Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค 2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง  3.24  มีคุณภาพอยู่ใน ระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

 องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ หลักสูตรได้มาตรฐาน

  องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต  (ไม่ขอรับการประเมิน)

  องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยนักศึกษา ระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 2.67 ระดับคุณภาพปานกลาง

   องค์ประกอบที่ 4  อาจารย์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.22 ระดับคุณภาพดี

    องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง  ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.50 ระดับคุณภาพดี

    องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 4.00 ระดับคุณภาพดีมาก

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

2) ชื่อปริญญา ศศ.บ. (ภาษาไทย)

3) สาขาวิชาภาษาไทย

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะมนุษยศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

คณะมนุษยศาสตร์

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านภาษาไทยให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา

2) ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย  มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเรื่องของการสื่อสารเพื่อความเข้าใจมนุษย์ สังคม พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ให้สามารถรับมือกับสภาวการณ์ปัจจุบันได้ และตอบสนองความต้องการในด้านการพัฒนาการทางภาษา ในการประกอบอาชีพ และแก้ปัญหาความขาดแคลนของบุคลากรในวิชาชีพที่ใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจวัฒนธรรม และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในภาษาไทย พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

2) เพื่อให้มีทักษะการสื่อสารภาษาไทยเพื่อประกอบอาชีพในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และอาชีพอิสระได้

3) เพื่อให้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ ภูมิใจในความเป็นไทย และมีเจตคติที่ดีต่อประเทศไทย

4) เพื่อให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถประยุกต์ใช้ภาษาไทยได้อย่างสร้างสรรค์ ทันสมัย

5) เพื่อให้มีความสามารถในการเป็นผู้นำ มีโลกทัศน์กว้างไกลและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6) เพื่อให้มีความสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้า นำเสนอ และเผยแพร่ข้อมูล ด้วยภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

 

1.4 รหัสหลักสูตร 25621861100069

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
2
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
2.67
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
1.67
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.22
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.24
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 2.67 - - 2.67 ปานกลาง
4 3 3.22 - - 3.22 ดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 11 2.95 3.75 - 3.24 ดี
ผลการประเมิน ปานกลาง ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

  1. การรับนักศึกษายังไม่บรรลุตามแผน

ข้อเสนอแนะ

          1.ควรเพิ่มรอบการรับสมัครให้มากกว่าเดิมหรือตลอดปีการศึกษา และปรับวิธีการรับให้หลากหลาย จัดทำ MOU กับสถาบันที่มีกลุ่มเป้าหมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดเด่น

  1. หลักสูตรมีการวางแผนบริหารและแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล โดยดำเนินการได้บรรลุตามแผน
  2. มีการรายงานเรื่องการคงอยู่และความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรครบถ้วนและมีแนวโน้มการดำเนินงานที่ดีขึ้นทุกเรื่อง

 

จุดที่ควรพัฒนา

          -หลักสูตรควรส่งเสริมเร่งรัดให้อาจารย์มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น

 

ข้อเสนอแนะ

          -อาจารย์ควรวางแผนระยะยาวในการสร้างผลงานวิจัยและ/หรือตำรา และควรเป็นผลงานเชิงเดี่ยว

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

  1. หลักสูตรมีการจัดสรรทุนการศึกษาให้นักศึกษาทุกปีการศึกษา
  2. หลักสูตรมีการจัดหาหนังสือและสื่อการสอนในบริบทออนไลน์ที่ตอบสนองความต้องการให้แก่อาจารย์และนักศึกษาในจำนวนที่เพิ่มขึ้น
สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย