Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564


บทสรุปผู้บริหาร

  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ให้มีความพร้อมและตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยยึดหลักความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานที่กำหนดไว้

  1. ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

             2.1 ผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ

             หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563) ในปี พ.ศ.2564 มีนักศึกษาทั้งสิ้น 204 รูป/คน ประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี (ภาคปกติ) จำนวน 58 รูป/คน นักศึกษาระดับปริญญาตรี (ภาคนอกเวลาราชการ) จำนวน 146 คน (บรรพชิต 42 รูป และคฤหัสถ์ 162 คน)

             อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเริ่มกระบวนการวางแผนการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยนำผลการประเมินในปีที่ผ่านมา (2563) ใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนโดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2564-31 พฤษภาคม 2565 และดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตรประจำปี 2564 (มคอ.7) หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ตามตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรที่กำหนดไว้ 6 องค์ประกอบ และ 13 ตัวบ่งชี้ จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต เมื่อประเมินโดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน และอิงเกณฑ์การประเมินตามที่ สกอ. กำหนดในรอบปีการศึกษา 2564 ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

                จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.90 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก โดยมีรายละเอียด ผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

                  องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

                  องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในด้านวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้ เท่ากับ 4.89

              องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง นักศึกษาระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถ ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้ เท่ากับ 3.33

                องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์ และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมิน ตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.96

                องค์ประกอบที่ 5 การเรียนการสอนการประเมินผู้เรียน หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้ เท่ากับ 3.75

               องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร

2) ชื่อปริญญา

3) สาขาวิชาการปกครอง

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

2) ความสำคัญของหลักสูตร

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.78
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.89
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.89
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.96
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.90
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.89 4.89 ดีมาก
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 3.96 - - 3.96 ดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.70 3.75 4.89 3.90 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

ควรมีการเขียนบรรณานุกรมผลงานทางวิชาการของอาจารย์เเบบ APA

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

คุณภาพบัณฑิตเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บัณฑิต เเละตลอดเเรงงาน

หลักสูตรควรมีการส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร เเละภาษาอังกฤษ ในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพทักษะของบัณฑิตมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ในกรณีที่มีการรับนักศึกาาเกินจาก มคอ.2 ที่ได้กำหนดไว้ หลักสูตรควรมีระบบกลไก ขั้นตอนในการทำเอกสารขอรับนักศึกษาเพิ่ม หลักสูตรอาจมีการเพิ่มอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้สมดุลกับจำนวนนักศึกษา

หลักสูตรมีการปรับกระบวนการประชาสัมพันธ์ที่ดีขึ้นเละไดเรับจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น อาจมีการนำรุ่นพี่มาช่วยประชาสัมพันธ์

ควรมีการรายงานค่าร้อยละที่เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่เเล้ว

การเตรียมความพร้อมควรมีการสำรวจปัญหา เเละสัมภาษณ์นักศึกษา เพื่อจัดโครงการเเละการเรียนการสอน เเละควรมีการประเมินผลให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ เเละสามารถตอบสนองความต้องการของทักษะที่ต้องการเตรียมความพร้อม

ควรมีการสร้างเครือข่ายนอกสถาบัน เเละเชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ตรงให้นักศึกษา

ควรมีการเเสดงผลลัพธ์ที่ชัดเจนในการจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนานักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ควรมีการสนับสนุนอาจารย์ให้เข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ

ควรมีการรางงานตารางการบรรลุIDP ตามตัวบ่งชี้ในเเผนบริหารอาจารย์กำหนด เเละรายงานผลการดำเนินงานของการทำผลงานของอาจารย์เเต่ละท่าน

อาจารย์มีผลงานทางวิชาการที่มีการตีพิมพ์ในฐาน ตามเกณฑ์ สกอ

ควรมีการสร้างขวัญเเละกำลังใจส่งเสริมให้อาจารย์ทุกท่านทำงานวิจัย เเละนำไปเผยเเพร่ระดับชาติ เเละนานาชาติ เพื่อสามารถนำไปขอตำเเหน่งทางวิชาการได้

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

หลักสูตรควรมีการปรับวิธีสอน รายละเอียดเนื้อหา เพื่อให้มีการพัฒนารายวิชาให้ทันสมัยเป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน เเละเเสดงให้เห็นถึงเเนวการปรับที่ดีขึ้นจากปีการศึกษา 2563อย่างไร โดยไม่กระทบกับคำอธิบายรายวิชา

หลักสูตรควรมีการเเสดงผลการดำเนินงานด้านการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการให้ครบท้ง3 ด้าน เช่น ให้นักศึกษาสำรวจความต้องการของชุมชน เข้าร่วมการบริการวิชาการโดยนำเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องเข้าไปบริการ ทอดเเทรกศิลปวัฒนธรรม หรือภูมิปัญญาท้องถินในกระบวนการเรียนการสอน เป็นการต่อยอดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

การประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาต้องมีการนำผลการทวนสอบมาปรับปรุง มคอ3 5 ในปีกาีศึกษาถัดไป เพื่อเเสดงถึงผลการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรควรมีการสำรวจความต้องการของผู้ใช้สิ่งสนับสนนการเรียนรู้ เเละจัดทำเป็นเเผนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

หลักสูตรควรเเสดงผลการดำเนินงานการใช้สิ่งสนับสนุนโดยใช้การเรียนการสอน การสืบค้นเเบบOnline ที่ชัดเจน เเละควรมีการทำความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรภายนอก เพื่อสามารถเป็นช่องทางในการใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติม

หลักสูตรควรมีการสร้าง Program เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ครบวงจร เช่น หลักสูตรมีการสร้างตารางสอน Online หรือการใช้ Classroom ที่เป็นห้องรวมการเรียนการสอน การอำนวยความสะดวกที่สามารถให้นักศึกษา Download link เอกสารได้

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย