Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)


บทสรุปผู้บริหาร

 ผลการดำเนินงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในกลุ่ม มคอ.2 (สถาบันเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี) ได้คะแนนการประเมินตนเองคือ 3.58 มีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดี โดยมีรายละเอียดผลการดำเนินงานทั้ง 6 องค์ประกอบ ดังนี้

          องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน  หลักสูตรมีผลการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ในองค์ประกอบที่ 1 คือ หลักสูตรได้มาตรฐาน

          องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต  ม่ขอรับการประเมิน

          องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา  ในการรับและพัฒนานักศึกษาทางหลักสูตรได้ให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาและการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความพร้อมทางการเรียน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 3 นี้เท่ากับ 3.33 อยู่ในระดับคุณภาพดี

          องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์  หลักสูตรมีการบริหารและพัฒนาคุณภาพอาจารย์และผลลัพธ์ที่เกิดกับอาจารย์ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 4 นี้เท่ากับ 3.44 อยู่ในระดับคุณภาพดี

          องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน  ในการดำเนินการหลักสูตรได้มีการกำกับการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างต่อเนื่องผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 5 เท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับคุณภาพดี

          องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้  หลักสูตรได้มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ผลการประเมินตนเองในองค์ประกอบที่ 6 นี้เท่ากับ 3.00 อยู่ในระดับปานกลาง

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)

2) ชื่อปริญญา ศษ.บ.

3) สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี)

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร

          หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในด้านการสอน ปฏิบัติหน้าที่ความเป็นครูผู้สอน วิทยาการเฉพาะสาขาวิชาสังคมศึกษาและสอนศีลธรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผลิตบัณฑิตที่มี ปรีชาสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาบนพื้นฐานหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา บูรณาการพุทธวิทยาการศึกษากับศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่มีความรอบรู้ กล้าคิด กล้าทำ กล้าวิพากษ์อย่างมีเหตุผล มีจรรยาบรรณและจริยธรรมสำหรับครู

         

2) ความสำคัญของหลักสูตร

 

          ความสำคัญของหลักสูตร

                   1 ผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ ทางด้านการสอนสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมี จรรยาบรรณสำหรับครู

                   2 ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ (Capability) ทั้งภูมิรู้และภูมิธรรม บูรณาการสังคมศึกษากับ ศาสตร์ทางการสอน เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์

         

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. มีความรู้ความเข้าใจด้านการสอนพระพุทธศาสนาและการสอนศีลธรรม สามารถ ประยุกต์ใช้การสอนสังคมศึกษาร่วมกับพุทธวิทยาการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. มีความรู้ความสามารถและทักษะการสอนสังคมศึกษา เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการจัดการเรียนการสอน
  3. มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพครู มีศักยภาพในการพัฒนา งานในหน้าที่ครู สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลายอย่าง เหมาะสม

   4. เป็นผู้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน

1.4 รหัสหลักสูตร 25631864000414

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา (4 ปี) หลักสูตรใหม่ (พ.ศ. 2562)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาชีพ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 2 ใน 5 คน ต้องมีประสบการณ์ในด้านการปฏิบัติการ (วิชาชีพ)
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ไม่รับการประเมิน
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ไม่รับการประเมิน
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
0.00
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
4
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.44
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
4
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
4.00
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (11 ตัวบ่งชี้)
3.58
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 0 - - - - -
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 3.44 - - 3.44 ดี
5 4 4.00 4.00 - 4.00 ดี
6 1 - 3.00 - 3.00 ปานกลาง
รวม 11 3.48 3.75 - 3.58 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี - ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
-
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

จุดที่่ควรพัฒนา

1.การประชาสัมพันธ์เชิงรุก ทุกกลุ่มเป้าหมายทั้ง โรงเรียนปริยัติธรรมและโรงเรียนสามัญ โดยการเน้นกิจกรรมเข้ามานำเสนอ โดยการใช้นักศึกษาและผู้ปกครอง เป็นตัวเชื่อม เพื่อให้เห็นผลลัทธ์เชิงประจักษ์

2.จัดระบบและกลไกการคงอยู่ของนักศึกษา เช่น การติดตามนักศึกษาให้มากขึ้น การคัดนักศึกษาเน้นความมั่นใจของหลักสูตรเพื่อรักษาอัตราคงอยู่ของนักศึกษาตลอดหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

จุดที่ควรพัฒนา

1.ให้จัดทำแผนระยะสั้น และแผนระยะยาว (IDP) เพื่อพัฒนาอาจารย์ 

2. ส่งเสริมอาจารย์ผู็รับผิดชอบหลัักสูตรเข้าสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ

 

