Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพิ่อการพัฒนาองค์กรทุกๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมกาอุดมศึกษาหรือ สกอ.ได้กำหนดให้สถาบัน อุดมศึกศึษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจำนวน 13 ตัวบ่งชี้ รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกศึษา 2564 วงรอบ มีการประเมินตนเองตามหลักเกณฑ์ของ สกอ.โดยคะแนนเต็ม 1-5 คะแนน ทุกตัวบ่งชี้ซึ่งซึ่ผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ผ่านการประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ได้คะแนน 3.41 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 3 นักนัศึกศึษา ได้คะแนน 3.67 อยู่ในระดับดี
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ ได้คะแนน 4.33 อยู่ในระดับดีมาก
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรีนการสอน ได้คะแนน 3.75 อยู่นระดับดี
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน 4.00 อยู่ในระดับปานกลาง รวมทุกองค์ประกอบ ได้คะแนน รวม 3.83 อยู่ในระดับดี โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกศึษาภายใน ระดับหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผ่าน การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ศศ.ม.(พุทธศาสนาและปรัชญา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด บัณฑิตวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

บัณฑิตวิทยาลัย

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

“ศึกษา ค้นคว้า วิจัย  และพัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธศาสนาและปรัชญา”

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตรนี้ มีความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระบบเพราะต้องการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้คู่คุณธรรมสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา และสอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัย คือ ส่งเสริมศึกษา ค้นคว้าวิจัย เพื่อองค์ความรู้คู่คุณธรรม

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านพุทธศาสนาและปรัชญา มีความรู้ มีคุณธรรม

2.ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจหลักพุทธศาสนาและปรัชญาปรับใช้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

3.ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจแก่นแท้ของพุทธศาสนาและปรัชญามีภาวะผู้นำใช้ปัญญาวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุและผล

1.4 รหัสหลักสูตร 25481861109191

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
บัณฑิตวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของอาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.32
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
5
2.50
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.41
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
5.00
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.33
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.83
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 3.41 3.41 ดี
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 4.33 - - 4.33 ดีมาก
5 4 3.00 4.00 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.86 4.00 3.41 3.83 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดี ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

        - จุดเด่น

         1.หลักสูตรได้นำผลการประเมินตามข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินเมื่อปีที่ผ่านมามาวางระบบและกลไกทบทวน ดำเนินการ  ติดตาม พัฒนา และประเมินให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการผลิตผลงานทางวิชาการมากขึ้นชัดเจนเป็นรูปธรรม

        - จุดที่ควรพัฒนา

         1.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร(อรส.) ควรเร่งส่งเสริมพัฒนาผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับสูงยิ่งขึ้น และเพื่อสร้างเสถียรภาพและมาตรฐานให้แก่หลักสูตรในอนาคต

         2.ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลแสดงผลงานวิชาการและตรวจสอบคุณสมบัติอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

- จุดที่ควรพัฒนา

          1.ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา(บัณฑิต)ในระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารที่มีค่าน้ำหนักสูงและได้มาตรฐานยิ่งขึ้น อีกทั้งเพิ่มช่องทางในการนำเสนอผลงานให้ประจักษ์แก่สายตาสาธารณชนมากยิ่งขึ้น    

          2.หลักสูตรควรสำรวจข้อมูลบัณฑิตที่นำเสนอผลงานทางวิชาการหรือเผยแพร่ในวารสารต่างๆ เพื่อประเมินค่าน้ำหนักโดยรวมแล้วหาวิธีส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีค่าน้ำหนักสูงขึ้นไป พร้อมกำกับติดตามการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างใกล้ชิด

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

      - จุดที่ควรพัฒนา

         1.ควรจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาในหลายพื้นที่และหลายสาขาอาชีพเจาะกลุ่มเป้าหมายด้วยการลงพื้นที่แบบ “เข้าถึงตัว”(ขายตรง) อีกทั้งควรเพิ่มช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตร   ด้วยการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงแก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการประชาสัมพันธ์แบบเจาะกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงตัวพร้อมกับการประเมินผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม  (เช่น อาจารย์ 3 รูป/คน ควรหานักศึกษามาศึกษาในหลักสูตรให้ได้ท่านละ  5 จะได้จำนวนนักศึกษา  3 x 5 = 15 รูป/คน)  

         2.ควรจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จะเชิดชูอัตลักษณ์ของนักศึกษาในหลักสูตรให้เด่นชัดเป็นจุดแข็ง จุดแข่ง และจุดขาย

         3.ควรปรับลดขั้นตอนการติดต่อประสานงานด้านเอกสารในระหว่างการศึกษาให้น้อยลงเพื่ออำนวยความสะดวกและเกิดความคล่องตัวแก่นักศึกษา โดยบริการแบบ One Stop Service เพื่อสร้างความประทับใจจนเกิดความพึงพอใจแก่นักศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อการนำพาคนใกล้ชิดมาศึกษาในหลักสูตรมากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

         1.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร ควรร่วมกันจัดทำปฏิทิน-แผนการพัฒนา-และ “แบบรายงานความก้าวหน้า” การพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนคณาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการทุกรูป/คนในระดับสูงยิ่งขึ้น  

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

      - จุดที่ควรพัฒนา

         1.ควรเพิ่มช่องทางหรือวิธีการประเมินผู้เรียน(นักศึกษา)ในหลักสูตรผ่านสาระของรายวิชาที่มีผลการเรียนไม่ปกติเพื่อเก็บรายละเอียดไว้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรในรอบถัดไป

         2.ควรเพิ่มช่องทางหรือวิธีการประเมินผู้เรียนที่สะท้อนอัตลักษณ์นักศึกษาและบัณฑิตของหลักสูตรให้ชัดเจนที่สุด

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

        ควรดำเนินการโครงการกิจกรรมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน(แลกเปลี่ยนเรียนรู้)ระหว่างศิษย์เก่ากับศิษย์ปัจจุบันในสาขาหรือสาขาใกล้เคียงให้มากยิ่งขึ้น เช่น จัดกิจกรรมด้านพุทธศาสนาและปรัชญาในระดับปริญญาโท ควรเชิญนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเชิญนักศึกษาระดับปริญญาเอกเข้าร่วมกิจกรรมเชิงบอกเล่าประสบการณ์แก่นักศึกษารุ่นน้องระดับปริญญาตรีและปริญญาโท  ปรับเปลี่ยน “สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้” ให้เป็น “ผู้สนับสนุนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้”อีกชั้นหนึ่ง (กระตุ้นรุ่นน้องให้เกิดแรงบันดาลใจใฝ่สัมฤทธิ์)

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์ผู้แทนนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่า

1.ก่อนเรียนคิดอย่างไรมาเรียนในหลักสูตรนี้ และ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

รายวิชาน่าสนใจ

ชอบเรื่องปรัชญา โดยมีพื้นฐานจากระดับปริญญาตรี โท และต่อยอดปริญญาเอก

ทุนการศึกษา มาจาก การทำงานและโยมอุปัฏฐาก

2. อาจารย์ดูแลอย่างไร ช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนอย่างไรในขณะเรียน

            อาจารย์มีความใส่ใจในการจัดการเรียนการสอน online มีการแลกเปลี่ยนเรียนในห้องเรียน

            อาจารย์มีสื่อสารเรียนการสอนที่หลากหลาย มีการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสังคม ข่าว และการเขียนบทความ  

3. หลังเรียนจบแล้วท่านมีจุดมุ่งหมายอย่างไร

                       มีความสนใจที่จะต่อปริญญาเอกในสาขานี้ มีสาระรายวิชาที่น่าสนใจและสามารถนำไปต่อยอดสืบสานพระพุทธศาสนา

                       เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

สัมภาษณ์ผู้แทนศิษย์เก่า

1.ปัญหาและอุปสรรค์สิ่งที่อยากจะปรับแก้ไขอย่างไร

เดินทางมาเรียนไกล ค่าใช้จ่ายสูง  ถ้าใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์เข้ามาด้วย จะดี โดยการสลับการเรียนทั้ง online และ onsite       

การประชาสัมพันธ์ให้มาก

สร้างทัศนคติที่นักศึกษาที่เรียนรู้ ให้รักสถาบัน และเลิกโจมตีสถาบัน พัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนมารยาท การพูดจา การทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน

 2.หลักธรรมที่นำไปใช้ในหน่วยงาน            

       สังคหวัตถุ 4 ความมีเมตตา เอื้อการุณ ช่วยเหลือ และคุยกันด้วยเหตุผล กัลยาณมิตร

 3.มีดีตรงไหนที่มีความประทับใจในสาขาวิชานี้

                      ประทับใจในตัวอาจารย์ คุณวุฒิจบตรง ปริญญาตรี โท เอก แน่นในเรื่องของหลักธรรม         

4.รายวิชาที่อยากให้ปรับในหลักสูตร

                      การประยุกต์รายวิชาให้เข้ากับหลาย ๆ ศาสตร์ และสาขางานยังแคบอยู่ เพื่อให้รองรับกับตลาดแรงงาน

ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัย เช่น การนำ VDO เหตุการณ์ปัจจุบัน มาวิเคราะห์กระบวนการนำหลักพระพุทธศาสนาไปใช้

 

ภาพถ่าย