Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการประเมินของคณะกรรมการของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2564 มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี ที่คะแนน  3.74 โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน :  สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ รักษาคุณภาพด้านการกำกับมาตรฐานของหลักสูตร โดยมีอาจารย์ประจำหลักสูตรครบ 5 คน ตามกำหนด และอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ปี พ.ศ. 2558 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 คือ หลักสูตรได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต :  สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ผลิตบัณฑิตและจัดการเรียนการสอนให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาและวิชาชีพ ซึ่งมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานคุณภาพบัณฑิตระดับอุดมศึกษา (TQF) อันได้แก่ การเป็นผู้มีความรู้ ประกอบกับการมีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 เท่ากับ 4.61 ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา : สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาซึ่งจะต้องมีการวางแผนการรับนักศึกษาอย่างเป็นระบบ จึงได้มุ่งพัฒนากระบวนการรับนักศึกษา การสอบคัดเลือก และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ รวมถึงการเตรียมความพร้อม/ปรับพื้นฐานของนักศึกษาก่อนเข้าศึกษาต่อ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะพื้นฐานอันนำไปสู่การเอาตัวรอดในการดำเนินชีวิตประจำวัน และมีความรู้ความสามารถเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานระดับอุดมศึกษา ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 เท่ากับ 3.00 ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับ ปานกลาง

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ : สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มีการบริหารและพัฒนาคุณภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยการส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรผลิตผลงานทางวิชาการ การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา และการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ โดยกำหนดแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ รวมถึงการติดตามผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 เท่ากับ 3.81 ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 5  หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน : สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ กำกับบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง โดยจัดประชุมหลักสูตรในทุก ๆ ภาคการศึกษา เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อภาคการศึกษา และมีผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ซึ่งเอกสารประกอบเกี่ยวกับการประชุมหลักสูตร ประกอบด้วย 1) หนังสือเชิญประชุม 2) รายงานการประชุม 3) รายชื่อผู้เข้าประชุม ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 เท่ากับ 3.75 ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ : สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าถึงการให้บริการทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน โดยได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ผู้สอน (T) นักศึกษา และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน (S) จัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ อันจะช่วยพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสในปัจจุบัน ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้นำเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกต่อการจัดการเรียนการสอนเข้ามาใช้มากมาย รวมถึงมีการจัดอบรมการใช้งานสื่อเทคโนโลยีและโปรแกรมต่าง ๆ ให้กับอาจารย์ทุกคน ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 เท่ากับ 4.00 ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษ)

3) สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด ตำบลดงลาน อำเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

วันที่หลักสูตรได้รับการอนุมัติ/เห็นชอบ

1. สภาวิชาการเห็นชอบหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 3/2562 วันที่ 7 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2562

2. สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 3/2562 วันที่ 27 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2562

3. มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนมีการบูรณาการการสอนให้เข้ากับวิชาการทางพระพุทธศาสนาสามารถปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูสอนภาษาอังกฤษและเป็นบัณฑิตมีความรู้ความสามารถ (Capability) ทางด้านการสอนภาษาอังกฤษกล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครูในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปัจจุบันความต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถทางภาษาเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความพร้อมในการแข่งขันในบริบทนานาชาติและในบริบทประชาคมอาเซียน ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษมากพอที่จะเป็นแม่แบบได้และสามารถพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษของผู้อื่นได้อย่างถูกหลักวิชาการเรียนการสอนภาษา และในขณะเดียวกันมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงความรู้ทางภาษาอังกฤษกับบริบทของโลกาภิวัตน์ รวมทั้งสามารถศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้ ทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

  1. บัณฑิตมีความรู้ความเข้าใจในหลักการสอนภาษาอังกฤษ และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สามารถบูรณาการปรับเปลี่ยนหลักแนวคิดและทฤษฎีการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายตามสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
  2. บัณฑิตมีทักษะการสอนภาษาอังกฤษ และสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ประยุกต์ใช้กับการจัดเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
  3. บัณฑิตมีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา และความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีจิตอาสา เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม สามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเป็นนวัตกรรมใหม่ ในการพัฒนางานทางวิชาชีพให้ก้าวหน้าสู่ระดับชาติและนานาชาติ
  4. บัณฑิตมีความเข้าใจในกระบวนการวิจัยและประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียน ประเมินผลทางการศึกษา พัฒนาศักยภาพด้านการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864001166

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ (4 ปี) หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.22
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.61
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.44
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.81
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.74
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.61 4.61 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.81 - - 3.81 ดี
5 4 3.00 4.00 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.35 4.00 4.61 3.74 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1.ควรส่งเสริมกระบวนการรับนักศึกษาด้านกลยุทธ์ วิธีการ ช่องทางการรับนักศึกษาที่หลากหลาย เช่น การมอบทุนการศึกษา การใช้ศิษย์เก่า เข้ามามีบทบาทในการรับนักศึกษา

2.ควรมีการปรับปรุงการส่งเสริมนักศึกษา ให้ชัดเจนและมีโครงการรองรับในการจัดกิจกรรม เขียนกระบวนการ PDCA ให้ชัดเจน

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

1.ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรพัฒนาการเรียนในระดับปริญญาเอก

2.ส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ได้ขอตำแหน่งทางวิชาการ

3.ส่งเสริมให้อาจารย์ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในฐานที่สูงขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

1.หลักสูตรควรมีการวางระบบและกลไกการประเมินผู้เรียน การกำหนดผู้สอนให้ชัดเจนและแสดงถึงผลลัพธ์เป็นอย่างไร ในช่วงสถานการณ์โควิด19

2.ควรปรับปรุงกระบวนการหรือการสร้างเครื่องมือในการประเมินผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และการนำ มคอ.5 ทุกรายวิชามาวิเคราะห์การเรียนการสอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย