สัมพันธ์กับหลักเกณฑ์วิชาชีพครู คณะกรรมการบริหารหลักสูตรนำประสบการณ์ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ที่มีการแบ่งภาระงานที่ชัดเจน ทำให้ผลการประเมินหลักสูตรมีคุณภาพดีและจากประสบการณ์ดังกล่าว ทำให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2563 มีการแบ่งภาระงาน เช่น อาจารย์ริศร พงศ์สุวรรณ รับผิดชอบการบริหารงานหลักสูตรเรื่องหมวดวิชาชีพครู การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ โครงการที่สัมพันธ์กับการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ และงานวิจัยที่สัมพันธ์กับการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 5, อาจารย์เอี่ยม อามาตย์มุลตรี รับผิดชอบการบริหารงานหลักสูตรเรื่องการติดตาม มคอ.มคอ.และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ดร.จรุงภรณ์ กลางบุรัมย์ รับผิดชอบการบริหารงานหลักสูตรการติดตาม มคอ.มคอ.การกรอกผลการเรียนและผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ งานกิจการนักศึกษา โครงการการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา การประสานงานกับ มมร ส่วนกลางและคุรุสภา เรื่องการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยระบบ KPS BUNDIT และประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น มณฑลทหารบกที่ 27 ค่ายประเสริฐสงคราม เรื่องหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารในสถานศึกษาพระมหาอำนวย มหาวีโร,ดร. รับผิดชอบการบริหารงานหลักสูตรเรื่องหมวดวิชาเฉพาะภาษาไทย และเรื่องโครงการการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษา เป็นต้น

          สรุป องค์ประกอบที่ ผลการประเมินมีคะแนน 5.00 คุณภาพดีมาก

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 หลักสูตรมีการดำเนินงานพัฒนาห้องสมุด ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และจุดบริการอินเตอร์เน็ต

          สรุป องค์ประกอบที่ ผลการประเมินมีคะแนน 4.00 คุณภาพดี 

รวมคะแนนทั้ง 6 องค์ประกอบ 4.60  คุณภาพดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาไทย)

3) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถจัดการศึกษาด้านภาษาไทยได้อย่างมีคุณภาพ โดยบูรณาการความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาและมีทักษะการถ่ายทอดความรู้ การค้นคว้าวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีที่สอดคล้องกับผู้เรียน สภาพสังคม วัฒนธรรมและวิถีการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาไทยเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้สรรพวิชาอื่น ๆ อีกทั้งเป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมในการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้

  1. บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสอนภาษาไทย และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถบูรณาการปรับเปลี่ยนหลักแนวคิดและทฤษฎีการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายตามสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
  2. บัณฑิตมีทักษะการสอนภาษาไทย และสื่อสารภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีความรู้ภาษาไทยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ใช้กับการจัดเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
  3. บัณฑิตมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา และความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม สามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนางานทางวิชาชีพให้ก้าวหน้าสู่ระดับชาติและนานาชาติ
  4. บัณฑิตมีความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียน ประเมินผลทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพด้านการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.4 รหัสหลักสูตร 25621861101300

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.64
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.82
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
5
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
4.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
5
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.22
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.41
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
5
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
5
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
5
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.60
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.82 4.82 ดีมาก
3 3 4.33 - - 4.33 ดีมาก
4 3 4.41 - - 4.41 ดีมาก
5 4 5.00 5.00 - 5.00 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 4.46 4.75 4.82 4.60 ดีมาก
ผลการประเมิน ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

จุดเด่น

  1. บัณฑิตได้งานทำตรงกับสาขาที่เรียนอยู่ในระดับดีมาก

2. บัณฑิตมีคุณภาพได้รับการชื่นชมจากผู้ใช้บัณฑิตทุกด้าน โดยเฉพาะด้านคุณธรรมจริยธรรมและความรู้

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดเด่น

1. นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ทางวิชาการและได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมการแข่งขันความสามารถทางภาษาไทยส่งผลให้ได้รับรางวัลระดับชาติ

2. การดูแลให้คำปรึกษาเป็นระบบ อาจารย์เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด นักศึกษาได้รับความพึงพอใจส่งผลให้อัตราการคงอยู่ของนักศึกษาทุกชั้นปี ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก  

3. หลักสูตรมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

 

จุดเด่น

1. การมอบหมายภาระงานและการกำหนดบทบาทอาจารย์มีความชัดเจนส่งเสริมให้การบริหารอาจารย์มีประสิทธิภาพ

2. อาจารย์มีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการอยู่เสมอ

จุดที่ควรพัฒนา

1. ควรวางแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคล ทั้งด้านผลงานวิชาการ การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย และการพัฒนาความรู้ในศาสตร์ใหม่ ๆ ที่ทันสมัย พร้อมกำกับติดตามและประเมินผลสำเร็จของแผน และนำสู่การปรับปรุง โดยกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน

2. ควรจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารอาจารย์

3. ควรส่งเสริมให้อาจารย์เผยแพร่ผลงานในระดับนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รายงานผลการดำเนินงาน (มคอ.7)

  • หลักสูตรได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินในปีที่ผ่านมาอย่างครบถ้วน
  • หลักสูตรมีการประเมินและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่และรายงานตามสภาพจริง

จุดเด่น

  1. เน้นการมีส่วนร่วมของบัณฑิตนักศึกษา และผู้ใช้บัณฑิตในการเพื่อหาแนวทางสร้างจุดแข็งและปรับปรุงหลักสูตรให้มีประสทธิภาพ

    จุดที่ควรพัฒนา

    1. ควรประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตรในรอบปีที่ผ่านมา รวมถึงแนวโน้มสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นความทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต นำมาออกแบบหลักสูตรที่จะปรับปรุงในรอบต่อไป
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

1.       หลักสูตรมีเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอื่นเพื่อเพิ่มสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และทรัพยากรต่าง ๆ

2.       หลักสูตรควรจะมีการเตรียมความพร้อมสำหรับรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับอาจารย์ในการปฏิบัติการสอนและรองรับนักศึกษาที่มีความต้องการใช้สื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับการเรียนออนไลน์

จุดที่ควรพัฒนา

1.       ขยายเครือข่ายความร่วมมือกับท้องถิ่นชุมชนเพื่อเพิ่มสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ภายนอกมหาวิทยาลัย

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)

สิ่งที่ควรพัฒนา

ให้มีการพัฒนาในส่วนของการพัฒนาอาจารย์ให้มีสูงขึ้นทั้ทั้งคุณนวุฒิทางวิชาการและงานวิจัย

บทสัมภาษณ์

ผู้ใช้บัณฑิต 
ผู้ปกครอง
หลักสูตรโดดเด่นและมีคุณภาพมากที่สุดในด้านใด
1. หลักสูตรมีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิและคุณดีในการสื่อสารสั่งสอนให้นักศึกษามีความเป็นครูที่ดี
2. หลักสูตรสอนให้นักศึกษามีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง
3. หลักสูตรสอนให้นักศึกษามีความพร้อมสำหรับการเป็นแม่พิมพ์ที่ดี
นักศึกษาการสอนภาษาไทย
4. มีความประทับใจในการดูแลเอาใจใส่ของอาจารย์พ่อและอาจารย์แม่
นักศึกษาศิษย์ปัจจุบัน
1. สิ่งที่โดดเด่นคือสอนให้มีทัศนคติในเชิงบวก คณาจารย์มีความอบอุ่น เหมือนครอบครัวเดียวกัน

ภาพถ่าย