Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

   จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเองเท่ากับ 3.52   มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพ ดี   โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

           องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

           องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ  มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่เปิดใหม่ ในปีการศึกษา 256๔ ยังไม่มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จึงไม่ได้รับการประเมินในองค์ประกอบที่ 2 

           องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการรับสมัครและคัดเลือกนักศึกษารวมถึงการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางด้านการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 ระดับดี 

          องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 2,56 ระดับปานกลาง

           องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 4.25 ระดับดีมาก

          องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 ระดับดี 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนสังคมศึกษา)

3) สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะศึกษาศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในด้านการสอน ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอนวิทยาการเฉพาะสาขาวิชาสังคมศึกษาและสอนศีลธรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลิตบัณฑิตที่มีปรีชาสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครู

2) ความสำคัญของหลักสูตร

        2.1 ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทางด้านการสอนสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณสำหรับครู
        2.2 ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม บูรณาการสังคมศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
       3.1 มีความรู้ความเข้าใจด้านการสอนพระพุทธศาสนาและการสอนศีลธรรม สามารถประยุกต์ใช้การสอนสังคมศึกษาร่วมกับพุทธวิทยาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       3.2 มีความรู้ความสามารถและทักษะการสอนสังคมศึกษา เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการจัดการเรียนการสอน
       3.3 มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพครู มีศักยภาพในการพัฒนางานในหน้าที่ครู สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลายอย่างเหมาะสม
       3.4 เป็นผู้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000751

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)
คณะศึกษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
2.56
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
4
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.25
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.52
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 2.56 - - 2.56 ปานกลาง
5 4 4.00 4.33 - 4.25 ดีมาก
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 11 3.10 4.25 - 3.52 ดี
ผลการประเมิน ดี ดีมาก - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1. ควรมีการพิจารณาการยืนยันสิทธิ์ของการรับนักศึกษาเพื่อรักษาอัตตราการสำเร็จการศึกษา เเละอัตราการคงอยู่ 

2. เพิ่มกระบวนการการกำกับ ติดตาม การคงอยู่ และการสำเร็จของนักศึกษาเพื่อลดความเสี่ยงการลาออกของนักศึกษา และการสำเร็จของนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

1. ควรมีIDP เเผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล เพื่อเป็นเเนวทางในการพัฒนาอาจารย์

2. ควรมีการสนับสนุนการเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชการเพื่อพัฒนาอาจารย์เพิ่มขึ้น เเละระบบกลไกในการกำกับติดตามการพัฒนาของอาจารย์เพื่อเเสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

ควรเพิ่มช่องทางหรือวิธีการประเมินผู้เรียน(นักศึกษา)ในหลักสูตรผ่านสาระของรายวิชาที่มีผลการเรียนไม่ปกติเพื่อเก็บรายละเอียดไว้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรในรอบถัดไป

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
-
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

คำสัมภาษณ์นักศึกษา

นักศึกษาผู้ให้สัมภาษณ์    

คำถาม : แรงจูงใจในการเข้าศึกษาหลักสูตรการสอนสังคมศึกษา

สุภิญญา ตอบว่า “ชอบวิชาสังคมและอยากเป็นครู สาเหตุที่สมัครเรียนที่นี่เพราะ ได้รับคำแนะนำจาก

พระอาจารย์ เมื่อสมัครที่นี่ได้แล้วก็ไม่ได้สมัครที่อื่นและค่าใช้จ่ายก็พอที่จะมีกำลังในการเรียนให้จบได้”

นายอนิชา ตอบว่าชอบเรียนวิชาสังคมเพราะการใช้ชีวิตของเราก็อยู่ในสังคม มีศรัทธาที่จะเรียนที่มหาวิทยาลัย

    มหามกุฏราชวิทยาลัย เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้โอกาสไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาสก็เรียนได้”

คำถาม : กิจกรรมเด่นอะไรบ้างในหลักสูตรที่เราเกิดความพึงพอใจและประทับใจ

     สุภิญญา ตอบว่า การออกนอกสถานที่ไปปฏิบัติกิจกรรมที่โรงเรียนวัดบ้านอ้อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้เรามีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ได้ปรับตัวก่อนออกสอน

