Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.74 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพ ดี

โดยมีรายละเอียด ผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 3.44 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือก นักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองใน องค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.67 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ คบัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมิน ตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.92 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดี

 องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.75 หลักสูตรได้ มาตรฐาน ระดับ ดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ปร.ด. (พุทธศาสนาและปรัชญา)

3) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด บัณฑิตวิทยาลัย

2) สถานที่เปิดสอน

บัณฑิตวิทยาลัย 

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

“รอบรู้พระพุทธศาสนา เชี่ยวชาญปรัชญา กล้าหาญทางคุณธรรม นำองค์ความรู้สู่การพัฒนามนุษย์”

2) ความสำคัญของหลักสูตร

การแสวงหาและต่อยอดแนวคิดทางการศึกษา เพื่อเติมเต็มองค์แห่งความรู้ในสิ่งที่ขาดหายไป เพื่อสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดต่าง ๆ   อันจะก่อให้เกิดความร่วมมือ ความเข้าใจ และไว้ใจซึ่งกันและกัน ก้าวผ่านความรู้ความเชื่อแบบมิติเดียว ตระหนักในความสำคัญของคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง

               พุทธศาสนาและปรัชญาได้ทำหน้าที่พยุงคุณค่าทางด้านความคิด ความเชื่อ ตลอดทั้งภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังคงทำหน้าที่ของตนเองต่อไป ทิศทางการศึกษาของมนุษยชาติจะก้าวหน้าและดำเนินไปในทิศทางใด สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือผู้ชี้แนะแนวทางให้แก่สังคม ผู้ที่จะสามารถชี้แนะแนวทางการศึกษาได้ดีนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักพุทธศาสนาและปรัชญาเป็นอย่างดี จึงจะสามารถทำหน้าที่นั้นได้อย่างสมบูรณ์  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงคุณค่าของพุทธศาสนาและปรัชญาดังกล่าว จึงได้ให้ความสำคัญต่อการผลิตบัณฑิตที่ทรงความรู้และความสามารถทางพุทธศาสนาและปรัชญา สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถชี้นำสังคมสู่วิถีทางที่ถูกต้อง และเสริมสร้างสันติสุขแก่สังคมโลก จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะขยายการศึกษาในด้านพุทธศาสนาและปรัชญาให้กว้างขวางในสังคมมากยิ่งขึ้น

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางพุทธศาสนาและปรัชญา สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ และบูรณาการกับวิทยาการสมัยใหม่ได้อย่างเป็นระบบ

 2.เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีบุคลิกภาพดี  สามารถนำความรู้ประยุกต์ใช้กับสังคม สามารถให้ข้อเสนอแนะและชี้นำแก่สถาบันและองค์กรต่าง ๆ ในสังคมได้เป็นอย่างดี

 3.เพื่อสร้างนักคิดและผู้นำที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีจิตใจกว้างขวาง กล้าหาญและเสียสละ

 4.เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นต้นแบบทางความคิดอันเกิดจากการวิจัยทางด้านพุทธศาสนาและปรัชญาในระดับสูง บัณฑิตสามารถสร้างทฤษฎีขึ้นใหม่ได้ โดยเน้นประสบการณ์ในงานวิจัยและมีวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพดี เพื่อพัฒนาวิชาการด้านพุทธศาสนาและปรัชญาของชาติ

1.4 รหัสหลักสูตร 25521861109533_2106_IP

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
บัณฑิตวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งศาสตราจารย์ขึ้นไป และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลังโดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง คุณสมบัติของ

อาจารย์พิเศษ (ถ้ามี) มีคุณวุฒิขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน และต้องมีประสบการณ์ด้านการสอนและมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง มีชั่วโมงสอนไม่เกินร้อยละ 50 ของรายวิชา โดยมีอาจารย์ประจำเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชานั้น

ผ่าน
5. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ ต้องเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
6. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือขั้นต่ำปริญญาโท หรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และต้องมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการในรอบ 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย
ผ่าน
7. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกไม่น้อยกว่า 5 คน ประธานผู้สอบวิทยานิพนธ์ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือ ขั้นต่ำปริญญาโทหรือเทียบเท่าและดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน และมีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 3 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย 1 รายการต้องเป็นผลงานวิจัย

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่าและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 10 เรื่อง หากไม่มีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตามที่กำหนดจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ โดยผ่านการเห็นชอบของสภาสถาบันและแจ้ง กกอ ทราบ

ผ่าน
8. การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา

การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา กรณี แผน ก1 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. กรณี แผน ก2 ต้องได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศของ กกอ. หรือ นำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ (proceedings) กรณี แผน ข รายงานการค้นคว้าหรือส่วนหนึ่งของการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

ผ่าน
9. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา

วิทยานิพนธ์ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 5 คน

การค้นคว้าอิสระ อาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก 1 คนต่อนักศึกษา 15 คน

หากอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกและมีตำแหน่งทางวิชาการหรือปริญญาโท และมีตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป 1 คนต่อนักศึกษา 10 คน หากเป็นที่ปรึกษาทั้ง 2 ประเภทให้เทียบสัดส่วนนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ 1 คนเทียบเท่ากับนักศึกษาที่ค้นคว้าอิสระ 3 คน

ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.21
2.2 ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่
5
2.66
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
3.44
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.75
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.92
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.74
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 3.44 3.44 ดี
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 3.92 - - 3.92 ดี
5 4 3.00 4.00 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.68 4.00 3.44 3.74 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดี ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

- จุดเด่น

         1.หลักสูตรได้นำผลการประเมินตามข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินเมื่อปีที่ผ่านมามาวางระบบและกลไกทบทวน ดำเนินการ  ติดตาม พัฒนา และประเมินให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการผลิตผลงานทางวิชาการมากขึ้นชัดเจนเป็นรูปธรรม

        - จุดที่ควรพัฒนา

         1.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร(อรส.) ควรเร่งส่งเสริมพัฒนาผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับสูงยิ่งขึ้น และเพื่อสร้างเสถียรภาพและมาตรฐานให้แก่หลักสูตรในอนาคต

         2.ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลแสดงผลงานวิชาการและตรวจสอบคุณสมบัติอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

- จุดที่ควรพัฒนา

          1.ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา(บัณฑิต)ในระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารที่มีค่าน้ำหนักสูงและได้มาตรฐานยิ่งขึ้น อีกทั้งเพิ่มช่องทางในการนำเสนอผลงานให้ประจักษ์แก่สายตาสาธารณชนมากยิ่งขึ้น   

          2.หลักสูตรควรสำรวจข้อมูลบัณฑิตที่นำเสนอผลงานทางวิชาการหรือเผยแพร่ในวารสารต่างๆ เพื่อประเมินค่าน้ำหนักโดยรวมแล้วหาวิธีส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีค่าน้ำหนักสูงขึ้นไป พร้อมกำกับติดตามการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างใกล้ชิด

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

         1.ควรจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักศึกษาในหลายพื้นที่และหลายสาขาอาชีพเจาะกลุ่มเป้าหมายด้วยการลงพื้นที่แบบ “เข้าถึงตัว”(ขายตรง) อีกทั้งควรเพิ่มช่องทางที่หลากหลายเพื่อให้ข้อมูลที่ชัดเจนประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตร   ด้วยการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงแก่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการประชาสัมพันธ์แบบเจาะกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงตัวพร้อมกับการประเมินผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม  (เช่น อาจารย์ ๓ รูป/คน ควรหานักศึกษามาศึกษาในหลักสูตรให้ได้ท่านละ  5 จะได้จำนวนนักศึกษา  3 x 5 = 15 รูป/คน)  

        2.ควรจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จะเชิดชูอัตลักษณ์ของนักศึกษาในหลักสูตรให้เด่นชัดเป็นจุดแข็ง จุดแข่ง และจุดขาย

         3.ควรปรับลดขั้นตอนการติดต่อประสานงานด้านเอกสารในระหว่างการศึกษาให้น้อยลงเพื่ออำนวยความสะดวกและเกิดความคล่องตัวแก่นักศึกษา โดยบริการแบบ One Stop Service เพื่อสร้างความประทับใจจนเกิดความพึงพอใจแก่นักศึกษา ซึ่งจะส่งผลต่อการนำพาคนใกล้ชิดมาศึกษาในหลักสูตรมากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

         1.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร ควรร่วมกันจัดทำปฏิทิน-แผนการพัฒนา-และ “แบบรายงานความก้าวหน้า” การพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนคณาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการทุกรูป/คนในระดับสูงยิ่งขึ้น 

         2.ควรพัฒนาผลงานทางวิชาการและจัดพิมพ์เผยแพร่ในช่องทางที่จะได้รับการอ้างอิง(Citation)นำไปใช้ประโยชน์หรือเกิดผลกระทบต่อแวดวงวิชาการและสังคมมากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

         1.ควรเพิ่มช่องทางหรือวิธีการประเมินผู้เรียน(นักศึกษา)ในหลักสูตรผ่านสาระของรายวิชาที่มีผลการเรียนไม่ปกติเพื่อเก็บรายละเอียดไว้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรในรอบถัดไป

         2.ควรเพิ่มช่องทางหรือวิธีการประเมินผู้เรียนที่สะท้อนอัตลักษณ์นักศึกษาและบัณฑิตของหลักสูตรให้ชัดเจนที่สุด

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนา

        1.ควรดำเนินการโครงการกิจกรรมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน(แลกเปลี่ยนเรียนรู้)ระหว่างศิษย์เก่ากับศิษย์ปัจจุบันในสาขาหรือสาขาใกล้เคียงให้มากยิ่งขึ้น เช่น จัดกิจกรรมด้านพุทธศาสนาและปรัชญาในระดับปริญญาโท ควรเชิญนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และเชิญนักศึกษาระดับปริญญาเอกเข้าร่วมกิจกรรมเชิงบอกเล่าประสบการณ์แก่นักศึกษารุ่นน้องระดับปริญญาตรีและปริญญาโท 

       2.ควรปรับเปลี่ยนบรรยากาศของการสร้าง “สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้” ให้เป็น “ผู้สนับสนุนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้”อีกชั้นหนึ่ง (กระตุ้นรุ่นน้องให้เกิดแรงบันดาลใจใฝ่สัมฤทธิ์เรียนรู้สิ่งใกล้ตัว-บุคคลใกล้ตัว-เหตุการณ์ใกล้ตัว-ข้อมูลรอบตัวให้มากที่สุด)

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย