Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

คณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาองค์กรทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสกอ. ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามองค์ประกอบคุณภาพ 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ โดยเป็นกลุ่มสถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรีตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจานวน 13 ตัวบ่งชี้ รายงานการประเมินตนเองฉบับนี้ปีการศึกษา 2564 วงรอบ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กรกฎาคม 2565 มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ของสกอ. โดยคะแนนเต็ม 1-5 คะแนนทุกตัวบ่งชี้ซึ่งผลการประเมินมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

องค์ประกอบที่ 1  การกำกับมาตรฐาน ผ่านการประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรได้มาตรฐาน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต       ได้คะแนน  4.62  อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา     ได้คะแนน  3.67   อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์       ได้คะแนน  4.44  อยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ได้คะแนน 3.75 อยู่ในระดับคุณภาพ ดี

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้คะแนน 5.00 อยู่ในระดับคุณภาพ ดีมาก

โดยภาพรวมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้คะแนน 4.12  อยู่ในระดับ  ดีมาก การประเมินถือว่าเป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Sociology and Anthropology)

3) สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะสังคมศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง)  ที่ตั้งอยู่ที่ 248  หมู่ที่ 1

ถนนศาลายา - นครชัยศรี  ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  73170

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในแนวคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยา มีทักษะด้านการวิจัยทางสังคม ธรรมะวิจัย มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างเป็นระบบ เป็นผู้ที่ยึดมั่นหลักพุทธธรรม  มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคณะสังคมศาสตร์ให้การสนับสนุนความเสมอภาคทางการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในแนวคิดและทฤษฎีทางสังคมวิทยา มีทักษะด้านการวิจัยทางสังคม ธรรมะวิจัย มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์ปรากฏการณ์ทางสังคมได้อย่างเป็นระบบ เป็นผู้ที่ยึดมั่นหลักพุทธธรรม  มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคณะสังคมศาสตร์ให้การสนับสนุนความเสมอภาคทางการศึกษา และการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

           หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)  มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

            1.2.1  เพื่อให้บัณฑิตได้มีความรู้ในหลักการ แนวคิด และทฤษฎีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

            1.2.2 เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์และธรรมะวิจัย  

            1.2.3  เพื่อให้บัณฑิตมีทักษะการทำงานผ่านการฝึกปฏิบัติภาคสนาม

            1.2.4 เพื่อให้บัณฑิตสามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างมีความสุขภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามแนวทางพระพุทธศาสนา

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861111936_2142_IP

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
คณะสังคมศาสตร์
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.24
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.62
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
4.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.44
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.12
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.62 4.62 ดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 4.44 - - 4.44 ดีมาก
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 5.00 - 5.00 ดีมาก
รวม 13 4.05 4.00 4.62 4.12 ดีมาก
ผลการประเมิน ดีมาก ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดอ่อน

1. นโยบายการรับนักศึกษาของหลักสูตรกับนโยบายของมหาวิทยาลัยที่มีการเปลี่ยนแปลงจึงส่งผลต่อความคงอยู่ของจำนวนนักศึกษา

2. ควรกำหนดประเด็นปัญหาข้อร้องเรียนของนักศึกษา

3. ควรบริหารจัดการให้เห็นผล

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดอ่อน

จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตรให้มีคุณวุฒิและตำแหน่่งทางวิชาการที่สูงขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดแข็ง

1. หลักสูตรได้มีการปรับปรุงตามกระบวนการตามรอบระยะเวลาที่กำหนดและมีเนื้อหารายวิชาเพิ่มเติมที่ทันสมัย

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดแข็ง

หลักสูตรได้ดำเนินการอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่าแก่นักศึกษาอย่างทั่วถึง

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ศิษย์เก่า

ประกอบอาชีพอะไร : ครูสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมมหาสวัสดิ์

                           พนักงานขาย บริษัทเอกชน

จุดเด่นของสาขาวิชา : สาขาวิชานี้สอนให้รู้จักการปรับตัวเข้ากับคนอื่น มองคนให้เท่าเทียมกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน คิดก่อนที่จะพูด ดูคนในหลายมุมมอง

อยากให้สาขาวิชานี้เพิ่มเติมในเรื่องอะไร : อยากให้เพิ่มเนื้อหาในหลักสูตรให้มีความทันสมัย การลงพื้นที่ให้มากขึ้น ดูงานให้มีความหลากหลาย มีกิจกรรมให้มีความหลากหลาย

นำหลักธรรมใดมาใช้ในชีวิตประจำวัน : อิทธิบาท4

                                               ศีล สติและสมาธิ

ศิษย์ปัจจุบัน

ชอบอะไรในสาขาวิชานี้ : ชอบวิธีการจัดการเรียนการสอน อาจารย์ในสาขาวิชามีความเอาใจใส่นักศึกษา มีการติดตามและสนใจนักศึกษา

นักศึกษาเปรียบมหาวิทยาลัยกับบ้านของนักศึกษาเหมือนกันตรงไหน : ความสงบและความสบาย

กิจกรรมที่นักศึกษาประทับใจ : กิจกรรมไหว้ครูและทำบุญคณะเปป็นวิถีพื้นบ้าน

นักศึกษารู้จักมหาวิทยาลัยนี้ได้อย่างไร : รุ่นพี่แนะนำและการอออกแนะแนวของทางสาขาวิชา

ผู้ปกครอง

ความรู้สึกที่ลูกเรียนที่มหาลัยนี้ : ดีใจและภูมิใจที่ลูกเรียนมหาวิทยาลัยนี้

การเรียนของลูกเป็นอย่างไร : อยู่ในระดับปานกลาง

คิดว่าอยากให้ลูปประกอบอาชีพอะไร : รับราชการ

ทำไมถึงให้ลูกเรียนมหาวิทยาลัยนี้ : แม่ทำงานที่มหาวิทยาลัยนี้และเห็นว่าอาจารย์ดูแลเอาใจใส่เด็กดี ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยดี

 

 

ภาพถ่าย