     นายอนิชา ตอบว่า ไปที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติซึ่งทางหลักสูตรมีกิจกรรมพาออกนอกสถานที่ไปชมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติซึ่งมีศิลปะในระดับชาติ ผมก็เป็นเด็กบ้านนอกจากจังหวัดตากห่างไกลความเจริญเคยเห็นแต่ในรูปภาพ และได้มีโอกาสมาชมสถานที่จริงก็ดีใจ

คำถาม : คาดหวังอะไรต่อสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

     อเนชาตอบว่า อยากได้ความรู้ซึ่งมีอยู่แล้วแต่อาจารย์ในสาขาวิชาก็จะเพิ่มเติมแนะนำให้และรับรองว่าอาจารย์ในหลักสูตรมีความรู้มีทักษะที่ดีมีประสิทธิภาพ

     สุภิญญาตอบว่า เราเป็นนักศึกษาก็ต้องมีหน้าที่หาความรู้ด้วยตนเองอาจารย์เป็นผู้คอยชี้แนะให้คำแนะนำเป้าหมายในชีวิตก็อยากเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสาขาการสอนสังคมส่วน

     อเนชาตอบว่า อยากเป็นครูสอนสังคมศึกษา

คำถาม : มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเมื่อมาศึกษาในสาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

     สุภิญญาตอบว่า เมื่อก่อนเป็นเด็กครูก็จะเป็นคนป้อนความรู้ให้แต่เมื่อมาเป็นนักศึกษาแล้วก็จะมีอาจารย์คอยชี้แนะ ส่วนความรู้นั้นเราต้องแสวงหาเอง

     อเนชาตอบว่า เมื่อก่อนเป็นคนไม่กล้าแสดงออกเมื่อมาเรียนก็ต้องปรับตัวในการนำเสนองานทำให้กล้าพูดกล้าแสดงออกหน้าชั้นเรียนมากขึ้น

คำถามในสถานการณ์ covid ที่ผ่านมาใช้หลักธรรมะอะไรในการแก้ปัญหาเพื่อให้ผ่านพ้นไปได้

     อเนชาตอบว่า ใช้หัวใจใจนักปราชญ์คือ สุตะ การฟัง, จิตตะ การไตร่ตรอง, ปุจฉา ถาม ลิขิต จดบันทึกและใช้ร่วมกับอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

     สุภิญญาตอบว่า ใช้สติทุกเมื่อมีสมาธิในการพิจารณาและใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา

 

 

คำถาม ในการปฏิบัติการสอนเกิดปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างและมีวิธีแก้ไขอย่างไร

     สุภิญญาตอบว่า นักเรียนไม่ไหว้ไม่ทักทาย จะไหว้เฉพาะครู แต่ไม่ไหว้นักศึกษาฝึกสอน จึงต้องทักทายเรียกชื่อเมื่อเจอก็จะทักเขาก่อน ภายหลังนักเรียนจะไหว้ทักทายก่อนเสมอ

อเนชาตอบว่า ฝึกสอนที่โรงเรียนที่บ้านเป็นโรงเรียนขยายโอกาส ชั้น ม.1 ถึง ม.3 เด็กก็ขาดโอกาสและขาดอุปกรณ์บางคนก็อ่านหนังสือไม่ออกอ่านไม่คล่อง จะใช้เวลาหลังเลิกเรียนสอนพิเศษให้

คำถาม ใช้เวลาในการปรับตัวนานไหมในการฝึกปฏิบัติการสอน

สุภิญญาตอบว่า ไม่นานเพราะว่าส่วนใหญ่เด็ก ๆ ไม่รู้จักคนแปลกหน้าเมื่อมีคนแปลกหน้าซึ่งเป็นนักศึกษาฝึกสอนก็จะเข้ามาทักทายก่อนเพราะอยากรู้จักก็เลยได้พูดคุยทำความคุ้นเคยได้ง่าย

ได้ทำ Case Study บ้างไหม

คำถามเมื่อมีปัญหาในการฝึกปฏิบัติการสอนจะแก้ไขยังไง

     สุภิญญาตอบว่า คุยกับครูพี่เลี้ยงแล้วจึงไปปรึกษากับครูประจำชั้นเพิ่มเติม

     อเนชาตอบว่า เป็นครูประจำชั้น ม.2 มีนักเรียน 1 คนไม่มาโรงเรียน และได้สร้างกลุ่ม Line กลุ่มแชทไว้      แต่เด็กมักอ้างว่าปวดหัว ไม่สบาย ก็เลยถามเพื่อน ๆ ของนักเรียนว่า มีพฤติกรรมยังไงก็ได้รับคำตอบว่า ไม่อยากมาโรงเรียน จึงมีโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน ได้พบผู้ปกครองซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็มักเข้าข้างลูกหลาน

