Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

 ในรอบปีการศึกษา 2564 ( มิถุนายน 2564–พฤษภาคม 2565) หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ได้คะแนนการประเมินตนเองในภาพรวมเฉลี่ย 3.92 มีคุณภาพอยู่ในระดับ..ดี เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ มีผลการประเมินทั้ง 6 องค์ประกอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

องค์ประกอบที่ การกำกับมาตรฐาน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สกอ.) มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ บัณฑิตหลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ..4.84.. ระดับคุณภาพ...ดีมาก...

องค์ประกอบที่ นักศึกษา หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการรับนักศึกษา ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และด้านผลที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ...3.00..ระดับคุณภาพ..ปานกลาง.....

องค์ประกอบที่ อาจารย์หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์ ด้านคุณภาพอาจารย์และด้านผลที่เกิดกับอาจารย์ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ระดับคุณภาพ..ดี.

องค์ประกอบที่ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสาระของรายวิชาในหลักสูตร ด้านการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการประเมินผู้เรียน และด้านผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.25 ระดับคุณภาพ..ดีมาก..

องค์ประกอบที่ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตร ฯ ได้ดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ..4.00..ระดับคุณภาพ..ดี.  

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง)

3) สาขาวิชาการปกครอง

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตร้อยเอ็ด

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

     หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มี คุณสมบัติสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยว่าด้วย “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนว พระพุทธศาสนา” อีกทั้งเสริมสร้างทักษะความรู้ ความสามารถทางรัฐศาสตร์แบบบูรณาการให้ สอดคล้องกับศาสตร์พระราชาและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 มาตรฐานการอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยพื้นฐาน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ รวมทั้งสนับสนุนให้ฝึกภาคสนามในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองคณะสงฆ์ และหน่วยงานอื่น ๆ หรือการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญา ตรี รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ตามระเบียบวิธีทางวิชาการ และสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม 

2) ความสำคัญของหลักสูตร

      เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ตามแนวพระพุทธศาสนาและตามหลักวิชาการสากล ทั้งในมิติการเมืองในประเทศและการเมือง ระหว่างประเทศ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาและปรัชญาของ หลักสูตร เป็นกำลังที่สำคัญของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่าง ยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา   

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

2. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีทักษะทางปัญญาและการคิดอย่างเป็นระบบ พัฒนา และต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์

3. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตาม และจิตสาธารณะ พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 4. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ เข้าใจปัญหาสังคมและสามารถ วิพากษ์วิจารณ์ตามหลักวิชาการทางรัฐศาสตร์และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

5. เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการค้นคว้าหาความรู้ทางด้านวิชาการ 

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864000673

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.68
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.84
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.00
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.78
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.25
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.92
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.84 4.84 ดีมาก
3 3 3.00 - - 3.00 ปานกลาง
4 3 3.78 - - 3.78 ดี
5 4 4.00 4.33 - 4.25 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.48 4.25 4.84 3.92 ดี
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

ควรมีการอธิบายรายละเอียดของการประเมินปีการศึกษาที่เเล้วเพื่อเห็นเเนวโน้มการพัฒนาของปีนี้

ควรเขียนผลงานทางวิชาการเเบบ apa

ควรมีการเเนบเอกสารผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้สอน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

ควรมีการกำกับติดตามอาชีพของบัณฑิต เพื่อผลการพัฒนาอาชีพที่ตรงสายตามที่จบการศึกษาของหลักสูตร

ควรมีการรายงานผลการสำเร็จนักศึกษาให้ตรงตามข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ควรมีการรายงานเปรียบเทียบกรรับนักศึกษา 3 ปีย้อนหลังเพื่อเเสดงให้เห็นถึงเเนวโน้มการรับนักศึกษา 

ควรมีการรายงานปลการพัฒนากิจกรรมเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา

ควรมีการรายงานผลกิจกรรมที่สามารถพัฒนานักศึกษาตามทักษะสตวรรษที่21 ว่ากิจกรรมใดพัฒนานักศึกษาในด้านใด เเละเเนวโน้มการปรับปรุงจากปีการศึกษาที่เเล้ว

ควรมีการรายงานอัตราการคงอยุ่ของนักศึกษา เเละกำกับติดตามสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาลาออกกลางคันเพื่อเป็นเเนวทางในการพัฒนา

ควรมีการรายงานจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน เเละควรมีการอธิบายระบบเเละกลไลการนำเรื่องเสนอการรับนักศึกษาเพิ่มจาก มคอ2

ควรมีรายละเอียดโครงการการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา เเละเเดสงผลการประเมินของนักศึกษา

ควรมีการรายงานผลการดำเนินงาน การประเมิน อาจารย์ที่ปรึกษา เเละการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในศตวรรษที่21 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ควรมีการรายงานเปรียบเทียบเเนวโน้ม3ปี เพื่อเเสดงให้เห็นถึงการพัฒนา

ควรมีการทำIDP รายบุคคล เพื่อเป็นการวางเเผนการบริหารอาจารย์ระยะสั้นเเละระยะยาว

ควรมีการสนับสนุนการเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ควรมีการรายงานเเนมโน้มการปรับปรุงหลักสูตร เช่น การร่างหลักสูตร การวิพากษ์หลักสูตรภายในภายนอกเป็นต้น

ควรมีการเเนบเอกสารการประชุมหลักสูตรปี 2564 ให้ชัดเจน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ควรมีการรายงานผลการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น การเรียนการสอนOn;ine การจัดสรรสิ่งสนับสนุน การเเนะนำระบบ Program text หรือสื่ออิเล็กโทรนิคต่างๆในการสืบค้นความรู้ให้เเก่นักศึกษาเเละอาจารย์ให้ชัดเจน

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ผูัใช้บัณฑิต - ด้านเทคโนโลยีบัณฑิตสามารถทำได้ดี ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอยู่ร่วมกับชุมชน เครือข่ายต่างๆ เเละองค์กรได้เป็นอย่างดี

นักศึกษาพระ - ควรมีการส่งเสิรมด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษายุคปัจจุบัน 

มีความประทับใจในตัวอาจารย์ผู้สอนที่มีการเเนะนำในด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เเละเรื่องอื่นๆ ควรให้ผู้บริหารมีการกำกับติดตามดูเเลนักศึกษาเพิ่มเติม 

นักศึกษา - ความต้องการในภาพรวมได้เเก่สถานที่ ห้องเรียนคับเเคบ เเต่สามารถเเก้ไขปัญหาได้ทัน มองอนาคตว่าสามารถนำความรู้ความสามารถไปพัฒนาต่อยอดเพื่อนำไปประกอบอาชีพที่ต้องการ

ศิษย์เก่า - ความรู้ที่ได้รับสามารถนำมาใช้ในการทำงาน ด้านเทคโนโลยี การลงพื้นที่ นำเสนองาน สามารถเป็นผู้นำในด้านพิธีทางพระพุทธศาสนาได้ มีความภูมิใจในสถาบันเเละพร้อมให้ความชาวยเหลือมหาวิทยาลัยในอนาคต

ผู้ปกครอง - การมาเรียนที่มหาวิทลัยสามารถนำไปต่อยอดการใช้ชีวิตประจำวันได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา บุตรหลานสามารถสอบเข้ารับราชการตำรวจได้

 

ภาพถ่าย