Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)


บทสรุปผู้บริหาร

จากผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม ค2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเอง 3.64 มีคุณภาพระดับดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 นี้ คือ ผ่าน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การผลิตบัณฑิตหรือการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 2 นี้เท่ากับ 4.49

องค์ประกอบที่ นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ด้านนักศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการบริหารและพัฒนาอาจารย์ คุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.44

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 นี้เท่ากับ 3.50

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6

นี้เท่ากับ 4.00

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)

2) ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)

3) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด คณะมนุษยศาสตร์

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ต. ศาลายา อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ ทางด้านภาษาอังกฤษ กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ

2) ความสำคัญของหลักสูตร

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลซึ่งใช้ทั่วโลกและเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแสวงหาความรู้และสรรพ วิชาอื่น ๆ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้คู่คุณธรรมซึ่งน าไปสู่การเป็นพลเมืองโลกที่ดี อีกทั้งเป็นเครื่องมือ สื่อสารในสังคมโลกและการประกอบอาชีพ รวมถึงการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไปด้วย

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแผ่ พระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมของไทย ตลอดจนความสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพ ทั้งในภาครัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3.2 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีความคิด สร้างสรรค์แก้ปัญหาได้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างเหมาะสม

1.3.3 ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรมและเป็นพลเมืองโลกที่ด

1.4 รหัสหลักสูตร

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2564)
คณะมนุษยศาสตร์
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
3.98
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
5.00
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.49
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
3
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.44
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
3
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.50
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.64
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.49 4.49 ดีมาก
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 3.44 - - 3.44 ดี
5 4 3.00 3.67 - 3.50 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.33 3.75 4.49 3.64 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

หลักสูตรร่วมกับคณะและมหาวิทยาลัยควรปรับปรุงกระบวนการบริหารหลักสูตรในภาพรวมเพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตที่สูงขึ้น

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนา

1.หลักสูตรปรับกระบวนการรับนักศึกษา โดยการเขียนแผนการรับนักศึกษาเสนอสภาวิชาการเพื่อเป้าหมายการรับนักศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับทรัพยากรบุคคล

2. ควรกำหนดทิศทางการพัฒนานักศึกษาในทศตวรรษที่ 21 และใช้เกณฑ์การประเมินที่เป็นรูปธรรม เช่น คะแนนการสอบภาษาอังกฤษที่เป็นมาตรฐาน 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

1.หลักสูตรรวมกับคณะและมหาวิทยาลัย ควรปรับกระบวนการพัฒนาอาจารย์ เพื่อให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ 

2. จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร (IDP) เพื่อการพัฒนาอาจารย์ที่เป็นรูปธรรม 

3. หลักสูตรควรท้าท้ายตนเอง ในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการวารสารระดับนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

1.รวมกับคณะและมหาวิทยาลัยควรกำหนดรายวิชาที่จะทำการบูรณาการการเรียน การสอน การวิจัย และการบริการวิชาการด้านสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้ครบทุกด้าน 

2. หลักสูตรควรพัฒนาระบบการวัดผลประเมินผล ให้เป็นมาตรฐานและจับต้องได้ เช่น การจัดทำคลังข้อสอบ ที่มีการตรวจสอบ ค่าความเชื่อมั่น ค่าความจำแนก และค่าความยาก เพื่อส่งเสริมการวัดผลและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ

 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดเด่น

หลักสูตรมีการปรับปรุงประบวนการและดำเนินงานตามกระบวนการ PDCA จนส่งผลเป็นรูปธรรมโดยทำให้ได้ ระบบ Zoom license มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้การสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแม้อยู่ในสภาวะ Covid-19 ที่นักศึกษาต้องเรียน online 100% 

จุดที่ควรพัฒนา

หลักสูตรรวมกับคณะและมหาวิทยาลัยปรับกระบวนการการบริหารส่ิงสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ที่ส่งเสริมการฝึกทักษะภาษาอังกฤษที่คล้ายกับเพื่อการเรียนรู้กับเจ้าของภาษา เช่น คอร์สการเรียนออนไลน์กับเจ้าของภาษา 

ร่วมมือกับเครือข่ายด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ กับสถาบันการศึกษาภายนอกเพิ่มมากขึ้น

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

บทสัมภาษณ์ศิษย์ปัจจุบัน สาขาภาษาอังกฤษ

  1. รู้จักหลักสูตรภาษาอังกฤษได้อย่างไร
  • ทราบจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งจากการไปแนะแนวที่โรงเรียนและการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์
  1. ทำไมถึงเลือกเรียนสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • ชอบวิชาภาษาอังกฤษ อยากเรียน อยากพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะได้
  1. ในอนาคตการเรียนภาษาอังกฤษมีประโยชน์อย่างไร
  • การเรียนภาษาอังกฤษทำให้สามารถทำงานร่วมกับชาวต่างชาติได้ และภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วโลก
  1. เหตุผลที่ตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ค่าเล่าเรียนถูก สถานที่ตั้งของมหาลัยอยู่ใกล้แหล่งหางาน มีอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยครบครัน ภูมิทัศน์สวยงาม
  1. ในชั้นปีที่ 1 มีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาอย่างไรบ้าง
  • มีการทดสอบวัดระดับพื้นฐานเบื้องต้นก่อนการเข้าเรียน หลังจากนั้นมีการจัดการเรียนการสอนสำหรับการปรับพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษเป็นระยะเวลาประมาณ 10 วัน มีการทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน รวมทั้งรุ่นพี่รุ่นน้อง ทำให้สามารถปรับตัวได้ดี
  1. วิชาเอกที่เรียนในตอนชั้นปีที่ 1 คือวิชาอะไรต่างจากการเรียนในระดับมัธยมศึกษาอย่างไร
  • เรียนวิชาการออกเสียงภาษาอังกฤษ เนื้อหารายวิชามีความยาก อย่างไรก็ตาม การเรียนสามารถเข้าใจได้ดี เนื่องจากได้รับการดูแลเอาใจใส่จากอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างดี โดยอาจารย์ผู้สอนได้สอนเสริมนศ.ที่เรียนไม่ทัน

 

  1. อาจารย์ผู้สอนได้แจ้งเกณฑ์การประเมินในแต่ละรายวิชาหรือไม่
  • แจ้งในคาบแรกที่มีการเข้าเรียน
  1. เกรดที่ตนเองได้สอดคล้องกับความสามารถของตนเองหรือไม่
  • สอดคล้อง
  1. การจัดอาจารย์ที่ปรึกษาในแต่ละชั้นปีมีความเหมาะสมหรือไม่
  • มีความเหมาะสม
  1. ทำไมเพื่อนที่เรียนถึงลาออก
  • ขาดการสนับสนุนทางการเงินจากทางบ้าน มีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างลำบาก แต่มหาวิทยาลัยมีการจัดทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
  1. ในรายวิชาที่เป็นรายวิชาเอกมีการได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านการพูด การอ่านและการเขียนอย่างไรบ้าง
  • ในรายวิชาที่เป็นการสนทนาได้รับการฝึกฝนทางด้านการพูด และเรียนกับเจ้าของภาษา
  • ในรายวิชาที่เป็นการอ่าน ได้ฝึกอ่านิทาน หนังสือพิมพ์
  • ในรายวิชาที่เป็นการเขียน ได้ฝึกเขียน diary และการเขียนเรียงความ
  1. คิดว่าความพร้อมของตนเองในการสมัครงานมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน
  • มีความพร้อมอยุ่ในระดับดี และตนเองรู้จักการใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น และรู้วิธีการอยุ๋ร่วมกันกับคน
ภาพถ่าย