Logo

รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (ย่อย) ปีการศึกษา 2564

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)


บทสรุปผู้บริหาร

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ 4 มีผลการประเมินดังนี้ฯ องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน    1.1 การบริหารจัดการ หลักสูตรตามเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตรที่ กำหนดโดย สกอ.ผ่านผ่านผ่านบรรลุ

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต    2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 4.38

2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 3.75 เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต 4.07 

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา   3.1 การรับนักศึกษา 3

3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา4

3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา 3

เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา 3.33 

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์    4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์3

4.2 คุณภาพอาจารย์3.33

4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์3

เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ 3.11

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน    5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร 4

5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3

5.3 การประเมินผู้เรียน 3

5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5

เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน 3.75 

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้    6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4  เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้) 3.57 

 

บทนำ

1.1 ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

1) ชื่อหลักสูตร หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)

2) ชื่อปริญญา ภาษาไทย ชื่อเต็ม : รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง) ชื่อย่อ : ร.บ. (การปกครอง) ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Political Science (Government) ชื่อย่อ : B.Pol.Sc. (Government)

3) สาขาวิชาการปกครอง

1.2 คณะต้นสังกัดและสถานที่เปิดสอน

1) คณะต้นสังกัด วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

2) สถานที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์

1.3 ปรัชญาความสำคัญและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยว่าด้วย “ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา” อีกทั้งเสริมสร้างทักษะความรู้ ความสามารถทางรัฐศาสตร์แบบบูรณาการให้สอดคล้องกับศาสตร์พระราชาและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 มาตรฐานการอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัยพื้นฐาน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ รวมทั้งสนับสนุนให้ฝึกภาคสนามในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองคณะสงฆ์ และหน่วยงานอื่น ๆ หรือการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรี รู้จักวิธีแสวงหาความรู้ตามระเบียบวิธีทางวิชาการ และสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เพื่อให้บัณฑิตสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

2) ความสำคัญของหลักสูตร

เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาและตามหลักวิชาการสากล ทั้งในมิติการเมืองในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ และมีคุณลักษณะสอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาและปรัชญาของหลักสูตร เป็นกำลังที่สำคัญของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา

3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีความรู้พื้นฐานทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
2. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีทักษะทางปัญญาและการคิดอย่างเป็นระบบ พัฒนา และต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์
3. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตามและจิตสาธารณะ พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
4. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ เข้าใจปัญหาสังคมและสามารถวิพากษ์วิจารณ์ตามหลักวิชาการทางรัฐศาสตร์และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
5. เพื่อส่งเสริมทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการค้นคว้าหาความรู้ทางด้านวิชาการ

1.4 รหัสหลักสูตร 25621864000615

สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ตามองค์ประกอบคุณภาพระดับหลักสูตร
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง หลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2563)
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
ปีการศึกษา 2564

องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

เกณฑ์การประเมิน ผลการดำเนินการ
1. จํานวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คนและเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น
ผ่าน
2. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (วิชาการ) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ํากว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์และ มีผลงานทางวิชาการ 1 รายการใน 5 ปีย้อนหลัง
ผ่าน
3. คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน และ มีผลงานทางวิชาการอย่างน้อย 1 รายการในรอบ 5 ปี ย้อนหลัง ไม่จำกัดจำนวนและประจำได้มากกว่าหนึ่งหลักสูตร
ผ่าน
4. คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันหรือสาขาวิชาของรายวิชาที่สอน อาจารย์พิเศษมีคุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 ปี
ผ่าน
10. การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องไม่เกิน 5 ปี ตามรอบระยะเวลาของหลักสูตร หรืออย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
ผ่าน
สรุปผลการประเมิน ผ่าน

ตัวบ่งชี้คุณภาพ เป้าหมาย คะแนนประเมินจากคณะกรรมการ
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
4.38
2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
5
3.75
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
4.07
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.1 การรับนักศึกษา
5
3
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
5
4
3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา
3.33
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5
3
4.2 คุณภาพอาจารย์
5
3.33
4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับ อาจารย์
5
3
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
3.11
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
5.1 สาระของรายวิชาใน หลักสูตร
5
4
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5
3
5.3 การประเมินผู้เรียน
5
3
5.4 ผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
5
5
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
3.75
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5
4
เฉลี่ยคะแนนองค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
4.00
เฉลี่ยรวมทุกตัวบ่งชี้ (13 ตัวบ่งชี้)
3.57
ตารางวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2564
องค์ประกอบที่ คะแนนผ่าน จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
0.01-2.00 ระดับคุณภาพน้อย
2.01-3.00 ระดับคุณภาพปานกลาง
3.01-4.00 ระดับคุณภาพดี
4.01-5.00 ระดับคุณภาพดีมาก
1 ผ่าน หลักสูตรได้มาตรฐาน
2 Logo 2 - - 4.07 4.07 ดีมาก
3 3 3.33 - - 3.33 ดี
4 3 3.11 - - 3.11 ดี
5 4 4.00 3.67 - 3.75 ดี
6 1 - 4.00 - 4.00 ดี
รวม 13 3.33 3.75 4.07 3.57 ดี
ผลการประเมิน ดี ดี ดีมาก ดี ดี
จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนา
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
-
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต

ควรมีการสำรวจนักศึกษาที่มีการรับปริญญาเเละมีงานทำภายในระยะเวลา1 ปี

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา

ควรมีการพิจารณาการยืนยันสิทธิ์ของการรับนักศึกษาเพื่อรักษาอัตตราการสำเร็จการศึกษา เเละอัตราการคงอยู่ 

ควรมีการเปรียบเทียบตารางการรับนักศึกษา 3 ปีเพื่อเเสดงถึงเเนวโน้มการรับนักศึกษา

ควรมีการเตรียมความพร้อมหลายๆด้าน  เช่น ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี  เเละมีการเชิญวิทยากรภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญมาเสริมความรู้เพิ่มเติม

ควรมีการผลลัพธ์ในการให้คำปรึกษา เเละผลของการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นของนักศึกษาในศตวรราที่21

ควรมีการปรับปรุงกระบวนการกำกับติดตามนักศึกษา เพื่อพัฒนาอัตราการคงอยู่เเละการสำเร็จของนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์

ควรมีIDP เเผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล เพื่อเป็นเเนวทางในการพัฒนาอาจารย์

ควรมีการสนับสนุนการเข้าสู่ตำเเหน่งทางวิชการเพื่อพัฒนาอาจารย์เพิ่มขึ้น เเละระบบกลไกในการกำกับติดตามการพัฒนาของอาจารย์เพื่อเเสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน

ควรมีการรายงานตารางการเปรียบเทียบรายวิชาที่ปรับปรุงให้ทันสมัยเข้ากับศาสตร์นั้นๆ

การบูรณาการกับการเรียนการสอนควรมีการระบุรายวิชากับการบูรณาการให้ชัดเจน เช่นรายพุทธวิถีไทยกับการบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม

ควรมีการรายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาที่มีการทวนสอบ เเละรายงานการประเมินตามTQF ที่ระบุไว้ในมคอ.2

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

หลักสูตรควรมีการสนับสนุนการเรียนการสอนOnline การใช้เทคโนโลยีต่างๆในการเรียนการสอน การใช้ระบบต่างๆเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของทางวิทยาเขต เเละหลักสูตรจัดสรรพัฒนามาให้นักศึกษาเพื่อเเก้ปัญหาในยุคการเรียนการสอนปัจจุบัน

สิ่งต้องปรับปรุงเร่งด่วน (ถ้ามี)
บทสัมภาษณ์
ภาพถ่าย