คำถามอยากฝากอะไรกับรุ่นน้องเป็นข้อคิดดี ๆ

     สุภิญญาตอบว่า อยากให้รุ่นน้องทำตัวให้ง่ายขึ้น เมื่อไปฝึกสอนต้องเข้าหาคุณครูต้องมีมารยาทเช่น ยกมือไหว้ผู้ปกครองทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง เด็กก็จะทำตาม และโรงเรียนมักมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่อยากให้รุ่นน้อง    เข้าไปยุ่งเกี่ยว ควรทำหน้าที่ของเราให้ดีก็พอ

     อเนชาตอบว่า ควรมีมารยาท ผมยกมือไหว้ตั้งแต่ภารโรงและผู้ปกครอง ยิ้มไหว้ทักทาย เราต้องมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น งานหนักเอาเบาสู้ อย่านิ่งดูดายทำธุระไม่ใช่และรับแต่สิ่งดี ๆ ไม่ดีก็อย่าไปรับ

คำถาม อยากฝากอะไรให้อาจารย์ในหลักสูตรเพิ่มเติมเพื่อเป็นการติดอาวุธให้กับนักศึกษา

     อเนชาตอบว่า อยากให้อาจารย์ติดตามนักศึกษาที่มาฝึกปฏิบัติการสอนต่างจังหวัดให้มากขึ้น

     สุภิญญาตอบว่า ควรเสริมกิจกรรมในรายวิชาโดยไปศึกษาในสถานที่จริงจะได้เกิดความรู้ที่ชัดเจน

 

การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง

คำถามเพราะอะไรจึงเลือกมาเรียนที่สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

     ผู้ปกครองของสุภิญญา (พ่อ) ผมมีฐานะไม่ค่อยจะดีเป็นคนหาเช้ากินค่ำ ไม่มีปัญญาส่งลูกเรียนมหาลัยดี ๆกำลังทรัพย์ก็ไม่ค่อยจะเพียงพอ และคิดว่าเรียนมหาลัยไหนก็ได้ถ้าเราตั้งใจเรียนก็จบได้ และมีเพื่อนเรียนที่มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยหลายคน ก็ช่วยแนะนำว่าเป็นมหาลัยที่มีศักยภาพ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และใกล้บ้าน ลูกเขาก็ตั้งใจที่จะมาเรียน

คำถามลูกได้สร้างปัญหาอะไรให้หนักใจไหม

     ผู้ปกครองของสุภิญญา (พ่อ) จริงๆแล้วผมก็ไม่ได้มีการศึกษาสูง เมื่อลูกเข้าเรียนมหาลัยนี้ก็สบายใจดี        เขาไม่ได้สร้างปัญหาอะไรและก็ใกล้จะจบแล้ว ก็รู้สึกภาคภูมิใจ

คำถามรู้สึกยังไงเมื่อหลานตกลงใจที่จะมาเรียนที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

     ผู้ปกครองของอเนชา (น้า) รู้สึกเป็นห่วงเพราะว่าอยู่ไกลบ้านก็ติดตามอยู่ตลอด เห็นเขาบอกว่ามีพระอาจารย์    มาแนะแนวก็อยากจะมาเรียนเพราะมีค่าใช้จ่ายไม่แพง

คำถามคาดหวังกับอเนชาไว้ยังไง

     ผู้ปกครองของอเนชา (น้า) ก็อยากจะให้เขาประสบความสำเร็จในชีวิตเพราะเขาเป็นเด็กดีอยู่แล้ว

คำถามหลานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและคิดถูกหรือเปล่าที่เลือกเรียนมหาวิทยาลัยนี้

     ผู้ปกครองของอเนชา (น้า) คิดถูกแล้ว เพราะเมื่อก่อนเขาเป็นคนใจร้อน พอได้เรียนกับอาจารย์ที่เป็นพระแล้วก็รู้สึกว่าเขาจะใจเย็นขึ้นและมีเหตุผลขึ้น

 

ภาพถ่าย