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

จุดที่ควรพัฒนา

1. ส่งเสริมการบูรณารายวิชาให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน 

2. ส่งเสริมกระบวนการการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ให้มีผลทีี่ขัดเจนและนำไปพัฒนาการจัดการเรียนสอน

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

จุดที่ควรพัฒนา

1. ส่งเสริมทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อผลิตสื่อการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้

2. ส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์

ผู้แทนสัมภาษณ์นักศึกษาปัจจุบัน

  1. การฝึกประสบการณ์การสอน นักศึกษาเลือกสถานที่เองหรือทาง มหาวิทายาลัยเลือกให้ : เลือกเอง
  2. การฝึกประสบการณ์การสอนในมุมมองนักศึกษาคิดว่าอย่างไร : ยากแต่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้
  3. ปัญหาที่พบเจอในการฝึกประสบการณ์และแก้ปัญหาอย่างไร : มีความกลัวว่านักเรียนจะได้รับความรู้ไม่ครบถ้วน กลัวสอนไม่ดีพอ แก้ปัญหาโดยการตั้งใจ สอบถาม และค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตบ้าง
  4. ความรู้ที่เรียนมาหรือรายวิชาได้นำมาประยุกต์ใช้ในการฝึกประสบการณ์สอน เช่น รายวิชาประวัติศาสตร์ รายวิชาด้านพระพุทธศาสนา, รายวิชานิกายต่าง ๆ ได้นำมาใช้ได้จริงในการฝึกประสบการณ์สอน
  5. อยากจะฝากหรือเพิ่มเติมรายวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ให้กับหลักสูตรหรือทางมหาวิทยาลัย : พัฒนาส่งเสริมการใช้โปรแกรม สื่อการเรียนการสอน การผลิตสื่อ เช่น canva
  6. ด้วยสถานการณ์โควิด หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนอย่างไร : มี 2 แบบ Online และ Onsite
  7. พระนักศึกษามีผลกระทบอย่างไรในการฝึกประสบการณ์การสอน : การเข้าถึงเด็กมีข้อต้องห้ามสำหรับพระภิกษุสงฆ์ และนักเรียน แต่ก็พยายามเต็มที่ที่จะปรับตัวและเรียนรู้พัฒนาการสอน
  8. ทักษะวิชาที่ได้เรียนได้นำไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไร : ได้รับมอบหมายให้ฝึกประสบการณ์สอนในกลุ่มสาระรายวิชาสังคมโดยตรงได้ใช้จริง และมีเรื่องของการวัดและประเมินผล ได้องค์ความรู้ที่เรียนมากหลาย ๆ อย่าง

 

ผู้แทนสัมภาษณ์ผู้ปกครอง

  1. พฤติกรรมอะไรที่ทำให้นักศึกษาเปลี่ยนไปหลังจากที่เข้ามาเรียนในสาขาวิชา หรือ มมร แห่งนี้

: ลูกสาวมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง อยากช่วยเหลือสังคม และชอบช่วยเหลือเด็ก มีใจรักในอาชีพความเป็นครู

  1. ข้อดีสำหรับหลักสูตร หรือ มมร ต่อจากส่งบุตรมาเรียนเพราะเหตุผลใด : อาจารย์มีความรู้ดี มีคุณวุฒิเด่น
  2. ข้อดีอยากจะสะท้อนหลักสูตร หรือ มมร ต่อการจัดการเรียนการสอนให้กับน้อง ๆ : อาจารย์มีความรู้ดี คุณวุฒิเด่น อยากให้มีการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา

 

ผู้แทนสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ/การฝึกประสบการณ์การสอน

  1. นักศึกษาการฝึกประสบการณ์การสอนในมุมมองของท่านเป็นอย่างไร : นักศึกษามีความมุ่งมั่น ตั้งใจ การสอนสำเนียงพูดจาชัดถ้อยเสียงดัง ฟังชัด
  2. จุดที่อยากจะพัฒนาทักษะของนักศึกษา : การใช้สื่อการเรียนการสอนการผลิตสื่อเพื่อประกอบการสอน
  3. มีความหนักใจ หรือกังวลใจหรือไม่สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์การสอน : ไม่มีความกังวลใจใด มอบหมายงานให้สามารถบริหารจัดการได้ ทั้งเรื่องกิจกรรมต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทุกกิจกรรม เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา การคัดกรอกนักเรียน มีจิตอาสา อยากให้รุ่นต่อ ๆ ไปได้มาฝึกประสบการณ์การสอนอีก
  4. อยากให้ทางหลักสูตรได้มีการเตรียมความพร้อมอย่างไรสำหรับรุ่นน้อง ๆ : การใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพถ่าย