Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

ผลการดำเนินงานของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้น ระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนประเมินตนเอง 4.03 มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในองค์ประกอบที่ 1 นี้คือ ผ่าน

          องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง สอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.55 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดีมาก

          องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถ ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ที่ 3 นี้เท่ากับ 3.67 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดีมาก     

          องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.78 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดี

          องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.25 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดีมาก

          องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 หลักสูตรได้มาตรฐาน ระดับ ดี

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง)

3) สาขาวิชาการปกครอง

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะสังคมศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง) จังหวัดนครปฐม

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยว่าด้วย “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา” อีกทั้งเสริมสร้างทักษะความรู้ ความสามารถทางรัฐศาสตร์แบบบูรณาการให้สอดคล้องกับศาสตร์พระราชาและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 มาตรฐานการอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยพื้นฐาน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ รวมทั้งสนับสนุนให้ฝึกภาคสนามในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองคณะสงฆ์ และหน่วยงานอื่น ๆ หรือการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรี รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ตามระเบียบวิธีทางวิชาการ และสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาและตามหลักวิชาการสากล ทั้งในมิติการเมืองในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาและปรัชญาของหลักสูตร เป็นกำลังที่สำคัญของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีทักษะทางปัญญาและการคิดอย่างเป็นระบบ พัฒนา และต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตามและจิตสาธารณะ พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ เข้าใจปัญหาสังคมและสามารถวิพากษ์วิจารณ์ตามหลักวิชาการทางรัฐศาสตร์และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
  5. เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการค้นคว้าหาความรู้ทางด้านวิชาการ

 

1.4 รหัสหลักสูตร 25491861105557_2145_IP

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
คณะสังคมศาสตร์
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.10
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.55
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
4
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.78
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.25
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
4.03
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.55 4.55 ดีมาก
3 3 3.67 - - 3.67 ดี
4 3 3.78 - - 3.78 ดี
5 4 4.00 4.33 - 4.25 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.76 4.25 4.55 4.03 ดีมาก
ผลการประเมิน ดี ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

หลักสูตรควรมีการทำความเข้าใจกับผู้ใช้บัณฑิตด้านคุณภาพบัณฑิตที่พึงประสงค์

หลักสูตรควรมีการสร้างทักษะเเละความรู้ให้เเก่ เช่น จัดติว กพ หรือเสริมสร้างการฝึกงานที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้เเก่หน่วยงาน เป็นต้น บัณฑิตจึงจะสามารถที่จะเส้นทางอาชีพที่เกมาะสมตามหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

หลักสูตรควรมีวางเเผนการพัฒนานักศึกษาตามชั้นปี ปีที่ 1 2 ต้องการสร้างพื้นฐานความรู้ปี3 4 มีการพัฒนาทักษะทางด้านปัญญา เป็นต้น

ฝ่ายทะเบียนควรมีการพิจารณาการรับนักศึกษา เเละการขึ้นทะเบียนของนักศึกษา เพราะมีผลกับอัตราการตงอยู่ของหลักสูตร

หลักสูตรรควารมีการติดตามสอบถามนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาอัตราการคงอยู่ที่ดีขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ควรมีการสนับสนุนให้อาจารย์เพิ่มทักษะความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ

ควรมีการสนับสนุนให้อาจารย์เข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

มีการปรับปรุงรายวิชาให้ทันสมัย มีการบูรณาการครบทุกด้าน เเละนำผลการประเมินจากปีที่เเเล้วมาปรับปรุงการเรียนการสอน เเละมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์เเล้วนำผลการทวนสอบมาปรับปรุงการประเมินในรายวิชา เพื่อการพัฒนาหลักสูตรเเละการเรียนการสอน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรควรมีการนำผลการปรับปรุงรายงานเพิ่มเติมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น มีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนเเบบOnline เเละมีการพัฒนาระบบนี้อย่างไร เป็นต้น 

หลักสูตรมีการสรรหาระบบมาพัฒนาการเรียนการสอนอย่างไร เช่น ระบบตารางเรียนOnline ระบบห้องเรียนOnline Websiteอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน Online Classroom เป็นต้น

 

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า ผู้ประกอบการ ผู้ปกครอง โดยรวมเห็นว่าหลักสูตรมีการเรียนการสอนที่ดี อาจารย์ประจำหลักสูตรเอาใจใส่เเละมีการกำกับติดตามนักศึกษาอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะให้การปรึกษาทางด้านวิชาการ หรือเรื่องอื่นๆ บัณฑิตที่จบไปสามารถหางานทำเเละนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตได้เป็นอย่างดี ทั้งในด้านความรู้ทักษะ ความรับผิดชอบ คุณธรรมจริยธรรม 

ข้อเสนอเเนะโดยรวม อยากให้หลักสูตรหาประสบการณ์การเรียนการสอนใหม่ๆเพิ่มเติม เเละจัดโครงการเสริมสร้างความรู้ให้เเกนักศึกษาเพิ่มขึ้น

ภาพถ่าย